รีเซต

เร่งพัฒนาระบบรักษาโรคหลอดเลือดสมองเคลื่อนที่ หลังตายเพิ่มเป็นอันดับ 2

เร่งพัฒนาระบบรักษาโรคหลอดเลือดสมองเคลื่อนที่ หลังตายเพิ่มเป็นอันดับ 2
TNN ช่อง16
19 พฤศจิกายน 2567 ( 12:07 )
8

นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า โรคหลอดเลือดสมองถือเป็นปัญหาสาธารณสุข ที่สำคัญ เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ของประเทศไทย ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย พบว่าอัตราตายโรคหลอดเลือดสมอง เท่ากับ 48.7 ต่อแสนประชากร และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น จากสถิติของสถาบันประสาทวิทยา ในปี 2567 พบว่ามีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเข้ารับการรักษาในหออภิบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 675 ราย ผู้ป่วยให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ จำนวน 40 ราย การรักษาด้วยวิธีสายสวนหลอดเลือดสมอง จำนวน 250 ราย การรักษาระบบบริการ Stroke Fast Track (SFT) การให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำใน 4.5 ชั่วโมง เป็นการรักษามาตราฐานของการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบอุดตันระยะเฉียบพลัน การบริการ และการรักษาด้วยวิธี Thrombectomy เป็นหัตถการที่เป็นการรักษามาตราฐานอีกทางเลือกหนึ่งในการดูแลผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉิน เวลาเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง โดยใช้รถเคลื่อนที่ Mobile Stroke Unit ซึ่งสามารถลดอัตราตายและลดความพิการลงได้ ระบบการรับส่งต่อผู้ป่วย จึงยังมีความสำคัญต่อระบบสุขภาพของประเทศไทย การส่งต่อข้อมูลโดยมีเงื่อนไขด้านเวลาและความปลอดภัยยังเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพที่เหมาะสมและสนับสนุนการสร้างสุขภาวะที่ดี โดยการพัฒนาระบบการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเคลื่อนที่ ซึ่งมีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาได้อย่างรวดเร็ว ลดระยะเวลาการรอคอยการรักษา รักษาโดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางมาโรงพยาบาล ส่งผลต่อโอกาสการรอดชีวิตของผู้ป่วย เป็นการ “ลดระยะเวลาทุกระดับ ลดการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง”


ว่าที่ร้อยโทหญิง พญ.นภา ศิริวิวัฒนากุล ผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา กล่าวเพิ่มเติมว่า       สถาบันประสาทวิทยาเป็นสถาบันชั้นนำด้านระบบประสาทในระดับตติยภูมิและสูงกว่าตติยภูมิมีหน้าที่รับผิดชอบด้านวิชาการและบริการ และมีเครือข่ายโรคหลอดเลือดสมองทั่วประเทศ ยังคงพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดการพัฒนาการรักษาแบบเชิงรุกให้ได้รับการรักษาตามมาตราฐานอย่างรวดเร็ว และได้จัดสัมมนาวิชาการการพัฒนาเครือข่ายโรคหลอดเลือดสมอง ภายใต้โครงการพัฒนาเครือข่ายโรคหลอดเลือดสมองเชิงรุก ร่วมกับ   เขตสุขภาพที่ 10 ประกอบด้วยจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ และมุกดาหาร สำหรับสถานการณ์ศักยภาพการดูแลรักษาโรคหลอดเลือดสมอง เขตสุขภาพที่ 10 นั้น พบว่า สามารถให้บริการหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke Unit) จำนวน 85 เตียง ซึ่งมีการผ่านการรับรอง Stroke Unit จำนวน 8 โรงพยาบาล ผ่านการรับรองศูนย์โรคหลอดเลือดสมองมาตรฐาน กระทรวงสาธารณสุข (Standard Stroke Center Certification: SSCC) จำนวน 5 โรงพยาบาล และมีการจัดบริการ Mechanical Thrombectomy จำนวน 1 โรงพยาบาล ซึ่งยังคงมีกิจกรรมพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งในด้านบุคลากรและด้านบริการการรักษา ระหว่างวันที่ 18 - 22 พฤศจิกายน 2567 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง