ศบค.แจง 5 กลยุทธ์ 4 เป้าหมาย เปิดประเทศปลอดภัย พร้อมเปิดจังหวัดนำร่องท่องเที่ยว-เศรษฐกิจ ระยะ 1-2
เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม ที่ทำเนียบรัฐบาล พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) กล่าวในการแถลงผลการประชุม ศบค.ชุดเล็ก ว่า ผู้ป่วยรายใหม่ 10,486 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสม 1,733,327 ราย ในจำนวนนี้หายป่วยกลับบ้าน 10,711 ราย เสียชีวิต 94 ราย รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 107,706 ราย ใช้เครื่องช่วยหายใจ 684 ราย อย่างไรก็ตาม ตัวเลขผู้ติดเชื้อที่รายงาน ตรวจด้วย RT-PCR (Polymerase chain reaction) ส่วน ATK ไม่ได้นำมารวม ซึ่งในรายงานวันที่ 15 ตุลาคม จะบวกอีก 2,192 ราย จากที่ตรวจ ATK ทั้งหมด 31,781 ราย ถ้ารวมกับยอดผู้ติดเชื้อ 10,486 ราย จะกลายเป็น 12,678 ราย โดยทางกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จะพิจารณาการรายงานผู้ติดเชื้อทั้ง 2 ส่วนเข้าระบบควบคู่กันทุกวัน ทั้งนี้ ถ้านับรวมการตรวจ ATK ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม – 15 ตุลาคม มีประชาชนตรวจแล้ว 2,484,903 ราย ไม่รวมในเรือนจำ มีผู้ติดเชื้อ 6-7%
พญ.อภิสมัยกล่าวต่อว่า ภาพรวมหลายจังหวัด มีตัวเลขผู้ติดเชื้อลดลง แต่พื้นที่ที่เน้นย้ำอย่างชายแดนใต้ ยังมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 25% สวนทางกับกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง อยู่ที่ 17% ส่วนการรายงานผู้เสียชีวิต เห็นได้ชัดว่ามาจากทางจังหวัดภาคใต้ถึง 36 ราย แบ่งเป็น นครศรีธรรมราช 8 ราย นราธิวาส 7 ราย ปัตตานี 7 ราย สงขลา 4 ราย ยะลา 3 ราย สตูล 2 ราย กระบี่ ชุมพร ระนอง จังหวัดละ 1 ราย คงต้องเน้นกลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีน เพราะผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ มีโรคประจำตัว สำหรับ 10 จังหวัดที่ติดเชื้อสูงสุด จะเห็นว่าภาคใต้ นอกจากจะขึ้นมาอยู่อันดับบน ตัวเลขผู้ติดเชื้อยังสูงขึ้น ดังนี้ กรุงเทพฯ 1,054 ราย ยะลา 767 ราย ปัตตานี 644 ราย สงขลา 605 ราย นราธิวาส 494 ราย นครศรีธรรมราชช 488 ราย ชลบุรี 434 ราย สมุทรปราการ 379 ราย ราชบุรี 299 ราย และเชียงใหม่ 233 ราย
“จากการสอบสวนโรค พบว่าการแพร่ระบาดในภาคใต้ ติดเชื้อจากคลัสเตอร์เล็กๆ เริ่มแพร่ระบาดไปยังครอบครัว และชุมชน เป็นรูปแบบเดียวกับกรุงเทพฯ และปริมณฑล ต้องเน้นย้ำไปยังจังหวัดภาคใต้ ขอให้ติดตามเฝ้าระวังการสอบสวนโรค สำหรับอันดับ 10 จ.เชียงใหม่ เป็นเรื่องที่ ศบค.ชุดเล็ก ห่วงใย เพราะการติดเชื้อมีทั้งตลาด โรงงาน สถานศึกษา และบ้านพักเด็ก ส่วนคลัสเตอร์อื่นๆ อย่าง จ.ชลบุรี เป็นแคมป์ก่อสร้าง จ.อุบลราชธานี ระบาดในโรงพยาบาล ระบุว่าเป็นการเจ็บป่วยปอดอักเสบโดยไม่ทราบสาเหตุ หมายความว่าคนไข้เองก็ไม่ทราบว่าติดมาจากไหน อาจสอบสวนไทม์ไลน์ได้ลำบาก ดังนั้น โรงพยาบาลคงต้องเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด” พญ.อภิสมัย กล่าว
พญ.อภิสมัยกล่าวต่อว่า สรุปรายงานการปรับพื้นที่มาตรการ ในแง่การปรับระดับสี พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด หรือสีแดงเข้ม จาก 29 จังหวัด เหลือ 23 จังหวัด มีผลวันที่ 16 ตุลาคม 2 จังหวัดใหม่ที่เพิ่มขึ้น คือ จ.จันทบุรี และ จ.นครศรีธรรมราช ส่วนจังหวัดที่เคยเป็นสีแดงเข้มแล้วปรับลดเป็นสีแดง คือ นครราชสีมา ประจวบคีรีขันธ์ ลพบุรี เพชบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี และเพชรบูรณ์ ซึ่งยังต้องคงมาตรการอย่างเข้มงวด และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจปรับพื้นที่ให้เข้มกว่าที่ ศบค.ประกาศได้บางจังหวัด โดยปรับอำเภอที่มีการระบาดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดได้ ทั้งนี้ ผู้ว่าฯ และ ศบค.จังหวัด ปรับระดับควบคุมให้เข้มกว่าที่ ศบค.ประกาศได้ แต่ปรับลดจากที่ ศบค.ประกาศไม่ได้ โดยขอให้ร่วมกันพิจารณา และส่งเรื่องมาที่ศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศปก.ศบค.) เพื่อเสนอให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี อนุมัติ ต่อไป
พญ.อภิสมัยกล่าวอีกว่า ส่วนมาตรการต่างๆ ปรับดังนี้ พื้นที่สีแดงเข้ม เคอร์ฟิว จากเดิม 22.00-04.00 น.ปรับเป็น 23.00-03.00 น.ให้ผู้ประกอบการดำเนินการกิจการได้ยาวขึ้น ประชาชนดำเนินชีวิตได้ใกล้เคียงปกติ ร้านสะดวกซื้อจากเปิดได้ถึง 21.00 น.เป็น 22.00 น.เช่นเดียวกัน ร้านอาหาร และโรงภาพยนตร์ เปิดได้ถึง 22.00 น.ส่วนการจัดกิจกรรมรวมกลุ่ม พื้นที่สีแดงเข้ม จากไม่เกิน 25 คน เป็น 50 คน พื้นที่สีแดง จากไม่เกิน 50 คน เป็น 100 คน พื้นที่สีส้ม จากเดิม 100 คน เป็น 200 คน
“ขอเน้นย้ำว่ายังจำเป็นต้องกำหนดมาตรการการทำกิจกรรมรวมกลุ่มให้เข้มข้น หากพื้นที่ใดไม่ปฏิบัติตามาตรการของ สธ.อาจจะเกิดการติดเชื้อ และสุดท้าย กิจการ หรือกิจกรรมนั้น จะต้องถูกปิดต่อ ส่วนพื้นที่ประชุมสัมมนา และการจัดกิจกรรมตามประเพณีนิยม อนุญาตให้สามารถจัดได้ แต่จำกัดไม่เกิน 500 คน มีการเว้นระยะห่าง 1 เมตร จัดเลี้ยงอาหารแบบชุด ไม่จัดแบบบุฟเฟ่ต์ และต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ระยะเวลาในการจัดไม่เกิน 2 ชั่วโมง และขึ้นอยู่กับ ศบค.จังหวัด รวมถึง ไม่อนุญาตให้มีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วย” พญ.อภิสมัย กล่าว
พญ.อภิสมัยกล่าวว่า ที่ประชุม ศบค.ชุดเล็ก ได้หารือเรื่องการยกเลิกการกำหนดประเทศ/ดินแดน รวมทั้ง ประกาศประเทศที่มีเชื้อกลายพันธุ์สำหรับการเข้าราชอาณาจักร เนื่องจากสถานการณ์ทั่วโลกดีขึ้น เกณฑ์ที่ใช้ไม่เหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งนี้ ยังต้องกำหนดมาตรการส่วนบุคคล กำหนดการเข้าราชอาณาจักร ได้แก่ การได้รับวัคซีน การตรวจ RT-PCR หรือการกักกัน เป็นต้น อีกทั้ง เฝ้าระวังสถานการณ์ เฝ้าระวังเชื้อกลายพันธุ์ในผู้ที่เดินทางเข้าราชอาณาจักรและติดเชื้ออย่างต่อเนื่อง และกำหนดประเทศใหม่ได้เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับการเปิดประเทศ
พญ.อภิสมัยกล่าวต่อว่า ส่วนแผนการรองรับการเปิดประเทศ และการระบาดโควิด-19 ปี 2565 ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์ และ 4 เป้าหมาย ดังนี้ 1.การเปิดประเทศอย่างปลอดภัย 2.การเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคในกลุ่มเสี่ยง/ สถานที่เสี่ยง/กลุ่มเปราะบาง 3.การเตรียมความพร้อมด้านการแพทย์ และสาธารณสุข 4.การพัฒนาระบบข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารความเสี่ยง และ 5.การสร้างกลไกการบริหารจัดการแบบบรูณาการ
พญ.อภิสมัยกล่าวอีกว่า ส่วนเป้าหมายคือ 1.สร้างความเชื่อมั่น ประชาชนมีความเชื่อมั่นในการใช้ชีวิตวิถีใหม่ หรือดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ภายใต้มาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตามหลักการแพทย์ และสาธารณสุข 2.สร้างความมั่นคงด้านสุขภาพ ประชาชนไทยมีภูมิคุ้มกันหมู่ และปลอดภัยจากการเสียชีวิต เนื่องจากโรคโควิด-19 รวมถึง การรักษาระดับความมั่นคงด้านสาธารสุขได้อย่างต่อเนื่อง 3.ฟื้นฟูเศรษฐกิจ คือเศรษฐกิจของประเทศกลับมาฟื้นตัว โดยมีอัตราเติบโตของ GDP เป็นไปตามแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล และ 4.เสริมสร้างสังคม และวัฒนธรรม โดยประชาชนกลับมาดำเนินกิจกรรมตามเดิมได้ โดยยังคงปฏิบัติตามมาการป้องกัน และควบคุมโรค DMHTTA ต่อไป
พญ.อภิสมัยกล่าวว่า รายละเอียดแผนการรองรับการเปิดประเทศ และการระบาดโควิด-19 ปี 2565 ได้แก่ กลยุทธ์ที่ 1 การเปิดประเทศอย่างปลอดภัย มีมาตรการดังนี้ 1.การปรับมาตรการสำหรับผู้เข้าราชอาณาจักรเพื่อเตรียมแผนเปิดประเทศ จัดทำแผนการเปิดประเทศโดยปรับมาตรการตามระยะเวลาที่กำหนด ปรับมาตรการในการเข้าราชอาณาจักร เช่น ลดวันกักกัน ปรับตรวจหาเชื้อ ปรับลดค่าประกันรักษาโควิด-19 และปรับมาตรการที่เกี่ยวข้อง โดยดูการเปิดประเทศได้ ดูว่าประชาชนในประเทศได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม และใช้มาตรการ COVID-Free Settings 2.การเฝ้าระวังการลักลอบ/ หลบหนี เข้าออกประเทศ และ 3.การจัดระบบการรับแรงงานต่างด้าวกลับเข้าประเทศ และลดการจ้างแรงงานผิดกฎหมายที่ลักลอบเข้าเมือง เพราะการเปิดประเทศอย่างปลอดภัย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องดูแลเรื่องนี้ควบคู่กันไปด้วย
“กลยุทธ์ที่ 2 การเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรค โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง/ สถานที่เสี่ยง/กลุ่มเปราะบาง มีมาตรการดังนี้ 1.การปรับระบบเฝ้าระวังในกลุ่มผู้ป่วย และกลุ่มเสี่ยง 11 กลุ่ม ให้สอดคล้องกัยสถานการณ์ 2.การค้นหาเชิงรุก โดยทีมบูรณาการเคลื่อนที่ในชุมชน (CCRT) 3.การดำเนินการป้องกันโรคในรูปแบบ Bubble and Seal สำหรับสถานประกอบกิจการ แคมป์ก่อสร้างอย่างต่อเนื่อง 4.การจัดระบบป้องกันควบคุมโรคสำหรับเดินทาง และใช้ชีวิตอย่างปลอดภัย (Smart Control and Living with COVID) ตามมาตรการ COVID-Free Settings ในสถานที่ต่างๆ รวมการใช้ ATK ดังนี้ ตลาด ชุมชนแออัด หอพักแออัด สถานที่พักในรูปแบบต่างๆ สถานที่ชุมชน ที่สาธารณะ โดยเฉพาะที่มีการรวมกลุ่ม และแออัด สถานที่ทำงาน สำนักงาน และระบบขนส่งสาธารณะ 5.การปรับมาตรการด้านสังคม ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เช่น การจำกัดกิจกรรม การปิดสถานที่ เป็นต้น และ 6.การจัดระบบการขึ้นทะเบียนแรงงานและจ้างงานให้ถูกกฎหมาย ในส่วนของประกอบการที่จำเป็นต้องตรวจ ATK ให้กับพนักงาน สามารถนำค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไปลดหย่อนภาษีได้ และขอความร่วมมือลูกค้า ผู้ใช้บริการแสดงหลักฐานการฉีดวัคซีนก่อนมาใช้บริการด้วย” พญ.อภิสมัย กล่าว
พญ.อภิสมัยกล่าวต่อว่า กลยุทธ์ที่ 3 การเตรียมความพร้อมด้านการแพทย์และสาธารณสุข มีมาตรการดังนี้ 1.เพิ่มความครอบคลุมการได้รับวัคซีนของประชากร และจัดหาให้เพียงพอ 2.ปรับแนวทาง และเตรียมความพร้อมของทีมสอบสวนควบคุมโรคทุกระดับ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ 3.ปรับ และเตรียมรูปแบบการรักษาพยาบาลที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ดังนี้ การปรับปรุง และจัดระบบ Home and Commuity based care isolation และ Hospitel ให้ได้คุณภาพ และมาตรฐาน การจัดระบบบริการ สำหรับ Acute Covid Care และ Long Covid Care การต่อยอดการใช้แพทย์แผนไทยในการรักษาโควิด และการจัดบริการดูแลด้านสุขภาพจิต 4.เตรียมพร้อมทรัพยากรในการรองรับการดูแลรักษา 5.ปรับระบบกักกันโรค เป็นการคุมไว้สังเกตทุกประเภท 6.การเตรียมการตรวจทางห้องปฏิบัติการ 7.การส่งเสริมมาตรการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อในสถานพยาบาล และ 8.การฟื้นฟูการจัดบริการโรคอื่นๆ
“กลยุทธ์ที่ 4 การพัฒนาระบบข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารความเสี่ยง มีมาตรการดังนี้ 1.บูรณาการแอพพลิเคชั่นในการดำเนินงานและกำกับติดตาม เพื่อควบคุมโรคให้เป็นเพียงแอพพลิเคชั่นเดียว ไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนกัน 2.จัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศโควิด-19 แบบบูรณาการ มีความเชื่อมโยง ทันเวลา เพื่อนำไปวางแผนและสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ 3.ปรับระบบการสื่อสารความเสี่ยง เพื่อสร้างความเข้าใจ ความเชื่อมั่น และเกิดการรอบรู้ ทั้งใน และระดับบุคคล ชุมชน และสังคม” พญ.อภิสมัย กล่าว
พญ.อภิสมัยกล่าวต่อว่า และกลยุทธ์ที่ 5 กลไลการบริหารจัดการแบบบูรณาการ มีมาตรการดังนี้ 1.สร้างความเข้มแข็ง และการมีส่วนร่วมในการจัดการระดับประเทศ และกระทรวงที่เกี่ยวข้อง โดยกำหนดบทบาทหน้าที่ของแต่ละกระทรวงให้ชัดเจน ทุกหน่วยงานมีโครงสร้างการดำเนินงาน และแผนการบริหารจัดการรองรับการระบาด และสร้างกลไกการดำเนินงานโดยบูรณาการทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ และเอกชน รวมทั้ง จัดทำกลไกกำกับติดตาม 2.การสร้างความเข้มแข็ง และการมีส่วนร่วมในการจัดระบบระดับจังหวัด/ กรุงเทพฯ/ อำเภอ โดยทุกระดับมีโครงสร้างการดำเนินงาน และแผนการบริหารจัดการรองรับการระบาด สร้างกลไลการดำเนินงานโดยบูรณาการทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ และเอกชน รวมทั้ง จัดทำกลไกกำกับติดตาม 3.การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการจัดการตนเอง เพื่อรองรับมาตรการป้องกันควบคุมโรค รวมถึง การรักษาพยาบาลในชุมชน และ 4.การสร้างความเข้มแข็งระดับบุคคล (Smart Citizen) ทั้งการทำ Universal Prevention การเฝ้าระวังอาการ การตรวจ ATK ด้วยตนเอง การเข้าใจ และเข้าถึงวัคซีน
พญ.อภิสมัยกล่าวอีกว่า จังหวัดที่กำหนดเป็นพื้นที่นำร่องการท่องเที่ยว ในแต่ละระยะ (พื้นที่สีฟ้า) มีรายละเอียดดังนี้ ระยะนำร่อง วันที่ 1-31 ตุลาคม เกณฑ์กำหนดพื้นที่นำร่องด้านเศรษฐกิจ เป็นเมืองหลัก หรือจังหวัดที่มีสัดส่วนรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งหมด มี 4 จังหวัด โดยให้ดำเนินการในพื้นที่นำร่องเดิม ที่ดำเนินการตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม คือ ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี (เกาะสมุย เกาะพงัน และเกาะเต่า) พังงา (เขาหลัก เกาะยาว) และกระบี่ (เกาะพีพี เกาะไหง และไรเลย์ ) ระยะที่ 1 วันที่ 1-30 พฤศจิกายน
“เกณฑ์กำหนดพื้นที่นำร่องด้านเศรษฐกิจ คือเป็นเมืองหลัก หรือจังหวัดที่มีสัดส่วนรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ของรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งหมด มี 15 จังหวัด ดังนี้ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ (สนามบินสุวรรณภูมิ) กระบี่ พังงา ประจวบคีรีขันธ์ (ต.หัวหิน หนองแก) เพชรบุรี (เทศบาลเมืองชะอำ) ชลบุรี (พัทยา อำเภอบางละมุง ต.จอมเทียน ตำบลบางเสร่ เกาะสีชัง อ.ศรีราชา) ระนอง (เกาะพยาม) เชีองใหม่ (อ.เมือง แม่เตง ดอยเต่า) เลย (เชียงคาน) บุรีรัมย์ (เมือง) หนองคาย (เมือง ศรีเชียงใหม่ ท่าบ่อ สังคม) อุดรธานี (เมือง นายูง หนองหาน ประจักษ์ศิลปาคม กุมภวาปี บ้างตุง) ระยอง (เกาะเสม็ด) และตราด (เกาะช้าง) ซึ่งจังหวัดนำร่องในการเปิดประเทศ ประชากรในจังหวัดนั้นเกิน 70% ต้องได้รับวัคซีนด้วย” พญ.อภิสมัย กล่าว
พญ.อภิสมัยกล่าวว่า ระยะที่ 2 วันที่ 1-31 ธันวาคม เกณฑ์กำหนดพื้นที่นำร่องด้านเศรษฐกิจ 1.เป็นเมืองหลัก หรือจังหวัดที่มีสัดส่วนรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ของรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งหมด 2.มีสินค้าการท่องเที่ยวด้านศิลปวัฒนธรรม และ 3.เป็นจังหวัดที่มีพรมแดนติดต่อกบัประเทศเพื่อนบ้าน มี 16 จังหวัด ดังนี้ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน แพร่ สุโขทัย เพชรบูรณ์ ปทุมธานี อยุธยา ขอนแก่น นครราชสีมา นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง สงขาล ยะลา และนราธิวาส ระยะที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 เกณฑ์กำหนดพื้นที่นำร่องด้านเศรษฐกิจ คือเป็นจังหวัดที่มีพรมแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน มี 12 จังหวัด ดังนี้ สุรินทร์ สระแก้ว จันทบุรี ตาก นครพนม มุกดาหาร บึงกาฬ อุบลราชธานี น่าน กาญจนบุรี ราชบุรี และสตูล
“ที่ประชุม ศบค.ชุดเล็กหารือถึงแผนการรองรับการเปิดประเทศ โดยการใช้ Thailand Pass ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่กระทวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอให้ที่ประชุม จากเดิมที่คนต่างชาติต้องใช้ Certificate of Entry (COE) แต่ขณะนี้ กต.และ สธ.กำลังพิจารณาร่วมกันให้ใช้ Thailand Pass เพื่อให้ชาวต่างชาติเดินทางได้ โดย Thailand Pass จะดูรายละเอียด ดังนั้น เอกสาร/ ข้อมูลที่ใช้ประกอบการยื่นคำร้อง คือ 1.ข้อมูลส่วนบุคคลตามแบบฟอร์ม ต.8 และ ตม.6 และสำเนาหนังสือเดินทาง 2.เอกสารรับรองการได้รับวัคซีน ส่วนขั้นตอนการลงทะเบียนสำหรับผู้เดินทาง ให้กรองข้อมูลผ่านเว็บไซต์เพียง 1 ครั้ง และระยะเวลาอนุมัติ จะใช้เวลา 1-3 วันหลักจากการลงทะเบียบ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาเอกสารรับรองการฉีดวัคซีนของกรมควบคุมโรค ทั้งนี้ ขอให้ติดตามการรายงายของ สธ.เพราะรายละเอียดอาจเปลี่ยนแปลง คาดว่าสัปดาห์หน้าจะแถลงรายละเอียดอีกครั้ง” พญ.อภิสมัย กล่าว
พญ.อภิสมัยกล่าวอีกว่า ทั้งนี้ ที่ประชุมเป็นห่วงเรื่องการจัดเลี้ยง การวมกลุ่ม การทำกิจกิจกรรมตามประเพณี โดยเฉพาะการทอดกฐิน และเทศกาลลอยกระทง จึงขอให้ประชาชนระมัดระวังตัว และขอให้จัดงานโดยเข้มงวดเรื่องมามาตรการทางสาธารณสุขด้วย