รีเซต

สหรัฐฯ คิดวิธีสกัดยางจากพืชท้องถิ่น หวังลดการนำเข้ายางธรรมชาติจากต่างประเทศ

สหรัฐฯ คิดวิธีสกัดยางจากพืชท้องถิ่น หวังลดการนำเข้ายางธรรมชาติจากต่างประเทศ
TNN ช่อง16
29 มกราคม 2567 ( 10:20 )
37

นักวิทยาศาสตร์สหรัฐฯ กำลังคิดค้นวิธีการใหม่คือการสกัดน้ำยางจากพืชที่พบได้ในอเมริกาเหนือ 2 ชนิด คือ แดนดีไลออนชนิด Taraxacum kok-saghyz (TK) และไม้พุ่มวายูเล่ (Guayul) ความหวังใหม่ในการลดการนำเข้ายางจากต่างประเทศ 


งานวิจัยนี้นำโดยแคทรีนา คอร์นิช (Katrina Cornish) จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอไฮโอ จุดเริ่มต้นเกิดจาก ด้วยภูมิประเทศและภูมิอากาศของสหรัฐฯ เป็นประเทศเขตหนาวทำให้ผลผลิตยางธรรมชาติ เช่น ยางพารา ได้ไม่ดีเท่ากับประเทศในเขตร้อน เช่น ประเทศไทย อินโดนีเซีย หรือมาเลเซีย จึงต้องพึ่งพาการนำเข้า เพื่อแก้ไขปัญหาห่วงโซ่อุปทานข้อนี้ จึงเกิดเป็นงานวิจัยนี้ขึ้นมา ด้วยการต่อยอดการผลิตยางจากแดนดีไลออน TK และไม้พุ่มวายูเล่ ด้วยการสกัดด้วยวิธีที่พิเศษ


ทั้งนี้ พืชทั้งสองเป็นพืชทดแทนเพื่อนำมาทำยางอยู่ก่อนแล้ว แต่ในอดีตให้ผลผลิตได้ไม่ดีนัก นักวิจัยจึงต้องพัฒนาวิธีเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น โดยในการศึกษานี้วิธีการสกัดสำหรับไม่พุ่มวายูเล่จะทำโดยการบดเปลือกไม้เพื่อให้ปล่อยอนุภาคน้ำยางออกมามีลักษณะเหมือนนมปั่น จากนั้นนักวิจัยได้เติมสารตกตะกอน ลดรอบการล้างน้ำยาง แต่สามารถเพิ่มผลผลิตน้ำยางโดยรวม ซึ่งน้ำยางที่ได้ก็จะมีคุณภาพสูง มีความแข็งแรงและนุ่มกว่าโพลีเมอร์ทั่วไปด้วย


ส่วนพืชอีกชนิดอย่าง แดนดีไลออน TK สามารถสกัดน้ำยางได้จากส่วนรากโดยการเติมกรดเอทิลีนไดเอมีนเตตราอะซิติก (EDTA : Ethylenediaminetetraacetic Acid) ลงไป มันจะช่วยเพิ่มผลผลิตน้ำยางได้อย่างมาก ทั้งนี้ในการผลิตยางจากแดนดีไลออน TK แบบเดิมต้องมีการเก็บต้นพืชไว้ก่อนหลายเดือนเพื่อให้ยางเกิดความเสถียรและให้ผลผลิตได้มากขึ้น แต่การค้นพบครั้งนี้ทำให้สามารถสกัดน้ำยางได้ทันทีโดยไม่ต้องใช้เวลาเก็บรักษานานหลายเดือน จึงเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพและทันท่วงทีมากขึ้น 


อย่างไรก็ตาม วิธีการสกัดยางจากรากแดนดีไลออนถือได้ผลผลิตที่มีประสิทธิภาพดี แต่วิธีสกัดยางจากไม้พุ่มวายูเล่อาจจะยังต้องปรับปรุงคุณภาพ นักวิจัยวางแผนร่วมมือกับนักเคมีที่เชี่ยวชาญด้านการตกตะกอน เพื่อปรับแต่งกระบวนการสกัดวายูเล่เพิ่มเติม


ทั้งนี้อุตสาหกรรมยางในสหรัฐฯ ยังต้องพึ่งพาการนำเข้ายางธรรมชาติ โดยในปี 2022 สหรัฐฯ นำเข้าหมวดยางธรรมชาติมูลค่ากว่า 2,359 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 8.39 หมื่นล้านบาท ดังนั้นวิธีการนี้จึงนับว่ามีประโยชน์มาก ถือเป็นการเสริมประสิทธิภาพและเพิ่มความยืดหยุ่นให้ห่วงโซ่อุปทานของสหรัฐฯได้ 


ที่มาข้อมูล InterestingEngineering

ที่มารูปภาพ Pexels

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง