รีเซต

ยูนิเซฟชี้ 'วัคซีนมาลาเรีย' ตัวแรกของโลก จ่อเอื้อประโยชน์เด็กหลายล้าน

ยูนิเซฟชี้ 'วัคซีนมาลาเรีย' ตัวแรกของโลก จ่อเอื้อประโยชน์เด็กหลายล้าน
Xinhua
17 สิงหาคม 2565 ( 14:55 )
82
ยูนิเซฟชี้ 'วัคซีนมาลาเรีย' ตัวแรกของโลก จ่อเอื้อประโยชน์เด็กหลายล้าน

สหประชาชาติ, 17 ส.ค. (ซินหัว) -- เมื่อวันอังคาร (16 ส.ค.) กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) เปิดเผยว่า จีเอสเค (GSK) บริษัทเภสัชภัณฑ์ของสหราชอาณาจักร ชนะการประกวดราคาเพื่อผลิตวัคซีนป้องกันโรคมาลาเรียตัวแรกของโลก

การประกวดราคาครั้งนี้มีมูลค่าสูงถึง 170 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 6.01 พันล้านบาท) ครอบคลุมการผลิตวัคซีนอาร์ทีเอส,เอส (RTS,S) จำนวน 18 ล้านโดส สำหรับใช้งานในช่วง 3 ปีข้างหน้า ซึ่งอาจช่วยชีวิตเด็กหลายพันคนต่อปีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ถือเป็นประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคมาลาเรียมากที่สุด โดยมีเด็กชายและเด็กหญิงในแอฟริกาเสียชีวิตจากโรคนี้ในปี 2020 เกือบ 500,000 ราย หรือคิดเป็นอัตราการเสียชีวิต หนึ่งรายในทุกหนึ่งนาทีเอตเลวา คาดิลิ ผู้อำนวยการฝ่ายจัดหาของยูนิเซฟ กล่าวว่าความคืบหน้านี้ถือเป็นการส่งสัญญาณชัดเจนให้บรรดาผู้พัฒนาวัคซีนป้องกันโรคมาลาเรียเดินหน้าทำงานต่อไป โดยนี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้น และจำต้องมีการคิดค้นพัฒนาวัคซีนรุ่นใหม่และรุ่นถัดไป เพื่อเพิ่มพูนอุปทานและทำให้ตลาดวัคซีนแข็งแกร่งขึ้น"นี่เป็นก้าวย่างยิ่งใหญ่ในความพยายามช่วยชีวิตเด็กๆ และลดทอนผลกระทบจากโรคมาลาเรีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรียในวงกว้างกว่าเดิม" คาดิลิกล่าวอนึ่ง มาลาเรียมีต้นตอจากปรสิตและแพร่สู่มนุษย์ผ่านยุงก้นปล่องตัวเมียที่ติดเชื้อ แม้โรคนี้จะสามารถป้องกันและรักษาได้ แต่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหากไม่ได้รับการรักษาองค์การอนามัยโลก (WHO) เผยว่ามากกว่า 30 ประเทศ มีพื้นที่ที่มีการแพร่เชื้อมาลาเรียระดับปานกลางถึงสูง โดยวัคซีนสามารถให้การปกป้องเพิ่มเติมแก่เด็กมากกว่า 25 ล้านคนในแต่ละปี หากอุปทานวัคซีนเพิ่มมากขึ้นแล้ววัคซีนป้องกันโรคมาลาเรียอาร์ทีเอส,เอส ซึ่งเป็นผลลัพธ์จากการวิจัยและพัฒนานานถึง 35 ปี เป็นวัคซีนป้องกันโรคปรสิตตัวแรกของโลก โดยถูกเปิดตัวในโครงการนำร่องที่ประสานงานโดยองค์การฯ เมื่อปี 2019 และฉีดให้ประชากรเด็กมากกว่า 800,000 คน ในกานา เคนยา และมาลาวีทั้งนี้ องค์การฯ แนะนำการฉีดวัคซีนป้องกันโรคมาลาเรียเป็นวงกว้างในประเทศที่มีการแพร่เชื้อมาลาเรียระดับปานกลางถึงสูง เมื่อเดือนตุลาคม 2021 ด้านยูนิเซฟคาดว่าความต้องการวัคซีนดังกล่าวจะพุ่งสูงในกลุ่มประเทศที่ได้รับผลกระทบ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง