รีเซต

ไม่รับเงินเดือน 3 เดือน-ไม่มีรายได้แล้ว 'เงินออมสำรองฉุกเฉิน' มีเท่าไหร่? ถึงปลอดภัย

ไม่รับเงินเดือน 3 เดือน-ไม่มีรายได้แล้ว 'เงินออมสำรองฉุกเฉิน' มีเท่าไหร่? ถึงปลอดภัย
TeaC
9 กรกฎาคม 2564 ( 12:00 )
131
ไม่รับเงินเดือน 3 เดือน-ไม่มีรายได้แล้ว 'เงินออมสำรองฉุกเฉิน' มีเท่าไหร่? ถึงปลอดภัย

เมื่อเหตุการณ์ในชีวิตเกิดขึ้นอย่างไม่ทันตั้งตัว! ทั้งตกงาน ขายของออนไลน์ไม่ดี หรือมาตรการรัฐที่ออกมาในช่วงวิกฤตโรคโควิดระบาดอย่างรุนแรงจากเบาไปจนถึงขั้นล็อกดาวน์ ทุกอาชีพ ทุกวัยต่างได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน แถมเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ทำให้ "รายได้" ลดน้อยลง หรือบางคนไม่มีรายได้เลยด้วยซ้ำ ซึ่งต้องยอมรับว่า หลายคนยังมีพฤติกรรมการใช้จ่ายที่เกินตัว สร้างหนี้ไม่รู้จบโดยที่ขาดการไตร่ตรอง ขาดการยั้งคิดว่าของสิ่งนั้นจำเป็นต่อการใช้ชีวิตหรือไม่ ติดกับดักป้าย Sale โปรโมชั่น บางคนมีเงินแต่ลงทุนไม่เป็น เพราะขาดความรู้ ไม่ศึกษาการลงทุนแต่ละประเภทจึงทำให้เงินที่ลงทุนหดหายไปในพริบตา รวมถึงในสถานการณ์โควิดแบบนี้ด้วยแล้ว ใครมี "เงินออมสำรองฉุกเฉิน" กันบ้าง?

 

เงินออมสำรองฉุกเฉิน คืออะไร? 

 

เป็นเงินก้อนแรกที่เราต้องควรมีก่อนหันไปเริ่มต้นลงทุนรูปแบบอย่างอื่น ซึ่งเงินสำรองฉุกเฉินก็คือ เงินออมที่ไม่ได้มีไว้เพื่อลงทุน แต่มีไว้เพื่อใช้จ่ายยามฉุกเฉิน เช่น

 

  • ตกงาน ว่างงาน จนแทบไม่มีรายรับ
  • เจ็บป่วยกระทันหัน
  • เกิดอุบัติเหตุที่คาดไม่ถึง หัวหน้าครอบครัวเสียชีวิต
  • ผู้ใหญ่ล้มป่วย ป่วยติดเตียง
  • ตกอยู่ในสถานการณ์ที่ควบคุมไม่ได้ เช่น โรคระบาด โควิดระบาด
  • ธุรกิจล้ม เจ๊ง จากภาวะเศรษฐกิจ หรือสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนฃ
  • ฯลฯ

 

เนื่องจากไม่มีอะไรแน่นอน ทุกเหตุการณ์เกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลา และทุกคนต้องเจอจนอาจทำให้ชีวิตสะดุด ไม่ราบรื่น แทนที่เคยมีรายได้ แต่กลับเจอรายจ่ายเข้ามาแทนที่หากมีเงินออมสำรองฉุกเฉินเตรียมไว้ในยามขับขันก็ยังพอพยุงตัวเองผ่านวิกฤตเลวร้ายต่าง ๆ ไปได้ กลับกันหากไม่มีเงินสำรองไว้เลยก็อาจกลายเป็นจุดเริ่มต้นของภาระหนี้ก้อนโตตามอีก สภาพคล่องทางการเงินล้มเหลวได้ แล้วเราควรเก็บเงินออมสำรองฉุกเฉินไว้เท่าไหร่?

 

1. มนุษย์เงินเดือน 

 

การเป็นผู้มีรายได้ที่แน่นอนนั้น ถือว่ามีโอกาสในการออมเงินที่แน่นอนในแต่ละเดือน หากมีวินัยขั้นพื้นฐานเมื่อได้เงินเดือนมาแล้ว นั่นคือ เก็บก่อนใช้ ซึ่งการเก็บเงินออมสำรองฉุกเฉินนั้น มีหลักง่าย ๆ คือ เก็บเงิน 3-6 เท่าของค่าใช้จ่าย และควรมีเงินสำรอง 3-6 เดือน 

 

ยกตัวอย่างให้เข้าใจง่าย คือ หากเรามีค่าใช้จ่ายรายเดือน 14,000 บาท มีเงินเดือน 20,000 บาท ดังนั้น เราต้องมีเงินออมสำรองฉุกเฉิน 42,000 - 84,000 บาท เพื่อในกรณีที่เราอาตกงานกะทันหัน ก็จะได้มีเงินออมสำรองฉุกเฉินมาใช้จ่ายในช่วงรองานใหม่ได้ในระยะสั้น ๆ แบบไม่เคร่งเครียดอีกด้วย

 

2. มนุษย์อิสระ หรือคนทำงานฟรีแลนซ์ 

 

ต้องยอมรับว่าคนที่ทำงานอิสระมักมีรายได้ที่ไม่แน่นอน บางเดือนได้น้อยได้มาก แถมบางเดือนอาจไม่มีรายรับเข้ามาเลย ดังนั้น การเก็บเงินออมสำรองฉุกเฉิน ควรเก็บให้ได้มากกว่ามนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้แน่นอน ยกตัวอย่าง หากเรามีค่าใช้จ่ายเดือนละประมาณ 15,000 บาท ในสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด คือ เจอโรคระบาดอย่างโควิดทำให้ไม่มีผู้ว่าจ้างงานนาน 6 เดือนถึง 1 ปี หรืออาจยาวนานกว่านั้น ต้องเก็บเงินออมสำรองฉุกเฉินไว้ที่ 90,000 - 180,000 บาทเลยทีเดียว เพื่อให้เราพยุงตัวเองในสถานการณ์ที่ควบคุมไม่ได้ไปก่อน 

 

3. ไม่รับเงินเดือน เพื่อสมทบโควิด

 

ส่วนการไม่รับเงินเดือน เพื่อพยุงองค์กร พยุงพนักงาน อันนี้ก็แล้วแต่สภาพคล่องทางการเงินของแต่ละคน เมื่อคิดดีแล้วและเป็นประโยชน์เพื่อส่วนรวมก็ถือเป็นแบบอย่างที่ดี แต่ไม่ว่ายังไง การเก็บเงินออมสำรองฉุกเฉินควรเก็บไว้ที่ที่สามารถถอนเงินออกมาใช้ได้อย่างรวดเร็วและความเสี่ยงต่ำ เช่น เงินฝากออมทรัพย์ กองทุนรวม เป็นต้น เพราะเมื่อเกิดสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดจะได้รับมือและอุ่นใจ ไม่ต้องมานั่งเครียดกับรายได้ที่หด หนี้สินก้อนโตที่ตามมา

 

วันนี้คุณมีเงินออมสำรองฉุกเฉินเท่าไหร่?

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง