รีเซต

15 กันยายน ประวัติ ศิลป์ พีระศรี : 'นายไม่อ่านหนังสือ นายจะรู้อะไร'

15 กันยายน ประวัติ ศิลป์ พีระศรี : 'นายไม่อ่านหนังสือ นายจะรู้อะไร'
TeaC
10 สิงหาคม 2566 ( 11:53 )
488

"นายไม่อ่านหนังสือ นายจะรู้อะไร" ประโยคที่คอหนังสือหรือเหล่าลูกศิษย์มหาวิทยาลัยศิลปากรเคารพรัก และหากได้อ่านประวัติ ศิลป์ พีระศรี หรือ คอร์ราโด เฟโรชี (Corrado Feroci) ชาวอิตาลีสัญชาติไทย เป็นประติมากรจากเมืองฟลอเรนซ์ที่เข้ามารับราชการในประเทศไทยตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

 

ประวัติ ศิลป์ พีระศรี

ศิลป์ พีระศรี ถือได้ว่าเป็นปูชนียบุคคลคนหนึ่งของไทยที่ได้สร้างคุณูปการในทางศิลปะและมีผลงานที่เป็นที่กล่าวขานจนเป็นที่รู้จักกว้างขวาง และเขายังเป็นทั้งผู้ก่อตั้งและอาจารย์สอนวิชาศิลปะที่โรงเรียนประณีตศิลปกรรม ซึ่งภายหลังได้รับการยกฐานะให้เป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากรคนแรกในที่สุด

 

เขายังเป็นผู้วางรากฐานที่เข้มแข็งให้แก่วงการศิลปะไทยสมัยใหม่จากการที่ได้พร่ำสอนและผลักดันลูกศิษย์ให้ได้มีความรู้ความสามารถในวิชาศิลปะทั้งงานจิตรกรรมและงานช่าง รวมทั้ง เขายังได้รับการให้เป็นปูชนียบุคคลของมหาวิทยาลัยศิลปากรและของประเทศไทย โดยเฉพาะในงานประติมากรรมที่ได้มีผลงานที่โดดเด่นมากมายที่สร้างไว้แก่ประเทศไทย ได้แก่ พระพุทธรูปประธานที่พุทธมณฑล, อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ, อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และรวมไปถึง พระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ที่วงเวียนใหญ่, พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช, อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี และพระบรมราชานุสาวรีย์ของกษัตริย์ไทยอีกหลายพระองค์ เป็นต้น 

และด้วยเหตุนี้ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี จึงได้รับการยกย่องว่าเป็น บิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยของไทย และเป็น ผู้วางรากฐานมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยในวันที่ 15 กันยายน ของทุกปีจะถือเป็นวันศิลป พีระศรี ซึ่งมหาวิทยาลัยศิลปากรจะจัดงานรำลึกขึ้นทุกปีเพื่อระลึกถึงคุณงามความดีที่มีต่อมหาวิทยาลัยและประเทศไทยนานัปการ

 

 

นายไม่อ่านหนังสือ นายจะรู้อะไร

อีกหนึ่งประโยคที่หลายคนคุ้นเคย "นายไม่อ่านหนังสือ นายจะรู้อะไร" แต่อาจเป็นไปได้ที่ยังไม่รู้ถึงประวัติ ศิลป์ พีระศรี ที่ได้ใก้โอวาทแก่ สนิท ดิษรพันธ์ เมื่อเรียนสำเร็จจิตรกรรมคนเดียวในปีนั้น และ "อย่าถือว่าเราเป็นคนเก่ง ต้องศึกษาเล่าเรียนอีกมาก ฉันเองก็ยังศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเวลา" อีกหนึ่งโอกาวที่ได้กล่าวกับคนอื่น ๆ และสมเกียรติ หอมเอนก

 

"ในบรรดาศิลปะด้วยกัน ดนตรีเป็นสิ่งเร้าอารมณ์ความรู้สึกของผู้คนได้มากที่สุด เมื่อเรามีนักดนตรีที่มีความสามารถสูงมาบรรเลงในบ้านเรา เราก็ใคร่จะให้ญาติสนิทมิตรสหายได้มาร่วมเสพสุนทรียรสกับเราด้วย"  เขากล่าวกับนักเรียนศิลปะที่เพิ่งเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยศิลปากรในวันแรก 

 

และ "พวกเธอต้องเรียนรู้ความเป็นมนุษย์ก่อน...แล้วจึงเรียนศิลปะ"  เขาได้กล่าวกับลูกศิษย์คนหนึ่ง

 

ซึ่งนักอ่านหลายคนที่ได้อ่านต่างหยิบคำเหล่านี้มาปลอบประโลมใจและให้ใฝ่ถึงการต้องอ่านหนังสือให้มาก เพราะการอ่านทำให้เกิดสติปัญญาและความคิดความอ่านนี่แหละที่ทำให้ชีวิตมีความหมาย

 

ผลงานประติมากรรม ของ ศิลป์ พีระศรี

ผลงานประติมากรรมที่ทำในประเทศอิตาลี     

  • รูปคนเหมือนเฉพาะศีรษะ
  • รูปพระเยซูคริสต์ถูกนำลงมาจากไม้กางเขนนอนบนแผ่นหิน
  • อนุสาวรีย์ขนาดใหญ่รูปเทพเจ้าต่าง ๆ

 

ผลงานประติมากรรมที่ทำในประเทศไทย รูปเหมือนบุคคล

  • สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ (เฉพาะพระเศียร) สำริด
  • พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (เฉพาะพระเศียร)
  • พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครึ่งพระองค์) ปูนปลาสเตอร์ กองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร 
  • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล 2 องค์ ปูนปลาสเตอร์ กองหัตถศิลป์
  • พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ประติมากรรมนูนต่ำ ปูนปลาสเตอร์ หอศิลป์แห่งชาติ
  • สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (ครึ่งพระองค์) ปูนปลาสเตอร์ กองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร
  • สมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดเทพศิรินทราวาส (ครึ่งองค์) กรมศิลปากร
  • พระญาณนายก (ปลื้ม จันโทภาโส มณีนาค) วัดอุดมธานี นครนายก ประติมากรรมนูนสูง ปูนพลาสเตอร์
  • หลวงวิจิตรวาทการ (ครึ่งตัว) ปูนปลาสเตอร์ กรมศิลปากร
  • ม.ร.ว.สาทิศ กฤดากร (เฉพาะศีรษะ) บรอนซ์ เจ้าของ ม.จ.รัสสาทิศ กฤดากร
  • นางมาลินี พีระศรี (เฉพาะศีรษะ) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ กรุงเทพฯ
  • Romano (ลูกชาย ภาพร่างไม่เสร็จ) กรมศิลปากร
  • นางมีเซียม ยิบอินซอย (รูปเหมือนครึ่งตัว) บรอนซ์ หอศิลปแห่งชาติ
  • พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (เฉพาะพระเศียร)
  • พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ครึ่งพระองค์ ปั้นไม่เสร็จ เพราะศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ถึงแก่กรรมเสียก่อน)

 

ผลงานประเภทอนุสาวรีย์

  • พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ประดิษฐาน ณ ปราสาทพระเทพบิดร
  • พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ประดิษฐาน ณ พระปฐมบรมราชานุสรณ์ เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า กรุงเทพฯ
  • อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี นครราชสีมา
  • อนุสาวรีย์พระบรมราชานุสาวรีย์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ขนาด 3 เท่าพระองค์จริง ประดิษฐาน ณ สวนลุมพินี กรุงเทพฯ
  • อนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ประดิษฐาน ณ วงเวียนใหญ่ ธนบุรี กรุงเทพฯ
  • อนุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ประดิษฐาน ณ ดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี
  • พระพุทธรูปพระประธานพุทธมณฑล (องค์ต้นแบบ) นครปฐม
  • ประติมากรรมรูปปั้น อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ กรุงเทพฯ

 

อีกทั้ง ยังมีโครงการที่ทำยังไม่แล้วเสร็จอีก คือ พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร, อนุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ลพบุรี เป็นต้น 

 

ดังนั้น 15 กันยายน วันศิลป์ พีระศรี ร่วมน้อมรำลึกแล้ว มาเริ่มต้นอ่านหนังสือกันเถอะ เพราะเชื่อว่าหลายคนเอาแต่ซื้อเก็บ หรือดองหนังสือไว้จำนวนมาก เพราะไม่เกิดประโยชน์ มาเริ่มอ่านทีละนิด เพิ่มความรู้ทีละหน่อย ดีกว่าปล่อยให้เป็นกระดาษวางอยู่มุมหนึ่งมุมใดที่หมดคุณค่ากันนะ 

 

 

ข้อมูล : วิกิพีเดีย

 

ข่าวเกี่ยวข้อง :

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง