รีเซต

เปิดกฎหมายแรงงาน! หลัง รปภ.ถูกไล่ออก เพราะถามหาค่าแรงวันหยุดสงกรานต์

เปิดกฎหมายแรงงาน! หลัง รปภ.ถูกไล่ออก เพราะถามหาค่าแรงวันหยุดสงกรานต์
Ingonn
6 เมษายน 2564 ( 19:05 )
1.8K

เป็นอีกเรื่องราวที่ฮือฮาในโลกโซเชียล เมื่อเพจหนึ่งออกมาแฉ กรณีรปภ.รายหนึ่งถูกบริษัทเลิกจ้าง เนื่องจากถามค่าแรงในวันหยุดตามประเพณีและถูกดีดออกจากกรุ๊ปแชท พร้อมให้พ้นสภาพพนักงานทันที  จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์บนโลกออนไลน์

 

 

วันนี้ True ID จึงพามาเปิดข้อกฎหมายเกี่ยวกับการทำงานล่วงเวลา ทำงานในวันหยุด และค่าแรงวันหยุดที่ควรรู้ไว้

 

 

การทำงานล่วงเวลา และการทำงานในวันหยุด


1.กรณีที่งานมีลักษณะต้องทำติดต่อกันไป ถ้าหยุดจะ เสียหายแก่งานหรือเป็นงานฉุกเฉิน นายจ้างอาจให้ลูกจ้าง ทำงานล่วงเวลา หรือทำงานในวันหยุดเท่าที่จำเป็นก็ได้ 

 

2. กิจการโรงแรม สถานมหรสพ งานขนส่ง ร้านขายอาหาร ร้านขายเครื่องดื่ม สโมสร สมาคม สถานพยาบาล และกิจการอื่นตามที่กระทรวงจะได้กำหนดนายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานใน วันหยุดเท่าที่จำเป็นก็ได้ โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้างเป็นคราวๆ ไป 

 

3. กรณีที่มีการทำงานล่วงเวลาต่อจากเวลาทำงานปกติไม่น้อยกว่า 2ชั่วโมง นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพัก ไม่น้อยกว่ายี่สิบนาที ก่อนที่ลูกจ้างเริ่ม ทำงานล่วงเวลา (ยกเว้นงานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไป โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้างหรือเป็นงานฉุกเฉิน)


 

ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด


1.ถ้าทำงานเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงาน นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลา ไม่น้อยกว่า 1 เท่าครึ่งของอัตราค่าจ้าง/ชั่วโมง ในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำหรือไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อหน่วย ในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงาน 

 

2. ถ้าทำงานในวันหยุดเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงานนายจ้างต้องจ่าย ค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างในอัตรา 3 เท่าของอัตราค่าจ้าง/ชั่วโมง ในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำหรือตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับ ลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย 

 

3. ถ้าทำงานวันหยุดในเวลาทำงานปกติ นายจ้างต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุด ให้แก่ลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าของค่าจ้าง ตามชั่วโมงที่ทำงานในวันหยุด หรือตามจำนวนผลงานที่ทำได้ สำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย ส่วนลูกจ้างที่ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดต้องจ่ายไม่น้อยกว่า 2 เท่า ของค่าจ้างในวันทำงานตามชั่วโมงที่ทำงานในวันหยุดหรือตามจำนวนผลงาน ที่ทำได้ สำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
 

 

อัตราค่าจ้าง

 

(อ้างอิงตามกฏหมายจากกระทรวงแรงงาน)


1 ค่าล่วงเวลา (OT) ของวันทำงานปกติ และค่าทำงานในวันหยุด ได้รับไม่น้อยกว่า 1.5 เท่า ของอัตราค่าจ้าง / ชั่วโมง 


2 ทำงานในวันหยุดในเวลาปกติ ได้รับไม่น้อยกว่า 1 เท่า ของอัตราค่าจ้าง / ชั่วโมง กรณีที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดนั้นอยู่แล้ว


3 กรณีวันหยุดทีไม่ได้รับค่าจ้างจะได้รับเพิ่มเป็น 2 เท่า ของค่าจ้างในวันทำงาน


3 ทำงานล่วงเวลาในวันหยุด ได้รับไม่น้อยกว่า 3 เท่า ของอัตราค่าจ้าง / ชั่วโมง


4 ลูกจ้างทั้งชายและหญิง มีสิทธิได้รับค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดเท่าเทียมกัน ในงานที่มีลักษณะและคุณภาพอย่างเดียวกันและปริมาณเท่ากัน

 


วันหยุดตามกฎหมายมีอะไรบ้าง

 

วันหยุดประจำสัปดาห์ 
ไม่น้อยกว่า 1 วัน/สัปดาห์ โดยให้มีระยะห่างกันไม่เกิน 6 วัน สำหรับงานโรงแรม งานขนส่ง งานในป่า งานในที่ทุรกันดาร หรืองานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงอาจตกลงกันสะสมและเลื่อน


วันหยุดประจำ 
สัปดาห์ไปหยุดเมื่อใดก็ได้ภายในระยะเวลา 4 สัปดาห์ติดต่อกัน 

 

วันหยุดตามประเพณี 
ไม่น้อยกว่า 13 วัน/ปี โดยรวมวันแรงงานแห่งชาติ โดยพิจารณาจากวันหยุดราชการประจำปี วันหยุดทางศาสนาหรือขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งท้องถิ่น ถ้าวันหยุดตามประเพณีตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ให้หยุดชดเชยวันหยุดตาม ประเพณีในวันทำงานถัดไป 

สำหรับงานในกิจการโรงแรม สถานมหรสพ ร้านขายอาหาร ร้านขายเครื่องดื่ม ฯลฯ อาจตกลงกันหยุดวันอื่นชดเชยวันหยุดตามประเพณี หรือจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้ก็ได้ 

 

วันหยุดพักผ่อนประจำปี 
ไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน/ปี สำหรับลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาครบ 1 ปี อาจตกลงกันล่วงหน้าสะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปี ไปรวมหยุดในปีต่อ ๆ ไปได้

 


อย่างไรก็ตามขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์และระเบียบข้อบังคับขอบริษัทที่ลูกจ้างทำงาน ซึ่งนายจ้างจะแจ้งโดยละเอียดในใบสัญญาจ้างแล้ว อย่าลืมตรวจสอบให้ดีก่อนเซ็นต์ชื่อนะลูกจ้างทุกคน

 

 

ข้อมูลจาก กระทรวงแรงงาน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รปภ.ช็อก ตกงานฟ้าผ่า หลังถามหาค่าแรงวันหยุดสงกรานต์

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง