รีเซต

แท็กซี่อ่วมโควิด จ่อร้อง ”บิ๊กตู่” ช่วยแก้หนี้ เผย เม.ย.รถเสี่ยงถูกไฟแนนซ์ยึดหมื่นคัน

แท็กซี่อ่วมโควิด จ่อร้อง ”บิ๊กตู่” ช่วยแก้หนี้ เผย เม.ย.รถเสี่ยงถูกไฟแนนซ์ยึดหมื่นคัน
มติชน
2 มีนาคม 2565 ( 15:24 )
67

นายวรพล แกมขุนทด ประธานที่ปรึกษาสมาคมวิชาชีพผู้ขับขี่รถยนต์สาธารณะแท็กซี่ เปิดเผยว่า ผู้ประกอบการขับรถแท็กซี่ ได้รับผลกระทบจากโควิด ต่อเนื่อง2 ปีแล้ว จนปัจจุบันโอมิครอนระบาดหนัก ส่งผลกระทบกับประชาชนทุกสาขาอาชีพ รวมทั้งอาชีพคนขับรถแท็กซี่ เพราะการระบาดเร็วและแรงทำให้ผู้โดยสารไม่กล้าเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ คนขับแท็กซี่ขาดรายได้ ไม่มีเงินผ่อนค่างวด รถถูกยึดแล้ว 5,000-6,000 คัน และมีรถหยุดวิ่งไป 50% จากมีอยู่รถแท็กซี่วิ่งในระบบ 85,092 คัน ตอนนี้เหลือวิ่ง 40,000 คันที่ ซึ่งเดือนเมษายนนี้ จะมีรถที่ซื้อช่วงปี 2561 ยังผ่อนไม่หมดจะถูกยึดอีก 10,000 คัน จะทำให้ทั้งปีถูกยึดกว่า 30,000 คัน หากรัฐบาลไม่เข้ามาช่วยเหลือปรับโครงสร้างหนี้กับไฟแนนซ์ แม้ที่ผ่านมาดำเนินการบ้างแล้ว แต่สถานการณ์ก็ยังไม่ดีขึ้น
“คนขับแท็กซี่มีรายได้วันละ 1,500 บาท ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย มีค่าน้ำมันวันละ 650 บาท ค่างวดวันละ 750 บาท เหลือเงินวันละ 100 บาท ไม่พอกับค่าข้าว 3 มื้อ มีหลายคนปรับตัวไปทำอาชีพอื่นเสริม แต่บางคนที่รับภาระไม่ไหวยอมให้แบงก์ยึดรถ ที่อู่แท็ขณะกซี่ปิดตัวแล้วหลายแห่ง ตอนนี้เหลือ 300 แห่งและเริ่มประกาศขายรถที่จอดทิ้งไว้ ” นายวรพล กล่าว


นายวรพล กล่าวว่า ที่ผ่านมาทางสมาคมได้ยื่นหนังสือถึงหน่วยงานราชการ เช่น กระทรวงคมนาคม กระทรวงการคลัง ให้ช่วยเหลือคนขับแท็กซี่ โดยเจรจากับแบงก์ปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อลดเงินต้นลดดอกเบี้ย พร้อมหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำที่เข้าถึงได้ง่าย เพื่อให้กลุ่มแท็กซี่ปลดล็อกเครดิตบูโรที่เป็นหนี้อยู่ประมาณ 20,000 ล้านบาท อีกทั้งขอให้รัฐเยียวยาพักชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย และให้รัฐเยียวยาค่าปรับการผิดสัญญาค่าเช่าซื้อ และขอให้กระทรวงพลังงานลดราคาค่าก๊าซ NGV

 

“เรายื่นหนังสือไปแล้ว 4 ครั้ง ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือแต่อย่างใด มีเฉพาะข้อเรียกร้องต้นทุนพลังงานที่รัฐยอมตรึงค่าก๊าซถึง 31 มีนาคมนี้ ซึ่งเดือนเมษายน ต้องรอประเมินกันอีกครั้ง ว่าหลังรัฐไม่ตรึงราคาแล้ว จะกระทบต้นทุนแค่ไหน โดยเร็วๆนี้สมาคมจะรวบรวมข้อมูลความเดือดร้อนเพื่อทำหนังสือถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ขอให้ช่วยเหลือกลุ่มรถแท็กซี่อีกครั้ง โดยจะขอให้ช่วยเหลือเรื่องปรับโครงสร้างหนี้และหาแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ ให้แท็กซี่กู้ยืมแบบไม่มีเงื่อนไขโดยเร็ว เพื่อบรรเทาปัญหาก่อนที่รถจะถูกไฟแนนซ์ยึดจนไม่เหลือวิ่งในระบบ ” นายวรพลกล่าว


นายวรพล กล่าวอีกว่า สำหรับรถแท็กซี่ที่จดทะเบียนอยู่ในระบบ 85,092 คัน อยู่ในกรุงเทพ มากที่สุด 81,813 คัน ที่เหลือกระจายในต่างจังหวัด เช่น ชลบุรี 562 คัน อุบลราชธานี 547 คัน เป็นต้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง