รีเซต

โควิด-19 : การติดเชื้อระลอกที่สองในสิงคโปร์นับเป็นบทเรียนสำคัญ โฆษก ศคบ. ย้ำเฝ้าระวังแรงงานต่างด้าวเพื่อป้องกันการกระจายของโรค

โควิด-19 : การติดเชื้อระลอกที่สองในสิงคโปร์นับเป็นบทเรียนสำคัญ โฆษก ศคบ. ย้ำเฝ้าระวังแรงงานต่างด้าวเพื่อป้องกันการกระจายของโรค
บีบีซี ไทย
21 เมษายน 2563 ( 12:29 )
162

นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศบค. แถลงวันนี้ (21 เม.ย.) ไทยพบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 19 ราย ยอดรวม 2,811 ราย มีผู้รักษาหายกลับบ้านแล้วรวม 2,108 ราย (รักษาหายเพิ่ม 109 ราย) ยังคงรักษาตัวอยู่ในรพ. 655 ราย ผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม 1 ราย ยอดสะสม 48 ราย

 

รายละเอียดผู้เสียชีวิตรายที่ 48 นั้น เป็นผู้ป่วยชายไทยอายุ 50 ปี อาชีพขับรถแท็กซี่ มีโรคประจำตัวเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งควบคุมน้ำตาลได้ไม่ดี สูบบุหรี่ มีประวัติเสี่ยงรับส่งผู้โดยสารไปสนามมวยลุมพินี เริ่มป่วยด้วยอาการไข้ต่ำ หายใจลำบาก ก่อนเข้ารับการตรวจแล้วกลับบ้านอาการไม่ดีขึ้น มีไข้สูง จึงเข้ารับการรักษาอีกครั้งผลตรวจพบติดเชื้อ ก่อนที่อาการแย่ลงจนเสียชีวิต

 

รายละเอียดผู้ป่วยรายใหม่ มีรายละเอียดดังนี้

  • ผู้ที่มีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วยหรือเกี่ยวข้องกับสถานที่ที่พบผู้ป่วยก่อนหน้า 10 ราย กว่า 7 รายอยู่ในกรุงเทพฯ
  • ไปสถานที่ชุมนุมชน เช่น ห้างสรรพสินค้า ตลาดนัด สถานที่ท่องเที่ยว 2 ราย
  • อาชีพเสี่ยง เช่น ทำงานในที่แออัด ใกล้ชิดกับคนต่างชาติ 1 ราย
  • พิธีกรรมทางศาสนา 1 ราย
  • อื่น ๆ 4 ราย เป็นการค้นหาเชิงรุกในจ.ยะลา 2 ราย และการตรวจก่อนทำหัตถการ 2 ราย
  • ผู้ป่วยที่เดินทางมาจากต่างประเทศ และอยู่ใน State Quarantiene 1 ราย

 

นพ.ทวีศิลป์ ชี้ว่าการติดเชื้อที่ลดลงในเวลานี้เป็นผลจากความร่วมมือของประชาชน ในช่วง 14 วันที่ผ่านมา การดูแลตนเองอย่างเคร่งครัดยังมีผลให้ผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ลดลงเช่นเดียวกัน

 

โฆษก ศบค. ยังเปิดเผยข้อมูลจังหวัดที่มีรายงานผู้ป่วยในช่วง 7 วันที่ผ่านมาว่ามี 11 จังหวัด และจังหวัดที่ไม่มีรายงานผู้ป่วยมาก่อนรวม 10 จังหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร ชัยนาท ตราด น่าน บึงกาฬ พิจิตร ระนอง สิงห์บุรี อ่างทอง และสตูล ซึ่งไม่มีผู้ป่วยใยจังหวัด มีเพียงใน State Quarantine

 

ถอดบทเรียนสิงค์โปร์

จากข้อมูลวันนี้มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 1,426 รายในวันเดียว รวมมีผู้ป่วยสะสมแล้วกว่า 8,014 ราย นพ.ทวีศิลป์ อธิบายว่า ในจำนวนผู้ติเชื้อทั้งหมด กว่า 60 % สัมพันธ์กับแรงงานต่างด้าวที่อาศัยในหอฟัก ซึ่งจำนวนแรงงานต่างด้าวที่ทำงานมีมากกว่า 323,000 คน ซึ่งกระจายอยู่ในหอพัก 43 แห่ง และในแต่ละห้องนอนอาจอาศัยรวมกันกว่า 12-20 คน

 

สำหรับแรงงานคนแรกที่พบการติดเชื้อนั้น เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 8 ก.พ. เป็นชาวบังคลาเทศ ก่อนจะพบการติดเชื้อกลุ่มก้อนใหญ่ในหอพักวันที่ 30 มี.ค. เริ่มจากการติดเชื้อเพียง 4 คน ก่อนจะกระจายพบผู้ติดเชื้อนับพันคน

 

โฆษก ศบค. อธิบายว่า ขณะนี้รัฐบาลสิงค์โปร์ได้ดำเนินมาตราการล็อกดาวน์หอพักทุกแห่ง ก่อนที่จะตั้งหน่วยงานดูแลแรงงานกลุ่มนี้โดยเฉพาะ ไม่ให้เกิดการเคลื่อนย้ายแต่อย่างใด และจำกัดการมีปฏิสัมพันธ์ โดยทั้งหมดยังคงได้รับค่าจ้างระหว่างการกักกันตัว รวมถึงเมื่อแรงงานที่หายดีแล้วจะย้ายไปพักบนเรือที่จัดเตียมไว้

 

ทั้งหมดนี่จึงเป็นบทเรียนสำคัญของไทยที่จะต้องเฝ้าระวัง "กลุ่มแรงงานต่างด้าว" ภายในประเทศ โดยการจัดตั้งพนักงานสาธารณสุขต่างด้าว และอาสาสาธารณะสุขต่างด้าว ทำหน้าที่คล้ายอสม. เพื่อช่วยป้องกันการกระจายของโรค

 

วันนี้นั้นจะมีคนไทยในต่างแดนเดินทางกลับจากไต้หวัน 120 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มแรงงาน รวมถึงประเทศญี่ปุ่นอีก 100 คน จาก 2 เที่ยวบิน โดยทั้งหมดจะเข้าสู่การเฝ้าระวังในพื้นที่่รัฐจัดให้

 

กรณีที่ในช่วงนี้ใประชาชนออกมใช้ชีวิตตามปกติดนั้น นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า เป็นวันแรกที่ผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นต่ำกว่า 20 คน หลายคนจึงเริ่มวางใจ แต่ทุกคนยังคงต้องป้องกันตนเอง และเว้นระยะห่างทางสังคมอย่างเคร่งครัด จึงยังอยากขอความร่วมมือภาคเอกชนทำงานจากที่บ้านต่อไป

 

"หลายคนอาจจะเบาใจได้ แต่วางใจยังไม่ได้นะครับ" นพ.ทวีศิลป์กล่าว

 

นพ.ทวีศิลป์ ย้ำว่าในขณะนี้ไทยกำลังพิจารณา "การผ่อนปรน" ไม่ใช่ "ยกเลิก" ซึ่งต้องมีการป้องกันและควบคุมโรคต่อไป ประกอบกับการปฏิบัติงานในท้องถิ่น ซึ่งทั้งหมดขึ้นอยู่กับสถิติของผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น และการปฏิบัติของประชาชน

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง