รีเซต

จีนเตือนภัย เฝ้าระวังกาฬโรค สั่งห้ามทานเนื้อสัตว์ประเภทหนู

จีนเตือนภัย เฝ้าระวังกาฬโรค สั่งห้ามทานเนื้อสัตว์ประเภทหนู
TrueID
7 กรกฎาคม 2563 ( 14:48 )
399
จีนเตือนภัย เฝ้าระวังกาฬโรค สั่งห้ามทานเนื้อสัตว์ประเภทหนู

 

มองโกเลียในทางภาคเหนือสุดของจีนพบผู้ป่วยกาฬโรคต่อมน้ำเหลืองเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล โดยคณะกรรมการด้านสุขภาพของเมืองบายันนูร์ประกาศการแจ้งเตือนระดับที่สามจากทั้งหมดสี่ระดับเพื่อรับมือกับโอกาสที่จะมีการระบาด การระบาดใหญ่ที่อาจเกิดขึ้น ของกาฬโรคต่อมน้ำเหลือง ซึ่งเป็นกาฬโรคที่พบในพื้นที่บ่อยที่สุด และยังประกาศสั่งห้าม การล่าและรับประทาน เนื้อสัตว์ประเภทหนู ที่เป็นพาหะนำโรค และขอให้ประชาชนรีบแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นทันที หากพบผู้ป่วยกาฬโรค หรือมีอาการไข้โดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด

 

กาฬโรค เป็นโรคระบาดร้ายแรงที่เกิดจากแบคทีเรีย Yersinia pestis และทั้งสัตว์และคนสามารถติดเชื้อนี้ได้ โดยอาจเกิดอาการได้หลายลักษณะ เช่น ต่อมน้ำ เหลืองโต ความผิดปกติในระบบหายใจ และถึงตายได้ ซึ่งกาฬโรคนี้เป็นเหตุให้หนึ่งในสามของประชากรในยุโรปเสียชีวิตในช่วงยุคมืด เชื้อกาฬโรคเป็นเชื้อโรคชนิดหนึ่งที่มีการนำ ไปใช้เป็นอาวุธชีวภาพในการก่อการร้ายได้อีกด้วย เชื้อกาฬโรคเป็นเชื้อที่พบตามธรรมชาติในสัตว์ฟันแทะในป่า เช่น กระรอก กระจง หนู แมวสามารถติดเชื้อได้ง่าย สัตว์ชนิดอื่นที่สามารถติดเชื้อได้ ได้แก่ กระต่าย สัตว์ป่าที่กินเนื้อ แพะ แกะ และอูฐ เป็นต้น

 

คนสามารถติดเชื้อได้ 3 วิธี

  1. ติดจากการถูกหมัดกัดซึ่งพบได้มากที่สุด
  2. ติดจากการสัมผัสโดยตรงกับสัตว์ที่ติดเชื้อ
  3. ติดจากการหายใจเอาเชื้อเข้าสู่ร่างกาย 

 

อาการของกาฬโรคมีสามรูปแบบ คือ

  1. กาฬโรคต่อมน้ำเหลือง (bubonic) ซึ่งพบได้บ่อยที่สุด เกิดหลังจากถูกหมัดกัด อาการได้แก่ มีไข้ หนาวสั่น ต่อมน้ำ เหลืองบวมอักเสบและปวดมาก
  2. กาฬโรคชนิดโลหิตเป็นพิษ (septicemic) อาจเกิดหลังจากกาฬโรคต่อมน้ำเหลือง
  3. กาฬโรคปอด (pneumonic) เป็นชนิดที่พบได้น้อยกว่าแต่ เป็นชนิดที่อันตรายที่สุด เกิดจากการติดเชื้อที่ปอดหลังจากได้รับเชื้อทางการหายใจหรือจากการติดเชื้อในกระแสเลือด ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้โดยการไอ อาการที่พบคือ มีไข้ หนาวสั่น ปวดหัว และไอเป็นเลือด ผู้ป่วยต้อง ได้รับการรักษาภายใน 24 ชั่วโมง มิฉะนั้นอาจเสียชีวิตได้

 

โดยการป้องกันตัวไม่ให้ถูกสัตว์ป่าหรือสัตว์เลี้ยงกัด และควรใส่เสื้อผ้าที่ปกปิดมิดชิดไม่ให้หมัดสามารถเข้าถึงร่างกายได้ ใส่ถุงมือเมื่อต้องจับตัวสัตว์หรือสัตว์ที่มีแผลแฉะ ไม่สัมผัสตัวสัตว์ป่า หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีสัตว์ฟันแทะตายเป็นจำนวนมาก รวมถึงระวังการรับประทานอาหารอีกด้วย

 

ข้อมูล : newtv, BBC, EIDAs

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง