รีเซต

ซินโครตรอน ทำห้องความดันลบห้องผ่าตัด-ห้องคลอด ลดความเสี่ยง บุคคลากรแพทย์ ติดโควิด

ซินโครตรอน ทำห้องความดันลบห้องผ่าตัด-ห้องคลอด ลดความเสี่ยง บุคคลากรแพทย์ ติดโควิด
มติชน
7 เมษายน 2565 ( 11:02 )
77

สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ส่งมอบห้องแยกโรคความดันลบสำหรับใช้งานในห้องผ่าตัดและห้องคลอด เพื่อช่วยลดความเสี่ยงแก่บุคลากรทางการแพทย์ สั่งจ้างผลิตพิเศษจากโรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา โดยขึงตึงแผ่นพีวีซีนิ่มสีใส (PVC Sheet) และแผ่นอะคริลิค (ACRYLIC) บนโครงอะลูมิเนียม แทนการเย็บตามแบบมาตรฐานเดิม

 

รศ.ดร.สาโรช รุจิรวรรธน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน พร้อมด้วยทีมวิศวกร ช่างเทคนิค และตัวแทนส่วนพัฒนาธุรกิจ ส่งมอบและติดตั้งห้องแยกโรคความดันลบสำหรับใช้งานในห้องผ่าตัดและห้องคลอดจำนวน 2 ห้อง แก่โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา ซึ่งสั่งจ้างผลิตพิเศษเพื่อลดความเสี่ยงของบุคคลกรทางการแพทย์ที่อยู่ด่านหน้าในการรับมือโควิด-19 โดยเน้นออกแบบและผลิตให้มีจำเพาะสำหรับพื้นที่ห้องผ่าตัดและห้องทำคลอดของโรงพยาบาล และวิศวกรของสถาบันฯ ได้ลงพื้นที่ประเมินหน้างาน พร้อมสอบถามความต้องการของบุคลากรทางการแพทย์ก่อนการออกแบบ

 

ห้องแยกโรคความดันลบสำหรับห้องผ่าตัดและห้องคลอดที่สั่งจ้างโดยโรงพยาบาลเทพรัตน์ฯ นี้ มีโครงสร้างที่ต่างไปจากแบบมาตรฐานเดิม โดยขึงตึงแผ่นพีวีซีนิ่มสีใส บนโครงอะลูมิเนียมแทนการเย็บตามแบบมาตรฐานเดิมเพื่อเพิ่มความแข็งแรง จึงทำห้องส่วนผู้ป่วยสำหรับทำหัตถการได้ใหญ่กว่า 4 x 4.2 x 2.2 เมตร และปรับเปลี่ยนบานประตูจากซิปเปิด-ปิด เป็นบานประตูสไลด์ ซึ่งในขั้นตอนการติดตั้งนั้นต้องอาศัยวิศวกรผู้ออกแบบหรือผู้เชี่ยวชาญพิเศษในการติดตั้ง โดยใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน

 

 

ก่อนหน้านี้สถาบันฯ และหน่วยงานเอกชนได้ร่วมผลิตและบริจาคห้องแยกโรคความดันลบแบบมาตรฐานซึ่งใช้ แผ่นพีวีซีนิ่มสีใส ครอบโครงท่อสแตนเลสกล่อง ให้แก่โรงพยาบาลเทพตรัตน์ฯ จำนวนหนึ่งแล้ว แต่ยังไม่เพียงพอต่อการรองรับจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจึงมีการสั่งจ้างผลิตเพิ่มเติม สำหรับห้องแยกโรคความดันลบแบบมาตรฐานนั้นติดตั้งง่าย เคลื่อนย้ายสะดวก การติดตั้งไม่ซับซ้อนโดยใช้เวลาติดตั้งเพียง 2-3 ชั่วโมง และสามารถติดตั้งได้โดยช่างท้องถิ่น

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง