รีเซต

วิศวะมธ.ดันงานวิจัย สู่นวัตกรรมใช้ได้จริง : คอลัมน์ ไอคิวทะลุฟ้า

วิศวะมธ.ดันงานวิจัย สู่นวัตกรรมใช้ได้จริง : คอลัมน์ ไอคิวทะลุฟ้า
ข่าวสด
9 มิถุนายน 2563 ( 11:17 )
292
วิศวะมธ.ดันงานวิจัย สู่นวัตกรรมใช้ได้จริง : คอลัมน์ ไอคิวทะลุฟ้า

 

วิศวะมธ.ดันงานวิจัย สู่นวัตกรรมใช้ได้จริง - นักวิชาการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TSE) ดัน “งานวิจัยเปเปอร์” สู่ “นวัตกรรมเพื่อสังคม” และ “นวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจ” ที่ได้รับการผลิตและพร้อมปรับใช้ในทุกบริบทของสังคม ตอกย้ำนโยบายคณะ มุ่งผลักดันงานวิจัยเกิดขึ้นจริงเป็นรูปธรรม สอดรับความต้องการของสังคมและอุตสาหกรรม

 

อาทิ “Space Walker” อุปกรณ์ช่วยเดินแบบมีระบบพยุงน้ำหนักบางส่วน สู่ธุรกิจสตาร์ตอัพสร้างรายได้ให้นักศึกษาเจ้าของผลงาน หรือ “Tham-Robot” หุ่นยนต์จัดส่งเวชภัณฑ์ ลดเสี่ยงสัมผัสผู้ป่วยในโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ

 

 

รศ.ดร.ธีร เจียศิริพงษ์กุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TSE) กล่าวว่า ปัจจุบันนักวิจัยไทยยังเผชิญปัญหาการทำวิจัยอย่างครบวงจร ด้วยข้อจำกัดด้านกระบวนการวิจัยและพัฒนา ในการผลักดัน “งานวิจัยหรือนวัตกรรมต้นแบบ” สู่ “นวัตกรรมเพื่อสังคม”

 

และ “นวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจ” ที่ได้รับการผลิตและพร้อมปรับใช้ในบริบทต่างๆ ของสังคม TSE มีนโยบาย ผลักดันงานวิจัยให้เกิดขึ้นจริงเป็นรูปธรรม สอดรับความต้องการของสังคมและภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้จากในภาวะวิกฤตโควิด-19 นักวิจัย TSE มีส่วนร่วมผลิตนวัตกรรมสนับสนุนการทำงานปลอดภัยของบุคลากรทางการแพทย์ไทย อาทิ

 

“Tham-Robot” หุ่นยนต์จัดส่งเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ลดความเสี่ยงสัมผัสผู้ป่วยภายในโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ “Tham-UV Clean” ตู้ฆ่าเชื้อหน้ากากอนามัยใน 5 นาที ใช้ซ้ำสูงสุด 10 ครั้ง (ขึ้นอยู่กับสภาพหน้ากาก) รับสถานการณ์หน้ากากอนามัยขาดแคลน

 

และล่าสุด โครงการวิจัยของคณาจารย์ TSE เรื่อง “นวัตกรรมการออกแบบระบบห้องและการปรับอากาศความดันลบสำหรับการกักตัวผู้ติดเชื้อโควิด-19 และโมเดลคอมพิวเตอร์ที่สามารถจำลองการเคลื่อนที่ของละอองฝอย” ยังได้ทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ว่าด้วยแนวคิดการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาโควิด-19

 

 

ที่ผ่านมา TSE จึงมีนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ที่ได้รับกระแสตอบรับเชิงบวกจำนวนมาก อาทิ “Space Walker” อุปกรณ์ช่วยเดินแบบมีระบบพยุงน้ำหนักบางส่วน สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ที่เป็นใบเบิกทางสำคัญสู่ธุรกิจสตาร์ตอัพและจัดจำหน่ายเชิงพาณิชย์ สร้างรายได้ให้นักศึกษาเจ้าของผลงาน นายวรัตถ์ สิทธิ์เหล่าถาวร ศิษย์เก่าหลักสูตรปริญญาตรีและโท ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล “นวัตกรรมอาหารแช่แข็งอบร้อนไมโครเวฟ” ที่ขยายผลงานวิจัยจากเปเปอร์สู่เชิงพาณิชย์ในร้านสะดวกซื้อต่างๆ ผลงานวิจัยโดย ศ.ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช และคณะ ฯลฯ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง