นักวิจัยจีนพบ 'ตัวรับใหม่' ยารักษาเบาหวาน คาดเพิ่มประสิทธิภาพ
ปักกิ่ง, 7 ส.ค. (ซินหัว) -- ผลการศึกษาของคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยปักกิ่งของจีนที่เผยแพร่ผ่านวารสารไซแอนซ์ (Science) เมื่อวันที่ 4 ส.ค. เปิดเผยการค้นพบตัวรับใหม่ที่สำคัญของยารักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งอาจมีส่วนเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาโรคเบาหวานผลการศึกษาร่วมจากศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพมหาวิทยาลัยปักกิ่ง โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยปักกิ่งแห่งที่สาม และวิทยาลัยเคมีและวิศวกรรมโมเลกุลแห่งมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ระบุว่าตัวรับ "ดีพีพี4" (DPP-4) จากแบคทีเรียแบคทีรอยด์ดีส (Bacteroides) สามารถย่อยสลายกลูคากอน (glucagon) ของโฮสต์ได้ และมีส่วนในการรักษาสมดุลกลูโคส (glucose homeostasis)ทีมวิจัยพบว่าการเพิ่มประสิทธิภาพของเอนไซม์เปปติเดส (peptidase) ในร่างกายโฮสต์จะลดประสิทธิภาพทางคลินิกของยาซิตากลิปติน (Sitagliptin) ซึ่งเป็นยารักษาโรคเบาหวานที่ใช้โดยทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากซิตากลิปตินไม่สามารถยับยั้งการทำงานของดีพีพี4 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยปัจจุบันทีมวิจัยพยายามหาวิธีการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ดีพีพี4 ซึ่งมีศักยภาพส่งเสริมประสิทธิภาพของยาในปัจจุบันและยังค้นพบแนวทางการรักษาแบบใหม่ด้วยอนึ่ง ผลการศึกษาคาดการณ์ว่าการค้นพบนี้จะมีนัยสำคัญต่อการทำความเข้าใจพยาธิกำเนิดของโรคเบาหวานมากขึ้นและเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาของยาที่เกี่ยวข้อง