รีเซต

ดร.อนันต์ เผยข้อมูล-อธิบายโครงสร้างจุดเด่นของ mRNA vaccine

ดร.อนันต์ เผยข้อมูล-อธิบายโครงสร้างจุดเด่นของ mRNA vaccine
TNN ช่อง16
20 กันยายน 2564 ( 11:52 )
37
ดร.อนันต์ เผยข้อมูล-อธิบายโครงสร้างจุดเด่นของ mRNA vaccine

ภาพโดย AFP

วันนี้( 20 ก.ย.64) ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักวิจัยด้านไวรัสวิทยา ไบโอเทค โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กเกี่ยวกับวัคซีนโควิด mRNA vaccine โดยระบุข้อความว่า 

"ภาพ Infographic นี้อธิบายโครงสร้างของ mRNA vaccine ได้ชัดเจน และ ดูง่ายครับ จุดเด่นของ mRNA vaccine ทั้ง Moderna และ Pfizer มีเหมือนๆกันดังนี้

1. การปรับเปลี่ยนเบสบางชนิดของ mRNA vaccine ให้ไม่เหมือนกับ mRNA โดยทั่วไป โดยวัคซีนทั้ง 2 ชนิด เปลี่ยนเบส Uridine (U) ที่พบใน mRNA ทั่วไปเป็น pseudouridine ซึ่งยังทำหน้าที่สร้างโปรตีนได้เหมือนเดิม แต่ข้อดีของการมี pseudouridine คือ เพื่อ "หลบหนี" ระบบภูมิคุ้มกันที่ร่างกายเราสร้างขึ้นมาเพื่อตรวจจับ RNA แปลกปลอม (ซึ่งมักมาจากไวรัส) และ จะสร้างสัญญาณเพื่อทำลาย RNA เหล่านั้น ทำให้ mRNA vaccine ที่เข้าสู่ร่างกายมีเวลามากพอที่จะสร้างโปรตีนให้ร่างกายเรามองเห็นโปรตีนสไปค์ และ กระตุ้นภูมิได้ เพราะถ้าไม่มี pseudouridine นี้ จะถูกเอนไซม์ในเซลล์ทำลายอย่างรวดเร็ว และ เซลล์ที่รับเข้ามาก็จะถูกกระตุ้นให้ตายลงอย่างรวดเร็วด้วยกลไกป้องกันตัวเองตามธรรมชาติ

2. การปรับกรดอะมิโนบางตัวในโปรตีนสไปค์ให้มีความเสถียรของโครงสร้าง ให้ร่างกายเห็นโปรตีนสไปค์ในโครงสร้างที่เหมาะสม สามารถสร้างแอนติบอดีมาจับได้ในโครงสร้างที่พบได้ในไวรัสของจริง จึงทำให้แอนติบอดีที่สร้างขึ้นจึงยับยั้งไวรัสเข้าสู่เซลล์ได้ดีกว่า วัคซีนรูปแบบอื่นที่ใช้โปรตีนเหมือนที่พบในธรรมชาติไม่ได้มีการปรับโครงสร้างของโปรตีนสไปค์

3. การนำส่งโปรตีนจะใช้ไขมัน 4 ชนิดผสมเป็นสูตร Lipid nanoparticle ประกอบด้วย Phospholipid, Cholesterol, PEG-Lipid และ Ionizable lipid โดยตัวหลังสุดคือไขมันที่มีประจุบวก ซึ่งสามารถจับกับโมเลกุลของ mRNA ที่มีประจุลบได้ เป็นกระบวนการเพิ่มเสถียรภาพของวัคซีนในการนำส่งเข้าสู่ร่างกาย แต่ เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วไขมันที่มีประจุเหล่านี้จะสูญเสียสภาพของประจุดังกล่าวไปจากสภาวะที่เป็นเบสในร่างกาย .ไขมันที่มีประจุนี้"ไม่ใช่"สารแม่เหล็กที่มีการกระจายข้อมูลว่า ฉีดวัคซีนไปแล้วสามารถทำให้ร่างกายมีแม่เหล็กดูดโลหะได้...ไขมัน กับ โลหะ เป็นคนละเรื่องกันครับ

https://www.nature.com/articles/d41586-021-02537-z"

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง