Into the past : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดมหาวิทยาลัยขอนแก่นอย่างเป็นทางการ , นโปเลียนที่ 3 ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส (20ธ.ค.)
Into the past : วันนี้ trueID News จะพาย้อนไปในอดีตของวันนี้ กับเหตุการณ์ที่สำคัญ เรื่องราวสาระน่ารู้ ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ จะเป็นอย่างไรไปติดตามกัน
Into the past : ประเทศไทย
พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) - พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดมหาวิทยาลัยขอนแก่นอย่างเป็นทางการ
มหาวิทยาลัยขอนแก่น เดิมชื่อมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (มภน.) เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกและเก่าแก่ที่สุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ยังเป็นมหาวิทยาลัยลำดับที่ 7 ของประเทศไทย ปัจจุบันอายุ 54 ปี โดยมหาวิทยาลัยขอนแก่นตั้งอยู่ถนนมิตรภาพ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น มีจุดประสงค์เพื่อให้การศึกษาชั้นสูงขยายออกไปถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับการสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2509 และพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงประกอบพิธีเปิดเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2510 จนกระทั่งปีพ.ศ. 2552 มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 9 มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ จาก กระทรวงศึกษาธิการ และในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ อยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. 2558.
=====
Into the past : รอบโลก
พ.ศ. 2391 (ค.ศ. 1848) - นโปเลียนที่ 3 ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส
หลุยส์-นโปเลียน โบนาปาร์ต ชื่อเกิดว่า ชาร์ล-หลุยส์ นโปเลียน โบนาปาร์ต เป็นประธานาธิบดีเพียงคนเดียวแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่สอง เป็นบุคคลแรกที่ประชาชนเลือกตั้งโดยตรงให้ดำรงตำแหน่งนี้ อยู่ในตำแหน่งระหว่าง ค.ศ. 1848–52 แต่รัฐธรรมนูญมิให้ดำรงตำแหน่งซ้ำ จึงยึดอำนาจรัฐบาลตนเองแล้วขึ้นเป็นจักรพรรดินามว่า นโปเลียนที่ 3 แห่งจักรวรรดิฝรั่งเศสที่สอง อยู่ในตำแหน่งจักรพรรดิช่วง ค.ศ. 1852–70
==========
รวมสิทธิส่งเสริมคุณภาพชีวิต เกาะติดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทันเรื่องราวกระแสสังคม
สัมผัสประสบการณ์ข่าวได้ที่ แอปพลิเคชัน ทรูไอดี (ดาวน์โหลดเลยที่นี่!!)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
กินข้าวราดแกงในมหาวิทยาลัยขอนแก่น อร่อยแถมถูกเพียงจานละ 20 บาท
- ริดสีดวงกับบีฟเวลลิงตัน เกี่ยวข้องกับนโปเลียนอย่างไร
ข้อมูล : wikipedia , history , on this day , bbc