รีเซต

อันตราย "ก๊าซไข่เน่า" ในพื้นที่อับอากาศ

อันตราย "ก๊าซไข่เน่า" ในพื้นที่อับอากาศ
TNN ช่อง16
12 ธันวาคม 2567 ( 14:09 )
12

โดยนายแพทย์วิชาญ คิดเห็น นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์ เปิดเผยถึงผลการตรวจสอบหาสาเหตุการเสียชีวิตของคนงาน 5 รายในโรงงานปลาร้า จังหวัดเพชรบูรณ์ คาดว่ามาจากก๊าซพิษจากกระบวนการหมักปลาร้า เนื่องจากพบบริเวณก้นบ่อหมัก มีสารเคมี 2 ชนิดคือ ก๊าซไข่เน่า และ ก๊าซแอมโมเนีย สูงกว่ามาตรฐาน 5 เท่า

โดยก๊าซไข่เน่า หรือ ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ เป็นก๊าซที่กลิ่นฉุนรุนแรง แต่ไม่มีสีและติดไฟได้ ก๊าซชนิดนี้เกิดขึ้นจากการสลายตัวของสารอินทรีย์ รวมถึงอุตสาหกรรมหมัก หรือ เกี่ยวกับกำมะถัน

ทั้งนี้ ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ ไม่สามารถดูดซึมผ่านผิวหนังได้ คนที่ได้รับพิษจะต้องมาจากการสูดดมเข้าไปโดยตรง ซึ่งความอันตรายขึ้นอยู่กับปริมาณหรือระดับความเข้มข้นของสารพิษที่สูดดมเข้าไป 


โดยระดับความเข้มข้นของ ก๊าซไข่เน่า กับผลที่เกิดกับร่างกาย ซึ่งมีหน่วยเป็น ppm(Parts per million) จะมีหลายระดับ

50         ระคายเคืองตา  ตาแดง เยื่อบุทางเดินหายใจอักเสบ 

150        ประสาทรับกลิ่น ไม่ทำงาน

200        ไม่ได้กลิ่น ตาแดง เจ็บในคอ

250         อาจน้ำท่วมปอด ถ้าสูดดมนาน

500        ปวดศีรษะ คลื่นไส้ หมดสติ หยุดหายใจ ในเวลา 30 นาที -1 ชม. 

500-1000     ขาดออกซิเจน หยุดหายใจเฉียบพลัน



ด้านกองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค เตือนอันตรายจากการอยู่ในพื้นที่อับอากาศ และสูดดมก๊าซพิษ จนขาดออกซิเจน โดยพื้นที่อับอากาศคือสถานที่ ที่มีทางเข้าและออกอย่างจำกัด ไม่ได้ออกแบบให้ทำงานต่อเนื่องเป็นประจำ มีการระบายอากาศไม่เพียงพอ พื้นที่เสี่ยงภาวะอับอากาศ ได้แก่ สถานประกอบการที่อากาศไม่ถ่ายเท บ่อ หลุม บ่อบาดาล ห้องเก็บปลาในเรือ โรงเพาะเห็ดไซไล อุโมงค์ และ ถ้ำ เป็นต้น



สำหรับอาการเบื้องต้น เมื่ออยู่ในภาวะอากาศไม่ถ่ายเท จะมีอาการปวดศีรษะ วิงเวียนหน้ามืด คลื่นไส้ อาเจียน เจ็บหน้าออก หายใจไม่สะดวก เหนื่อย เพลีย อ่อนแรง

ชักเกร็ง ตาพร่ามัว จนถึงขั้นหมดสติ และเสียชีวิตได้



ข้อมูล : ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ,กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค

กราฟิก : TNN

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง