รีเซต

4 รูปแบบวัคซีนโควิด-19 ตั้งรับไวรัสกลายพันธุ์

4 รูปแบบวัคซีนโควิด-19 ตั้งรับไวรัสกลายพันธุ์
Ingonn
27 เมษายน 2564 ( 16:31 )
306

จากปัญหาการกลายพันธุ์ของไวรัสโควิด-19 ทำให้บริษัทผู้ผลิตวัคซีนเริ่มคิดถึงวัคซีนเข็มที่ 3 โดยล่าสุด ABC NEWS ของสหรัฐอเมริกาได้สรุปความเห็นของผู้เชี่ยวชาญถึง 4 แนวทาง การพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ให้รับมือการกลายพันธุ์ได้ โดยมี 4 รูปแบบ ดังนี้

 

 

1.กระตุ้นพื้นฐาน (The basic booster)

ให้วัคซีนซ้ำเป็นเข็มที่ 3 เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีจำนวนมากขึ้น จากเดิม 10-20 เท่า เนื่องจากแอนติบอดี เริ่มจับกับสายพันธุ์กลายพันธุ์ได้น้อยลง

 

การนำไปใช้ จอห์นสันแอนด์จอนห์สัน , ไฟเซอร์และโมเดอร์นา มีแผนทดลองวัคซีนเข็มที่ 3 ภายใน 6-12 เดือนหลังจากฉีดวัคซีนเข็มที่ 2

 

 

2.วัคซีนชนิดปรับให้เข้ากับสายพันธุ์ (Strain-adapted vaccine)

ปรับสายพันธุ์วัคซีนเข็มใหม่ให้มีแอนติเจนตรงกับสายพันธุ์ที่กลายพันธุ์ เช่น สายพันธุ์แอฟริกาใต้


การนำไปใช้ ยังมีข้อกังวล คือ ไวรัสโควิด-19 ยังกลายพันธุ์ไม่หยุดนิ่ง เช่น โควิดสายพันธุ์ใหม่จากอินเดีย

 

 

3.ตัวกระตุ้นแบบหลายแอนติเจน (Multivalent booster)

ผสมวัคซีนแบบเก่าและสายพันธุ์ใหม่ลงในขวดเดียวกัน ทำให้ภูมิคุ้มกันเดิมถูกกระตุ้นจากวัคซีนเดิม ขณะที่ภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์ใหม่จะมีเพิ่มขึ้นด้วย


การนำไปใช้ จอห์นสันแอนด์จอนห์สัน และโมเดอร์นา มีแผนนำมาใช้

 

 

4.เพิ่มแอนติเจนนอกเหนือจากสไปก์ (The spike plus approach)

เพิ่มแอนติเจนตัวอื่นของไวรัสนอกเหนือจากส่วนสไปก์ของไวรัสลงในวัคซีนด้วย เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงช้ากว่าส่วนสไปก์ โดยเชื่อว่าภูมิคุ้มกันจะอยู่ได้นานขึ้น


การนำไปใช้ วิธีนี้ยังอยู่ระหว่างการศึกษาวิจัยในห้องปฏิบัติการ

 

 

 


โควิด-19 กลายพันธุ์ที่ควรจับตาสำหรับประเทศไทย

1.โควิดสายพันธุ์อังกฤษ สายพันธุ์ B.1.1.7 พบครั้งแรกในอังกฤษ เมื่อเดือนกันยายน 2563 โดยตำแหน่งที่กลายพันธุ์เป็นตำแหน่งพิเศษ อยู่บนผิวไวรัส ทำให้ไวรัสมีคุณสมบัติจับผิวเซลล์มนุษย์ได้ดีขึ้น อีกทั้ง ในห้องทดลอง พบว่าไวรัสมีประสิทธิภาพในการแบ่งตัวดีขึ้น


การแพร่ระบาดกระจายเร็วขึ้นแต่ไม่มีความรุนแรงมากขึ้น โดยรายงานล่าสุดจากสหราชอาณาจักร แสดงให้เห็นว่าอาจทำให้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น สายพันธุ์นี้มีการระบาดในประเทศไทยแล้ว

 

 

2.สายพันธุ์แอฟริกาใต้ สายพันธุ์ B.1.351 พบครั้งแรกที่ประเทศแอฟริกาใต้ เมื่อเดือนตุลาคม 2563 ทำให้ไวรัสจับตัวเซลล์ได้ดีขึ้น ติดเชื้อง่ายขึ้น อาจจะสามารถหนีภูมิคุ้มกันได้ดีขึ้น มีผลต่อประสิทธิภาพวัคซีนลดลง เพราะเป็นวัคซีนที่พัฒนาโดยใช้สายพันธุ์ดั้งเดิม แต่ข้อมูลล่าสุดพบว่าไม่เพิ่มความรุนแรง

 


3.สายพันธุ์บราซิล สายพันธุ์ P.1 พบครั้งแรกคือประเทศบราซิล เมื่อธันวาคม 2563 โดยพบว่าพลาสมาหรือระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์จับกับไวรัสเหล่านี้ได้น้อยลงจริงๆ เมื่อเทียบกับไวรัสสายพันธุ์ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งเหล่านี้ แพร่กระจายเร็วขึ้นและมีโอกาสติดเชื้อซ้ำ

 

ตอนนี้ต้องเฝ้าระวังจับตาในสายพันธุ์บราซิล ซึ่งเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่พบในบราซิล คือ P.10 พบว่าแพร่กระจายได้เร็ว พบว่า ภายใน 7 สัปดาห์ สายพันธุ์ P.1 กลายเป็นสายพันธุ์ที่พบมากถึงร้อยละ 87 ในบราซิล โดยสายพันธุ์นี้ คาดการณ์ว่าจะมีความรุนแรงมากกว่าสายพันธุ์อื่น 

 

 

4.สายพันธุ์อินเดีย สายพันธุ์ B.1.617 เป็นเชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์ชนิดใหม่ที่ถูกพบครั้งแรกในรัฐเบงกอลตะวันตก ซึ่งอยู่ทางภาคตะวันออกของประเทศอินเดีย จึงทำให้มีการเรียกเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่นี้ว่า โควิดสายพันธุ์เบงกอล และยังพบในการสุ่มตรวจเคสที่เมืองหลวงกรุงเดลี และรัฐมหาราษฏระ
 
ลักษณะเฉพาะเหล่านี้จะทำให้ไวรัสกลายพันธุ์ดังกล่าวแพร่ระบาดได้ง่ายยิ่งขึ้น รวมทั้งยังอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพการป้องกันโรคของวัคซีนด้วย

 

 

ขณะนี้ทั่วโลก ยังคงเกิดวิกฤตการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง และไวรัสยังคงกลายพันธุ์ไปได้มากว่านี้อีก สิ่งที่สำคัญคือจะประมาทต่อไปไม่ได้อีกแล้ว  เพราะสายพันธุ์ไวรัสมีการกลายพันธุ์ และการกลายพันธุ์นี้เข้ามายังประเทศไทยแล้ว ทำให้การระบาดรอบนี้มีผู้ป่วยหนักมากขึ้น 

 

 


การกระจายวัคซีนทั่วโลก

 

 

วัคซีนแอสตร้าเซนเนกา เป็นวัคซีนที่ทั่วโลกใช้มากที่สุด มีการใช้เวลากว่า 91 ประเทศ มีการศึกษาระยะที่ 3 ใน 15 ประเทศ 

วัคซีนตัวที่ 2 คือ วัคซีนของไฟเซอร์/ไบโอเทค ที่มีการใช้ไปกว่า 83 ประเทศ  มีการศึกษาระยะ 3 ไป 12 ประเทศ

ถัดไปเป็นวัคซีนของรัสเซีย สปุตนิกวี มีการใช้ไปกว่า 62 ประเทศ

ต่อมาคือวัคซีน โมเดอร์นา ของสหรัฐอเมริกาเป็น ชนิด mRNA มีการใช้กว่า 46 ประเทศ และใช้ในระยะที่ 3 

 


อย่างไรก็ตามวัคซีนยังคงเป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดการกับการแพร่ระบาด การฉีดวัคซีนจะเห็นผลเมื่อประชากรอย่างน้อยร้อยละ 25 ได้รับการฉีดวัคซีน ซึ่งการฉีดวัคซีนได้เร็วและฉีดได้มาก จึงเป็นสิ่งจำเป็นวัคซีนที่มีการใช้ในปัจจุบันมีความปลอดภัยสูง 

 

 


ข้อมูลจาก กระทรวงสาธารณสุข , กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) , TNN

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง