รีเซต

สธ.ยังไม่รีบสำรอง "ปรัสเซียนบลู" ต้านพิษซีเซียม เข้าสู่ร่างกาย

สธ.ยังไม่รีบสำรอง "ปรัสเซียนบลู" ต้านพิษซีเซียม เข้าสู่ร่างกาย
TNN ช่อง16
24 มีนาคม 2566 ( 07:23 )
63

วันนี้ ( 24 มี.ค. 66 )นายแพทย์ ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า จากเหตุการณ์โรงหลอมเหล็ก จังหวัดปราจีนบุรี พบรังสีซีเซียม-137 ในฝุ่นแดงที่เตรียมจะส่งไปทำขยะรีไซเคิล ทำให้ต้องปิดโรงหลอมเหล็กและตรวจสุขภาพคนงานรวม 70 คน แต่ยังไม่พบผู้ที่มีอาการป่วยเข้าข่ายได้รับกัมมันตรังสีซีเซียม ซึ่งวานนี้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ปราจีนบุรี และสำนักงานปรมานูเพื่อสันติ (ปส.) ได้ลงพื้นที่ตรวจสุขภาพคนงานทุกคนรวมถึงครอบครัว เพื่อเป็นข้อมูลด้านสุขภาพในระยะยาว เช่น การเปลี่ยนแปลงของเซลล์เม็ดเลือดขาว


ส่วนที่มีการกล่าวถึงยาปรัสเซียนบลู  ที่ใช้ต้านพิษซีเซียมเข้าสู่ร่างกาย ไทยเคยมีสำรองไว้ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี แต่ไม่เคยใช้เพราะไม่ใช่โรคที่พบบ่อย ทำให้ยาหมดอายุ จึงไม่มีการสั่งเข้ามาสำรองเพิ่ม เหมือนโรคอื่นๆ แต่ขณะนี้ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ร่วมกับสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) ประเมินสถานการณ์ ว่า ยังไม่มีความจำเป็น เนื่องจากยังไม่พบผู้ที่มีอาการป่วย แต่ ปส. มีความร่วมมือกับนานาชาติในการช่วยเหลือเรื่องนี้ หากมีความจำเป็นสามารถประสานหายาได้ ขณะเดียวกัน โรงพยาบาลนพรัตนฯ ก็ได้วางระบบการนำเข้ากับ อย. ไว้แล้ว


ด้าน ศาสตราจารย์ นายแพทย์วินัย วนานุกูล หัวหน้าศูนย์พิษวิทยาและหัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า ปรัสเซียนบลู ใช้รักษาพิษซีเซียม–137 ที่เข้าสู่ร่างกาย ไม่ให้ดูดซึมสารพิษแต่ไม่ได้ใช้กรณีสัมผัสซีเซียม 137 นอกร่างกาย ส่วนการสำรองยาปรัสเซียนบลู มองว่าควรมี แต่ไม่ต้องเยอะมาก เบื้องต้นทราบว่ายาปรัสเซียนบลู แบบเมดิคัลเกรด มีอยู่ที่เยอรมนี


ส่วนยาโพแทสเซียมไอโอไดด์ ที่ใช้รักษาพิษซีเซียม ขณะนี้มีอยู่แล้วป้องกันการเกิดโรคไทรอยด์ ส่วนการสำรองยา มองว่ายังจำเป็น เพราะยา 2 ตัวนี้มีกลไกการทำงานคนละแบบ ซึ่งโพแทสเซียมไอโอไดด์จะกินก่อนสัมผัส เช่นเมื่อต้องเข้าไปในพื้นที่เสี่ยงกัมมันตรังสี เพื่อไม่ให้เข้าไปทำลายอวัยวะร่างกาย ส่วนปรัสเซียนบลูใช้เมื่อสัมผัส หรือรับสารเข้าร่างกายแล้ว เช่น เผลอกินอาหารที่มีซีเซียมเข้าไป เพื่อช่วยไม่ให้ร่างกายดูดซึม


ภาพจาก :   ผู้สื่อข่าวภูมิภาคจังหวัดระยอง / ปราจีนบุรี 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง