รีเซต

“กษัตริย์เบลเยียม” ส่งราชสาส์นถึงคองโก “เสียพระทัย” กับอดีตยึดดินแดนอันโหดร้าย

“กษัตริย์เบลเยียม” ส่งราชสาส์นถึงคองโก “เสียพระทัย” กับอดีตยึดดินแดนอันโหดร้าย
ข่าวสด
30 มิถุนายน 2563 ( 17:26 )
273

 

“กษัตริย์เบลเยียม” ส่งราชสาส์นถึงคองโก “เสียพระทัย” กับอดีตยึดดินแดนอันโหดร้าย

“กษัตริย์เบลเยียม” - วันที่ 30 มิ.ย. บีบีซี รายงานว่า สมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิปแห่งเบลเยียม ส่งพระราชสาส์นถึง ประธานาธิบดีเฟลิกซ์ ทชิเซเคดี ผู้นำสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก เนื่องในวาระครบ 60 ปีการประกาศอิสรภาพคองโก

 

โดยกษัตริย์ฟีลิปทรงแสดงความเสียพระทัยอย่างลึกซึ้งที่ครั้งหนึ่งคองโกเคยตกอยู่ใต้การปกครองอันโหดเหี้ยมของจักรวรรดิเบลเยียมในสมัย พระเจ้าลิโอโปลด์ที่ 2 ซึ่งนำไปการทารุณและการเสียชีวิตของชาวแอฟริกันกว่า 10 ล้านคน ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ราชวงศ์เบลเยียมแสดงความเสียใจอย่างเป็นทางการต่อการล่าอาณานิคมในอดีต

 

ในพระราชสาส์น กษัตริย์ฟีลิปทรงตรัสยกย่องสายสัมพันธ์พิเศษระหว่างเบลเยียมและคองโกในปัจจุบัน แม้จะเคยมีช่วงเวลาแห่งความเจ็บปวดในประวัติศาสตร์ ซึ่งกษัตริย์ฟีลิปทรงไม่ระบุพระนามพระเจ้าลิโอโปลด์ที่ 2 ลงในพระราชสาส์น

 

“ข้าพเจ้าประสงค์จะแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อผู้ที่ได้รับความเจ็บช้ำในอดีต ความเจ็บปวดของสิ่งที่ตอนนี้เกิดขึ้นจากการเลือกปฏิบัติยังคงปรากฏในสังคมของเรา และข้าพเจ้าจะเดินหน้าต่อสู้กับต่อสู้กับการเหยียดชนชาติทุกรูปแบบอย่างต่อเนื่อง” กษัตริย์ฟีลิประบุผ่านพระราชส์น

Belgium's King Philippe (pictured with royal family) has expressed his "deepest regrets" to the Democratic Republic of Congo for his country's colonial abuses. REUTERS

ทั้งนี้ พระเจ้าลิโอโปลด์ที่ 2 ทรงก่อตั้งเสรีรัฐคองโกขึ้นหลังจากยึดดินแดนซึ่งปัจจุบันคือประเทศคองโก เมื่อปี 2428-2451 โดยพระองค์ทรงเพิกเฉยต่อเงื่อนไขความตกลงในที่ประชุมกรุงเบอร์ลินว่าด้วยการผูกมัดให้รัฐดังกล่าวพัฒนาชีวิตของประชากร

นอกจากไม่ทำตามแล้ว พระองค์ยังใช้กำลังทหารทารุณชาวพื้นเมืองคองโก รวมถึงใช้งานเยี่ยงทาส ทั้งบังคับให้ล่าช้างตัดงาเพื่อนำไปขายในยุโรปและจีน และบังคับให้กรีดยาง

แต่ในที่สุดพระเจ้าลิโอโปลด์ที่ 2 ก็ถูกบีบให้ยกเลิกการกระทำโหดร้ายที่สร้างความเสื่อมเสียจนฉาวไปทั่วโลก และโอนการควบคุมรัฐคองโกให้แก่รัฐบาลเบลเยียม กระทั่งในปี 2503 คองโกจึงได้รับเอกราช

A protester holds a portrait of Belgian King Leopold II during a protest, organised by Black Lives Matter Belgium in central Brussels, Belgium. REUTERS

นอกจากชาวคองโกจะขมขื่นกับความหลังที่หดหู่แล้ว หนุ่มสาวชาวเบลเยียมคนรุ่นใหม่ยังแสดงความไม่พอใจต่อระบบจักรวรรดินิยม ซึ่งในช่วงการลุกฮือต่อต้านการเหยียดสีผิวและเชื้อชาติจากกรณีของนายจอร์จ ฟลอยด์ ชายผิวดำที่ถูกตำรวจผิวขาวใช้กำลังเกินเหตุในการจับกุมจนเสียชีวิตอย่างสลด เมื่อเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา

กลุ่มผู้ประท้วงชาวเบลเยียมจึงพากันทำลายอนุสาวรีย์ของพระเจ้าลิโอโปลด์ที่ 2 พร้อมทั้งเรียกร้องให้รื้อถอนรูปปั้นที่แสดงถึงการสนับสนุนการค้าทาสออกทั้งหมด

Another Leopold statue, this one in Brussels, was targeted by protesters waving the flag of the Democratic Republic of Congo. REUTERS

The Leopold statue is seen standing in Antwerp last week after it was vandalised by demonstrators during the anti-racism protests which have spread across the world. AFP

A chipped and vandalised statue of former Belgian King Leopold II is seen being removed for possible renovation in Ekeren, Antwerp, Belgium today. atv via REUTERS

Workmen can be seen loading the statue on to pallets to remove it for possible restoration in Antwerp, Belgium. atv via REUTERS

Another statue of former Belgian King Leopold II, this time in Tervuren near Brussels, is seen sprayed with a graffiti in the park of the Africa Museum. REUTERS

Tthe vandalized statue of King Leopold II of Belgium in Brussels. (AFP)

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง