รีเซต

ส่องอาชีพสุดปังปุริเย่ โควิดดิสรัปชัน ฉุดไม่อยู่!

ส่องอาชีพสุดปังปุริเย่ โควิดดิสรัปชัน ฉุดไม่อยู่!
มติชน
20 ตุลาคม 2563 ( 11:47 )
129

สภาองค์การนายจ้าง ส่งสัญญาณ 10 วิถีใหม่หลังโควิด หลายอาชีพหายวับปรับสู่ดิจิทัล ‘หมอนวด-วินมอไซค์’ ยังบูม

นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้าง ผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย (อีคอนไทย) เปิดเผยถึงแนวโน้มการจ้างงาน ว่า ยังอยู่ในภาวะชะลอตัวตามทิศทางเศรษฐกิจจนถึงไตรมาสแรกของปี 2564 เนื่องจากภาคการผลิตมีอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยเพียง 60.8% แม้จะปรับตัวดีขึ้นแต่ยังเป็นอัตรากำลังการผลิตที่มีสัดส่วนเหลืออยู่ จึงยังไม่ส่งผลให้เกิดการจ้างงานใหม่ ทั้งนี้ผลกระทบโควิด-19 จะทำให้ลูกจ้างจะต้องปรับตัวรับกับวิถีใหม่ที่จะเกิดขึ้น

“แม้ว่ารัฐบาลจะมีมาตรการต่างๆ เพื่อดูดซับแรงงานที่ตกงาน อาทิ การจัดงานจ็อบเอ็กโป โครงการจ้างงานเด็กจบใหม่ ช่วยไม่ให้คนตกงาน แต่ยังไม่ทำให้เกิดการจ้างงานใหม่มากนัก” นายธนิตกล่าว

นายธนิต กล่าวว่า จากการศึกษาพบว่าวิถีใหม่ของลูกจ้างที่จะต้องเปลี่ยนไปมี 10 ด้านได้แก่ 1.อุปสงค์ของตลาดแรงงานยังไม่ฟื้นตัว ทําให้แรงงานใหม่และผู้ที่ตกงานจะหางานได้ลําบากรวมถึง ผู้ทีมีงานทําอยู่แล้วล้วนมีความเสี่ยง 2.หลังโควิด-19 หลายอาชีพจะเปลี่ยนไปหรือหายไป วิกฤตเศรษฐกิจจะมาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานทั้งเชิงปริมาณ ทักษะ คุณสมบัติรวมถึงแรงงานสูงวัย 3.แรงงานต้องปรับตัวเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล เนื่องจากนายจ้างส่วนใหญ่จะมีการเร่งปรับตัวในการนําเทคโนโลยีก้าวหน้าเข้ามาใช้เพิ่มประสิทธิภาพ-ลดต้นทุนเพิมผลผลิต-เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ประกอบกับการลงทุนใหม่ส่วนใหญ่จะเป็นรูปแบบของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลผลข้างเคียงคือการใช้แรงงานจะน้อยลง

4.ความท้าทายของแรงงานภายใต้ทักษะใหม่ เนื่องจากประสบการณ์ความรู้และทักษะทีมีอยู่เดิมความต้องการจะลดน้อยหรือไม่ต้องการเลย ออโตเมชันและหุ่นยนต์อุตสาหกรรมในกระบวนการผลิตไม่ต้องการคนจำนวนมาก และไม่ต้องการทักษะเดิม อุตสาหกรรมยานยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายในจะเปลี่ยนไปสู่รถยนต์ไฟฟ้า ทักษะเดิมตั้งแต่ต้นนําไปจนถึงปลายน้ำจะกลายเป็นทักษะที่ไม่มีประโยชน์ 5.ทุกอาชีพที่เกี่ยวข้องกับอนาล็อกกําลังถูกคุกคาม ภาคบริการ กําลังถูกคุกคาจากดิจิทัล แพลตฟอร์ม ภาคการผลิตทักษะที่ใช้มือทําจะถูกลดบทบาทโดยเทคโนโลยีจะเข้ามาแทน

6.งานที่ไม่ต้องเข้าสํานักงานกําลังอยู่ในกระแส ลดต้นทุนทังนายจ้างและลูกจ้าง 7.อาชีพใหม่ของอนาคต มาพร้อมกับเทคโนโลยีดิจิทัลจะเป็นของคนรุ่นใหม่มีจํานวนไม่มาก งานใช้เครื่องมือพิเศษหรือเทคโนโลยีขั้นสูงจะมีอัตราเร่งตัว แรงงานในภาคเอกชน 22 ล้านคนต้องเข้าถึงงานใหม่แห่งอนาคต 8.งานประเภทฟรีแลนซ์-พาร์ทไทม์ จะเป็นอาชีพใหม่ที่คนรุ่นใหม่เลือกทําเพราะเป็นงานอิสระ จําเป็นที่จะต้องมีอัตราค่าจ้างรายชั่วโมง

9.อาชีพดั้งเดิมยังคงอยู่ เป็นอาชีพที่ใช้ทักษะร่างกายเป็นองค์ประกอบสําคัญของการทํางาน อาทิ อุตสาหกรรมการผลิตบางประเภทที่ไม่สามารถใช้เทคโนโลยีทดแทนคน งานที่เกี่ยวกับคนขับรถ หมอนวด ลูกจ้างในบ้าน งานเสริมความงาม งานที่เกี่ยวกับศิลปะ วินมอเตอร์ไซด์รับจ้าง งานแบกหาม งานก่อสร้าง งานที่ทํางานในภาคเกษตร ประมง และ 10.ความไม่แน่นอนของการลงทุนใหม่และการย้ายฐานการผลิต ประเทศไทยอาจไม่ใช่แหล่งลงทุนในฝันเหมือนในอดีตเนื่องจากขีดความสามารถในการแข่งขันลดลง จากแรงงานหายาก ต้นทุนสูง สังคมสูงวัย ปัญหาการเมืองในประเทศ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง