Into the past : เกิดคลื่นสึนามิ คร่าชีวิตประชาชนตามชายฝั่งมหาสมุทรไปมากกว่า 230,000-280,000 คน , มารี กูรี ประกาศการค้นพบธาตุเคมีชนิดใหม่ ภายหลังตั้งชื่อว่าเรเดียม (26ธ.ค.)
Into the past : วันนี้ trueID News จะพาย้อนไปในอดีตของวันนี้ กับเหตุการณ์ที่สำคัญ เรื่องราวสาระน่ารู้ ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ จะเป็นอย่างไรไปติดตามกัน
Into the past : ประเทศไทย
พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) - แผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย ทำให้เกิดคลื่นสึนามิ คร่าชีวิตประชาชนตามชายฝั่งมหาสมุทรไปมากกว่า 230,000-280,000 คน
แผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 เป็นแผ่นดินไหวใต้ทะเล เกิดขึ้นเมื่อเวลา 07.58 น. ตามเวลาในประเทศไทย เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ศูนย์กลางอยู่ลึกลงไปในมหาสมุทรอินเดีย ใกล้ด้านตะวันตกของตอนเหนือเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย แรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว ทำให้เกิดความเสียหายบนเกาะสุมาตรา และยังรับรู้ได้ในภาคใต้ของประเทศไทย
แผ่นดินไหวเกิดจากการยุบตัวของเปลือกโลกใต้มหาสมุทรอินเดีย กระตุ้นให้เกิดคลื่นสึนามิสูงราว 30 เมตร เข้าท่วมทำลายบ้านเรือนตามแนวชายฝั่งโดยรอบมหาสมุทรอินเดีย ประมาณการว่ามีผู้เสียชีวิตจากแผ่นดินไหวครั้งนี้ใน 14 ประเทศมากกว่า 230,000 - 280,000คนหรือมากกว่า 280,000 คน นับเป็นหนึ่งในภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ ประเทศที่ได้รับความเสียหายมากที่สุดได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย รองลงมาคือประเทศศรีลังกา ประเทศอินเดีย และประเทศไทย ตามลำดับ
=====
Into the past : รอบโลก
พ.ศ. 2441 (ค.ศ. 1898) - มารี กูรี ประกาศการค้นพบธาตุเคมีชนิดใหม่ ภายหลังตั้งชื่อว่าเรเดียม
มารี สกวอดอฟสกา-กูว์รี มีชื่อแต่แรกเกิดว่า มาเรีย ซาลอแมอา สกวอดอฟสกา เป็นนักเคมีผู้ค้นพบรังสีเรเดียม ที่ใช้ยับยั้งการขยายตัวของมะเร็ง ซึ่งเป็นโรคร้ายที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่มีอัตราการตายของคนไข้เป็นอันดับหนึ่งมาทุกยุคสมัย ด้วยผลงานที่มีความสำคัญต่อมนุษยชาติเหล่านี้ ทำให้มารี กูว์รีได้รับรางวัลโนเบลถึง 2 ครั้งด้วยกัน
==========
รวมสิทธิส่งเสริมคุณภาพชีวิต เกาะติดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทันเรื่องราวกระแสสังคม
สัมผัสประสบการณ์ข่าวได้ที่ แอปพลิเคชัน ทรูไอดี (ดาวน์โหลดเลยที่นี่!!)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
10 อันดับ สึนามิครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์โลก
- นักวิทยาศาสตร์ใช้เวลาไม่กี่นาทีสร้างเพชรหายากขึ้นได้สำเร็จ!
ข้อมูล : wikipedia , history , on this day , bbc