รีเซต

เธอเอาขาลงไม่ได้เหรอ? โทษที่อาจเกิดขึ้น...จากการนั่งไขว่ห้าง

เธอเอาขาลงไม่ได้เหรอ? โทษที่อาจเกิดขึ้น...จากการนั่งไขว่ห้าง
TeaC
1 เมษายน 2564 ( 14:38 )
489

 

เธอเอาขาลงไม่ได้เหรอ?!!!

 

เพราะการนั่งท่าไขว่ห้างนาน ๆ จนติดเป็นนิสัย เสี่ยงอันตราย วันนี้ TrueID จะพามาหาคำตอบกันว่า ทำไมการนั่งท่าไขว่ห้างส่งผลเสียต่อร่างกาย แถมส่งผลต่อบุคคลิกภาพ หากนั่งไขว่ห้างไม่พึงให้เกียรติสถานที่

 

 

อย่างกรณีที่นักข่าวสำนักหนึ่งถูกติงเรื่องท่านั่งไขว่ห้าง ขณะที่ นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กำลังแถลงครม พร้อมร้องขอให้เปลี่ยนท่านั่ง อาจเป็นไปได้ว่า ท่านั่งไขว่ห้างไม่เหมาะสม ไม่มีระเบียบแบบแผนในการนั่งให้ถูกหลักการปฏิบัติของสังคมตามกาลเทศะได้ จนกลายเป็นกระแสร้อนแรง สังคมออนไลน์วิพากษ์วิจารณ์ไปต่าง ๆ นานา

 

 

การนั่งไขว่ขาที่ต้องเอาขาข้างหนึ่งพาดทับอีกข้างเป็นเวลานานเกินไป หากสังเกตดี ๆ ท่านั่งไขว่ห้างทำให้ไหล่เอียง หลังคด สะโพกเอียง สิ่งเหล่านี้อาจเป็นสัญญาเตือนเสี่ยง "โรคกระดูกเสื่อม" 

 

 

เพราะท่าไขว่ห้าง เป็นท่านั่งที่ทำให้เข่าข้างที่ถูกทับต้องทำงานหนักขึ้น เพื่อแบกรับน้ำหนักอีกข้าง ส่งผลให้สะโพกไม่ไดด้อยู่ในระดับเดียวกัน สะโพกด้านหนึ่งเอียง และความไม่เท่ากันนี่เองที่ก่อให้เกิดปัญหาตามมา เนื่องจากกล้ามเนื้อสะโพกด้านใน เกิดการตึงอย่างต่อเนื่อง ส่วนกล้ามเนื้อสะโพกด้านนอกอ่อนแรง ผลที่ตามมาคือ กล้ามเนื้อไม่สมดุล ทั้งทางด้านความแข็งแรงและการตึงเกร็ง ยิ่งทำให้การเคลื่อนไหวไม่ว่าจะยืน เดิน หรือทรงตัวมีปัญหา เสี่ยงต่อการบาดเจ็บได้ง่าย

 

 

และอาจทำให้กระดูกสันหลังคด หรือโค้งงอ ทำให้เกิดโรคกระดูกเสื่อมไวขึ้นได้ด้วยเช่นกัน แถมถ้านั่งจนติดเป็นนิสัยแบบไม่ลดละ ไม่ยอมปรับพฤติกรรม ปรับเปลี่ยนท่านั่ง ยิ่งทำให้เกิดอาการขาตาย ก้าวไม่ออก จนต้องเสียทั้งเวลาและเงินทองไปกับการรักษาด้วยการกายภาพบำบัดได้อีกด้วย

 

 

ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงการนั่งท่าไขว่ห้าง หรือพยายามนั่งไขว่ห้างแบบสลับขาบ่อย ๆ และลุกออกไปเดินสูดอากาศข้างนอกบ้าง เพื่อให้เลือดไหลเวียนเป็นปกติ 

 

 

นั่งเก้าอี้ย่างไร ? ให้ดูดี ดูสมาร์ท

 

 

การนั่งเก้าอี้ ควรนั่งให้ตัวตรง หลังพิงพนักเก้าอี้ เท้าวางชิดกัน เข่าแนบชิดกัน มือทั้งสองวางบนหน้าขา ถ้าเป็น เก้าอี้ท้าวแขน เมื่อนั่งตามลำพัง จะเอาแขนพาดบนท้าวแขนก็ได้ ไม่ควรนั่งเอาปลายเท้าหรือขาไขว้กันอย่างนั่งไขว่ห้าง ควรนั่งเต็มเก้าอี้ อย่านั่งโดยโยกเก้าอี้ให้ยกหน้าหรือเอนหลัง

 

 

อย่างไรก็ตาม สิ่งเล็ก ๆ เหล่านี้ไม่ควรมองข้าม ทั้งท่านั่งที่ต้องไม่ส่งผลต่อร่างกาย และควรถูกกาลเทศะเมื่อต้องอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคมด้วย

 

 

มาปรับท่านั่งกันเถอะจะได้ไม่เสี่ยงโรค

 

 

ข้อมูล : mgronline, thestandard, polyboon 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง