รีเซต

รวม โรงพยาบาลทั่วประเทศ พร้อมตรวจภาวะหลอดเลือดอุดตัน หลังฉีดวัคซีนโควิด-19

รวม โรงพยาบาลทั่วประเทศ พร้อมตรวจภาวะหลอดเลือดอุดตัน หลังฉีดวัคซีนโควิด-19
TeaC
2 มิถุนายน 2564 ( 17:34 )
1.1K
รวม โรงพยาบาลทั่วประเทศ พร้อมตรวจภาวะหลอดเลือดอุดตัน หลังฉีดวัคซีนโควิด-19

 

ข่าววันนี้ จากที่มีข่าวการเกิดหลอดเลือด อุดตัน (ภาวะ VITT) หลังการได้รับวัคซีนโควิด-19 ในต่างประเทศเผยแพร่ตามสื่อต่าง ๆ ซึ่งหลายคนอาจเป็นไปได้ที่จะรู้สึกวิตกกังวลไม่กล้าฉีดวัคซีนนั้น จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ขอให้ข้อมูลในเรื่องนี้ว่า ภาวะ VITT หรือที่มีชื่อเต็ม ๆ ว่า Vaccine-induced immune thrombotic thrombocytopenia เป็นภาวะเกล็ดเลือดต่ำที่มีอาการหลอดเลือดอุดตันร่วมด้วย เกิดภายหลังได้รับวัคซีน โดยเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับวัคซีนโควิด-19 ชนิด Viral vector vaccine เช่น AstraZeneca และ Johnson & Johnson/Janssen แม้จะเป็นภาวะที่อาจเกิดอาการรุนแรง

 

แต่อุบัติการณ์การเกิดภาวะไม่พึงประสงค์จากวัคซีนดังกล่าวคาดการณ์ว่าน่าจะต่ำมาก คือ อยู่ระหว่าง 1:125,000–1:1,000,000 โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอายุต่ำกว่า 60 ปี และส่วนมากเป็นเพศหญิง ผู้ป่วยจะแสดงอาการหลังได้รับวัคซีนประมาณ 4-30 วัน  โดยจะมีอาการบ่งชี้ว่าอาจมีหลอดเลือดอุดตัน เช่น ปวดศีรษะรุนแรง ปวดท้องไม่ทราบสาเหตุหรือปวดหลังรุนแรง ขาบวม เหนื่อยหอบ แน่นหน้าอก เป็นต้น จะพบร่วมกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำ

 

รับวัคซีนโควิด มีอาการบ่งชี้ว่าอาจมีหลอดเลือดอุดตันทำตามนี้

 

ทั้งนี้ นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าว่า หากผู้ได้รับวัคซีนคนใดมีอาการบ่งชี้ว่าอาจมีหลอดเลือดอุดตัน หลังได้รับวัคซีนภายใน 30 วัน ควรทำตามนี้

 

  • ให้รีบปรึกษาแพทย์ทันที
  • หากแพทย์ตรวจพบว่ามีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ร่วมกับค่า  D-dimer ที่ผิดปกติในผู้ป่วยหลอดเลือดอุดตันจะพิจารณาให้การรักษาผู้ป่วยอย่างรวดเร็ว ซึ่งปัจจุบันมีห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาลของรัฐ และเอกชนอย่างน้อย 79 แห่ง ทั่วประเทศที่มีความพร้อมในการตรวจวินิจฉัย
  • แพทย์จะส่งตัวอย่างเลือดเพื่อยืนยันอีกครั้งด้วยวิธีที่เรียกว่า Anti PF4/heparin antibody และ Platelet activation assay ตามแนวทางของสมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย
  • ทั้งหมดนี้อยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ในระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ

 

ดังนั้น นายแพทย์ศุภกิจ จึงขอให้ประชาชนไม่ต้องกังวลและเชิญชวนให้ทุกคนไปรับการฉีดวัคซีนตามที่ได้นัดหมายไว้

 

 

เช็ก! ห้องปฏิบัติการไทย ทั่วประเทศ

 

สำหรับห้องปฎิบัติการของโรงพยาบาลรัฐ และเอกชนมีประมาณ 79 แห่ง ที่พร้อมตรวจภาวะหลอดเลือดอุดตัน หลังฉีดวัคซีนโควิด-19 ดังนี้

 

ภาคเหนือ

 

1. จังหวัดเชียงราย มีโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์, โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ศรีบุรินทร์ และโรงพยาบาลโอเวอร์บรุ๊ค

2. จังหวัดเชียงใหม่ มีโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่, โรงพยาบาลลานนา และ เชียงใหม่ราม สหคลินิก

3. จังหวัดลำปาง มีโรงพยาบาลเขลางค์นคร-ราม

4. จังหวัดลำพูน มีโรงพยาบาลลำพูน

5. จังหวัดอุตรดิตถ์ มีโรงพยาบาลอุตรดิตถ์

 

 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

 

6. จังหวัดเลย มีโรงพยาบาลเมืองเลยราม

7. จังหวัดหนองบัวลำภู มีโรงพยาบาลหนองบัวลำภู

8. จังหวัดอุดรธานี มีโรงพยาบาลกรุงเทพ-อุดร

9. จังหวัดสกลนคร มีโรงพยาบาลสกลนคร

10. จังหวัดนครพนม มีโรงพยาบาลนครพนม

11. จังหวัดชัยภูมิ มีโรงพยาบาลชัยภูมิ

12. จังหวัดขอนแก่น มีโรงพยาบาลข่อนแก่น, โรงพยาบาลศรีนครินทร์

13. จังหวัดกาฬสินธุ์ มีโรงพยาบาลกาฬสินธุ์

14. จังหวัดนครราชสีมา มีโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา และโรงพยาบาลปากช่องนานา

15. จังหวัดบุรีรัมย์ มีโรงพยาบาลบุรีรัมย์

16. จังหวัดสุรินทร์ มีโรงพยาบาลสุรินทร์

17. จังหวัดศรีสะเกษ มีโรงพยาบาลศรีสะเกษ

18. จังหวัดอุบลราชธานี มีโณงพยาบาลสรพพสิทธิประสงค์, โรงพยาบาลราชเวชอุบลราชธานี และโรงพยาบาลอุบลรักษ์ ธนบุรี

 

 

ภาคกลาง

19. จังหวัดพิษณุโลก มีโรงพยาบาลพุทธชินราช และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร

20. จังหวัดนครสวรรค์ มีโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ และโรงพยาบาลศรีสวรรค์

21. จังหวัดลพบุรี มีโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช

22. จังหวัดสุพรรณบุรี มีโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช

23. จังหวัดนครปฐม มีโรงพยาบาลนครปฐม

24. จังหวัดนนทบุรี มีโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า, โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล, โรงพยาบาลเกษมราษฏร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศน์ และโรงพยาบาลนนทเวช

25. จังหวัดปทุมธานี มีโรงพยาบาลปะกอก-รังสิต 2

26. จังหวัดนครนายก มีโรงพยาบาลนครนายก

27. จังหวัดสมุทรสาคร มีโรงพยาบาลสมุทรสาคร, โรงพยาบาลกระทุ่มแบน และโรงพยาบาลบ้านแพ้ว

 


ภาคตะวันออก

 

28. จังหวัดปราจีนบุรี มีโรงพยาบาลอภัยภูเบศร

29. จังหวัดสระแก้ว มีโรงพยาบาลสระแก้ว

30. จังหวัดชลบุรี มีโรงพยาบาลชลบุรี, โรงพยาบาลบางละมุง และโรงพยาบาลพนัสนิคม

31. จังหวัดระยอง มีโรงพยาบาลระยอง

32. จังหวัดจันทรบุรี มีโรงพยาบาลพระปกเกล้า

 

 

ภาคตะวันตก

 

33. จังหวัดราชบุรี มีโรงพยาบาลราชบุรี

34. จังหวัดเพชรบุรี มีโรงพยาบาลกรุงเทพเพชรบุรี

 

ภาคใต้

 

35. จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี และโรงพยาบาลกรุงเทพสุราษฎร์

36. จังหวัดนครศรีธรรมราช มีโรงพยาบาลมหานครศรีธรรมราช และโรงพยาบาลสิชล

37. จังหวัดภูเก็ต มีโรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต และโรงพยาบาลกรุงเทพสิริโรจน์

38. จังหวัดตรัง มีโรงพยาบาลตรัง

39. จังหวัดสงขลา มีโรงพยาบาลหาดใหญ่, โรงพยาบาลกรุงเทพหาดใหญ่ และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 

 

 

กรุงเทพมหานคร

 

สามารถส่งตรวจได้หลายแห่ง เช่น โรงพยาบาลราชวิถี, โรงพยาบาลศิริราช, โรงพยาบาลจุฬาภรณ์, โรงพยาบาลรามาธิบดี, โรงพยาบาลตำรวจ, โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า, สถาบันประสาทวิทยา, โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี, โรงพยาบาลเลิดสิน, โรงพยาบาลกรุงเทพ, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์, โรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์เนชั่นแนล หนองแขม, โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล ฯลฯ

 

 

ข้อมูล : กรมวิทย์ฯ

 

 

ข่าวเกี่ยวข้อง :

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง