รีเซต

การทยอยขึ้นดอกเบี้ย กดดันเป้าหมาย SET อย่างไร?

การทยอยขึ้นดอกเบี้ย กดดันเป้าหมาย SET อย่างไร?
ทันหุ้น
15 มิถุนายน 2565 ( 11:05 )
90

#ทันหุ้น-บล.เอเซีย พลัส หรือ ASPS ระบุในบทวิเคราะห์ในช่วง 1 – 2 ปี ที่ผ่านมา เป็นช่วงที่ดอกเบี้ยแกว่งตัวขึ้นลงกว้างกว่าภาวะปกติ ทําให้เห็นการเคลื่อนย้ายเม็ดเงินระหว่างสินทรัพย์เสี่ยงกับสินทรัพย์ปลอดภัย เพื่อหาผลตอบแทนที่ดีกว่า ดังนั้นฝ่ายวิจัยฯ การใช้วิธี Market Earning Yield Gap ในการประเมินหาดัชนีเป้าหมายจึงเหมาะสมในเวลาแบบนี้ และฝ่ายวิจัยฯเคยประเมินเป้าหมาย SET Index ปี 2564 ที่ 1670 จุด ถือว่าใกล้เคียงกับ SET Index ปลายปี 2564 ที่ 1657.62 จุด

แม้ปัจจุบันฝ่ายวิจัยประเมินกําไรบริษัทจดทะเบียนปี 2565 อยู่ที่ 1.04 ล้านล้านบาท คิดเป็น EPS65F 88.9 บาท/หุ้น (สูงกว่าปี 2562 ก่อนเกิดโควิด 8.6%) แต่ปัญหาปัญหาก็คือ มีโอกาสเห็นแนวโน้มการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในช่วงที่เหลือของปี เพื่อสกัดค่าเงินบาทอ่อน, เงินเฟ้อ รวมถึงลดช่องว่างดอกเบี้ยไทยกับสหรัฐที่มีโอกาสถูกทิ้งห่างกันมากขึ้น

 

ฝ่ายวิจัยประเมินการปรับขึ้นดอกเบี้ย จะกดดันให้เม็ดเงินไหลกลับไปสู่สินทรัพย์ปลอดภัย และตามกลไกตลาดหุ้นจะถูกซื้อขายบน P/E ที่ลดลง ดังรูปจุดสมดุลระหว่าง Forward P/E กับดอกเบี้ยนโยบายด้านล่าง

และถ้ากนง. มีการขึ้นดอกเบี้ย 1 ครั้งหรือ 0.25% จะกดดันให้ระดับ P/E ซื้อขายลดลงจาก 20.36 เท่า เหลือ 19.38 เท่า ลดลงเกือบ 1 เท่า หรือต้องใช้ EPS เพิ่มขึ้นถึง 5% ราว 4.5 บาทต่อหุ้น หรือราว 5 หมื่นล้านบาท เพื่อชดเชยผลกระทบดังกล่าว (ภายใต้ MEYG ที่ 4.41% ที่ฝ่ายวิจัยใช้เป้าหมายประเมินดัชนี สูงกว่า Avg. MEYG 4.2% ถือว่า Conservative กว่าในช่วงอดีต) และถ้านํา P/E เหมาะสม ในแต่ละระดับดอกเบี้ยนโยบายไทย มาคูณกับ EPS65F ที่ 88.9 บาท/หุ้น จะได้เป้าหมาย SET Index ปลายปี คือ ถ้ากนง. ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ในปีนี้ เป้าหายดัชนีจาก 1810 จุด จะลดลงเหลือ 1722 จุด แต่ถ้ากนง. ขึ้นดอกเบี้ย 0.5% เป้าหายดัชนีจะลดลงเหลือ 1643 จุด ดังภาพทางด้านล่าง

สรุปคือ ทุกๆการขึ้นดอกเบี้ยไทย 0.25% ตามกลไกจะกดดันให้ P/E ตลาดซื้อขายลดลงลดลงราว 1 เท่า และต้องชดเชยด้วย EPS ที่เพิ่มขึ้นถึง 5% จึงจะทําให้ดัชนี เป้าหมายกลับขึ้นมาที่เดิม ดังนั้นประเด็นการขึ้นดอกเบี้ยจึงเป็นเรื่องสําคัญที่นักลงทุนจะต้องติดตามอย่างใกล้ชิด

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง