รีเซต

โหนกระแสวันนี้ ถอดบทเรียน เคนลี Take Me Out - พลเมืองดี กับกฎหมาย PDPA ไม่โพสต์ ไม่เสี่ยงถูกฟ้อง!

โหนกระแสวันนี้ ถอดบทเรียน เคนลี Take Me Out - พลเมืองดี กับกฎหมาย PDPA ไม่โพสต์ ไม่เสี่ยงถูกฟ้อง!
TeaC
10 มิถุนายน 2565 ( 14:26 )
1.6K
โหนกระแสวันนี้ ถอดบทเรียน เคนลี Take Me Out - พลเมืองดี กับกฎหมาย PDPA ไม่โพสต์ ไม่เสี่ยงถูกฟ้อง!

ข่าววันนี้ หยุดนะ! อย่าทำร้ายผู้หญิง เชื่อว่าหลายคนต้องสวมบท "พลเมืองดี" เข้าช่วยเหลือ "เหยื่อ" ความรุนแรง ที่พบเห็นได้ในทุกซอกมุมของสังคมไทย โดยเฉพาะ ความรุนแรงในเด็กและผู้หญิง ที่นับวันเหยื่อเหล่านี้มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น แถมจุดเริ่มต้นความรุนแรง เกิดจาก "คนใกล้ชิด" "คนในครอบครัว"

 

ถอดบทเรียน เคนลี Take Me Out - พลเมืองดี

กับกฎหมาย PDPA 

 

และที่น่าสนใจในรายการโหนกระแสล่าสุด หนุ่ม กรรชัย กำเนิดพลอย เชิญ เคนลี Take Me Out พร้อม "พลเมืองดี" ล้อมวงคุยประเด็นร้อนแรง สู่ "กฎหมาย PDPA" หรือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเป็นกฎหมายที่ถูกสร้างมาเพื่อป้องกันการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลของทุกคน รวมถึงการจัดเก็บข้อมูลและนำไปใช้โดยไม่ได้แจ้งให้ทราบ และไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลเสียก่อน 

 

อย่างที่เรารู้ ๆ กันว่า มีการประกาศใช้ กฎหมาย PDPA เมื่อวันที่ 1 มิถุนายนที่ผ่าน โดยในรายการโหนกระแส ได้คุยถึงข้อกฎหมายดังกล่าว ทั้งในมุมของผู้ถูกละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล กับมุมการเข้าช่วยเหลือเหยื่อความรุนแรง ซึ่งจุดประสงค์แตกต่างกัน เพราะความรุนแรงก็ต้องได้รับความช่วยเหลือ 

 

แล้วเราในฐานะพลเมืองดีจะช่วยเหลือเหยื่อความรุนแรง หรือเจอเหตุการณ์อย่างไรไม่ให้เสี่ยงถูกฟ้องได้

 

เรื่องของผัว-เมีย คนอื่นอย่ายุ่งจริงหรือ?

หากมองการเข้าช่วยเหลือเหยื่อความรุนแรง หรือเจอการทำร้ายร่างกายระหว่างสามีภรรยานั้น ที่ "พลเมืองดี" ทุกคนทำได้ เพราะไม่ใช่เรื่องปกติ และเพื่อเป็นการหยุดความรุนแรงที่อาจจะบานปลายกลายเป็นเรื่องน่าเศร้า หรือละเลยไม่ใส่ใจจนกลายเป็นโศกนาฎกรรมอย่างที่เกิดขึ้นเป็นข่าวให้เห็นกันบ่อย ๆ 

 

ทาง เฟซบุ๊ก "ตำรวจสอบสวนกลาง" ของกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง แนะนำวิธีช่วยเหลือผู้ตกเป็นเหยื่อของ “ความรุนแรงในครอบครัว” เบื้องต้นว่า

 

  1. เข้าสังเกตการณ์ เพื่อให้รู้ว่ามีคนคอยช่วยเหลือเหยื่อหรือไม่ หรือมีการใช้อาวุธทำร้ายร่างกายด้วยหรือเปล่า
  2. เข้าไปตักเตือน ทั้งนี้ต้องดูความปลอดภัยของผู้ช่วยเหลือด้วย
  3. หากมีความเสี่ยง ไม่สามารถรับมือได้ ควรเรียกเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่อยู่บริเวณนั้น เข้าให้ความช่วยเหลือร่วมด้วย
  4. แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือสายด่วน 1300 ศูนย์ช่วยเหลือสังคม ให้การเข้าช่วยเหลือไม่ให้เกิดความรุนแรงอันตรายต่อชีวิต หรือร่างกาย

 

สวมบท 'พลเมืองดี' อย่างไร? ไม่ผิดกฎหมาย PDPA

 

สังคมน่าอยู่ได้ เมื่อพลเมืองดี ช่วยเหลือ เพราะหากทุกคนเพิกเฉยต่อการเห็นความรุนแรงในเด็ก หรือความรุนแรงในผู้หญิง อาจยิ่งทำให้เกิดผลกระทบหลากหลายมิติ ดังนั้น เมื่อต้องสวมบทเป็นพลเมืองที่ดี มาม่ะมารู้หลักการช่วยเหลือเหยื่อความรุนแรงที่ไม่ผิดกฎหมาย PDPA กัน

 

ข้อแรก พลเมืองดีบันทึกภาพและคลิปวิดีโอนั้น "กระทำ" ได้ แต่ต้องเป็นเพื่อหลักฐานทางคดีเท่านั้น สามารถถ่ายภาพเก็บรวบรวมให้เจ้าหน้าที่ตรวจได้เลย โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมใด ๆ 

 

แต่สิ่งที่ต้องระวังเอาไว้เลย ข้อต่อมา ย้ำเลยนะ!!! ห้ามนำหลักฐานทั้งภาพและคลิปวิดีโอไปโพสต์บน Social ต่าง ๆ เพราะอาจเข้าข่ายหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา หรือกฎหมายใหม่ PDPA ยกเว้นแต่ว่าเซ็นเซอร์หน้าบุคคลอื่นให้เป็นบุคคลนิรนามก่อน แต่หากคนในคลิปวิดีโอร้องขอให้ลบคลิปวิดีโอ หรือภาพ พลเมืองดีต้องลบออกจากเฟซบุ๊ก หรือวื่อโซเชียล ทันที 

 

แต่เอาจริง ๆ คือ ไม่ควรโพสต์ข้อมูลดังกล่าวบนโซเชียล แต่นำสิ่งที่บันทึกภาพและวิดีโอที่เก็บไว้เป็นหลักฐาน ส่งเจ้าหน้าที่จะดีที่สุด และยังสามารถดำเนินคดีได้ด้วย โดยที่พลเมืองดีไม่ซวย ไม่เดือดร้อน ไม่ถูกฟ้องให้หมดกำลังใจในการทำดี

 

 

ทำไม? ผู้หญิงไทยยังเป็น "เหยื่อความรุนแรง"

 

และปมร้อน เคนลี Take Me Out  ทำร้ายแฟนไม่ได้เป็นเหตุการณ์แรก ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยเท่านั้น แต่ยังมีคดีทำร้ายร่างกายที่เป็นข่าวโด่งดัง และ "ผู้หญิง" ยังเป็นเหยื่อความรุนแรงเสมอ หนึ่งในนั้นคือ "คดีน้องจูน" เหยื่อความรุนแรงจากคนใกล้ชิดที่พลิกจากชีวิตที่ดี สดใส มีหน้าที่การงานที่ดี กลายเป็นต้องสูญเสียร่างกายและจิตใจ ซึ่งผู้หญิงและเด็ก ยังตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงที่เกิดจากคนที่อยู่ในครอบครอบครัวเดียวกัน เช่น 

  • สามี
  • พ่อแท้ ๆ
  • พ่อเลี้ยง
  • เครือญาติ

ทั้งนี้ จากข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้เผยสถิติที่น่าสนใจถึงสาเหตุที่ผู้หญิงยังคงถูกกระทำความรุนแรง โดยปัจจัยหลัก ๆ คือ คนไทยยังมีทัศนคติที่ไม่ถูกต้อง

สถานการณ์ 3 อันดับแรกที่ผู้หญิงและผู้ชาย อายุ 15-49 ปี มีความเห็นว่า สามีควรทำร้ายร่างกายภรรยาได้ เทียบระหว่างปี 2559 กับปี 2562 ดังนี้

ผู้ชาย มีความเห็นต่อ 3 สถานการณ์ 

  • ออกจากบ้าน โดยไม่บอกสามี

    • ปี 2559 : 2.0%
    • ปี 2562 : 3.4%

  • ไม่เอาใจใส่ดูแลบุตร

    • ปี 2559 : 6.1.0%
    • ปี 2562 : 5.8%

  • โต้เถียง ทะเลาะ กับสามี

    • ปี 2559 : 2.7%
    • ปี 2562 : 4.2%


ผู้หญิง มีความเห็นต่อ 3 สถานการณ์

  • ออกจากบ้าน โดยไม่บอกสามี

    • ปี 2559 : 2.0%
    • ปี 2562 : 3.3%

  • ไม่เอาใจใส่ดูแลบุตร

    • ปี 2559 : 6.6%
    • ปี 2562 : 5.3%

  • โต้เถียง ทะเลาะ กับสามี

    • ปี 2559 : 2.2%
    • ปี 2562 : 3.0%

จากข้อมูลการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย ปี 2559-25662 มองเห็นประเด็นที่สำคัญประเด็นหนึ่งคือ บรรทัดฐานเรื่องชายเป็นใหญ่ ที่ยังคงฝังรากลึกอยู่ในสังคมไทย 

จะเห็นได้จากการอ้างเหตุผลเกี่ยวกับพฤติกรรมการออกจากบ้าน โดยไม่บอกคู่สมรส หรือการทะเลาะ ยังเป็นเหตุผลที่ผู้ชายใช้เป็นข้ออ้าง เพื่อกระทำความรุนแรงต่อภรรยา ส่วนภรรยาเองก็ยินยอมให้สามีทำร้ายด้วยเหตุผลดังกล่าว 

มาร่วมช่วยหยุดความรุนแรง ที่ทุกคนทำได้ และรู้เท่านั้นการช่วยเหลืออย่างถูกต้อง ไม่กระทบผู้อื่น ไม่ผิดกฎหมาย PDPA กันนะ 

 

ข่าวเกี่ยวข้อง :

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

กดเลย >> community แห่งความบันเทิง

ทั้งข่าว หนัง ซีรีส์ ละคร ดนตรี และศิลปินไอดอล ที่คุณชื่นชอบ บนแอปทรูไอดี

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง