รีเซต

นักวิทยาศาสตร์จีนพบ 'จุลินทรีย์ย่อยน้ำมันดิบ' ชนิดใหม่

นักวิทยาศาสตร์จีนพบ 'จุลินทรีย์ย่อยน้ำมันดิบ' ชนิดใหม่
Xinhua
24 ธันวาคม 2564 ( 20:21 )
164

ปักกิ่ง, 24 ธ.ค. (ซินหัว) -- เมื่อวันพฤหัสบดี (23 ธ.ค.) หนังสือพิมพ์ไชน่า ไซแอนซ์ เดลี (China Science Daily) รายงานว่าคณะนักวิทยาศาสตร์จีนค้นพบจุลินทรีย์ชนิดใหม่ที่สามารถย่อยน้ำมันดิบโดยตรงและผลิตก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นการปูทางสู่การใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำมันที่หมดแล้ว

รายงานข่าวอ้างอิงงานวิจัยในวารสารเนเจอร์ (Nature) เมื่อวันพฤหัสบดี (23 ธ.ค.) ซึ่งมุ่งวิจัยซีเอ. เมธานอลไลพารัม (Ca. Methanoliparum) จุลินทรีย์ตัวใหม่ของตระกูลเมทาโนเจนิก อาร์คีแบคทีเรีย (methanogenic archaebacteria) ซึ่ง      สามารถเปลี่ยนอัลเคนสายยาวในน้ำมันดิบเป็นก๊าซมีเทนในสภาพแวดล้อมที่ปราศจากออกซิเจน

เมทาโนเจนิก อาร์คีแบคทีเรีย เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก และมีบทบาทสำคัญในการหมักก๊าซชีวภาพ โดยการศึกษาก่อนหน้านี้พบกระบวนการหมักต้องการทั้งแบคทีเรียที่ย่อยสลายไฮโดรคาร์บอน (hydrocarbon-degrading bacteria) และเมทาโนเจนิก อาร์คีแบคทีเรีย เพื่อทำให้การสลายตัวของสารอินทรีย์และการผลิตมีเทนเสร็จสมบูรณ์

ทีมวิจัยจากสถาบันก๊าซชีวภาพ สังกัดกระทรวงเกษตรและกิจการชนบทจีน พบจุลินทรีย์ซีเอ. เมธานอลไลพารัมในแหล่งกักเก็บน้ำมัน โดยมันสามารถทำปฏิกิริยาออกซิเดชันอัลเคนสายยาวโดยตรงและผลิตก๊าซมีเทนโดยปราศจากแบคทีเรียที่ย่อยสลายไฮโดรคาร์บอนได้

สำหรับกระบวนการฟื้นฟูแหล่งน้ำมันแบบดั้งเดิม น้ำมันดิบที่อยู่ลึกลงไปใต้ดินนั้นเคลื่อนตัวด้วยแรงดันของน้ำหรือสารเคมี โดยตะกอนที่ทับถมกันมากกว่าครึ่งหนึ่งจะฟื้นฟูได้ยากและอยู่ในใต้ดิน

หากยึดการวิจัยนี้เป็นพื้นฐานพบว่าน้ำมันดิบอาจถูกย่อยสลายเป็นก๊าซมีเทนก่อนเกิดการฟื้นฟูรวมของน้ำมันและก๊าซที่มีประสิทธิภาพฟื้นฟูสูงขึ้น นอกจากนั้นยังสามารถยืดอายุการใช้ประโยชน์แหล่งน้ำมันที่หมดแล้วอีกด้วย

ทั้งนี้ สถาบันฯ ร่วมดำเนินการวิจัยดังกล่าวกับมหาวิทยาลัยเซินเจิ้น สถาบันแมกซ์พลังค์ (Max Planck Institute) เพื่อจุลชีววิทยาทางทะเลของเยอรมนี และห้องปฏิบัติการหลักด้านการนำน้ำมันกลับมาใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ของซิโนเปก (Sinopec)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง