รีเซต

ไวรัสโคโรนา : ออกนอกบ้านตามเลขท้ายบัตรประชาชน 1 ในมาตรการสู้โควิด-19 ในต่างแดน

ไวรัสโคโรนา : ออกนอกบ้านตามเลขท้ายบัตรประชาชน 1 ในมาตรการสู้โควิด-19 ในต่างแดน
บีบีซี ไทย
2 เมษายน 2563 ( 15:11 )
68
ไวรัสโคโรนา : ออกนอกบ้านตามเลขท้ายบัตรประชาชน 1 ในมาตรการสู้โควิด-19 ในต่างแดน

ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกออกมาตรการรับมือกับโรคโควิด-19 อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นกับวิกฤตครั้งไหนมาก่อน มีตั้งแต่แบบสุดโต่งไปจนถึงที่มาจากความคิดสร้างสรรค์น่าสนใจ

1. ปานามา

ประเทศในแถบอเมริกากลางแห่งนี้มีตัวเลขยืนยันผู้ติดเชื้อ 1,000 ราย โดยทางการใช้มาตรการให้ผู้ชายและผู้หญิงออกนอกบ้านคนละเวลากัน โดยตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. เป็นต้นไป ผู้ชายและผู้หญิงต้องออกนอกบ้านคนละวัน และครั้งละ 2 ชั่วโมงเท่านั้น โดยวันอาทิตย์ห้ามไม่ให้ใครออกนอกบ้านเลย

2. โคลอมเบีย

บางเมืองในโคลอมเบีย คนจะออกนอกบ้านได้วันไหนต้องดูตามเลขบัตรประชาชนตัวสุดท้าย

ตัวอย่าง เช่น ชาวเมืองบาร์รันกาเบอร์เมฮา คนที่เลขบัตรประชาชนลงท้ายด้วย 0, 7 และ 4 สามารถออกจากบ้านได้วันจันทร์ ส่วนคนที่เลขบัตรลงท้ายด้วย 1, 8 หรือ 5 ออกจากบ้านได้วันอังคาร

โบลิเวีย ประเทศเพื่อนบ้าน ก็กำลังเสนอมาตรการคล้ายกัน

AFP
คนที่เมืองบาร์รันกาเบอร์เมฮา คนที่เลขบัตรประชาชนลงท้ายด้วย 0, 7 และ 4 สามารถออกจากบ้านได้วันจันทร์

3. เซอร์เบีย

ก่อนหน้านี้ รัฐบาลเซอร์เบียจัดให้มีช่วงพาหมาไปเดินเล่นระหว่าง 2 ทุ่ม ถึง 3 ทุ่ม แต่ก็ยกเลิกไปแล้ว ซึ่งทำให้คนเลี้ยงหมาไม่พอใจมาก

สัตวแพทย์คนหนึ่งบอกว่าการไม่พาหมาไปเดินเล่นตอนเย็นอาจทำให้หมาที่มีปัญหาระบบปัสสาวะอยู่แล้วยิ่งอาการแย่เข้าไปใหญ่ และยิ่งทำให้สุขอนามัยในบ้านผู้เลี้ยงแย่ลง

4. เบลารุส

EPA
ประธานาธิบดีแนะนำว่าการดื่มวอดก้าและอบซาวน่าจะช่วยป้องกันการติดเชื้อได้

ประธานาธิบดีอเล็กซานเดอร์ ลูกาเชนโก ของเบลารุส ไม่เชื่อว่าประเทศต้องมีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา โดยบอกว่าเขาไม่เห็นไวรัสลอยไปมาในอากาศเลย

เขาให้สัมภาษณ์ในสนามแข่งฮ็อกกี้น้ำแข็งว่า คนที่มาดูกีฬาล้วนสุขภาพดีเพราะความเย็นในสนามจะสกัดไม่ให้ไวรัสแพร่ระบาด ทั้ง ๆ ที่ไม่มีหลักฐานว่านี่เป็นเรื่องจริง และมนุษย์เราก็ไม่สามารถเห็นไวรัสโคโรนาด้วยตาเปล่าได้

นอกจากนี้ เขายังแนะนำว่าการดื่มวอดก้าและอบซาวน่าจะช่วยป้องกันการติดเชื้อได้ ซึ่งนี่ไม่ใช่สิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำเลย

5. สวีเดน

แม้ว่ามีผู้ติดเชื้อเกือบ 4,500 ราย แต่รัฐบาลสวีเดนก็ยังไม่ได้มีมาตรการอะไรที่เข้มงวดนัก โดยพวกเขาหวังว่าประชาชนจะประพฤติตัวเองอย่างเหมาะสมและมีความรับผิดชอบ

ขณะนี้มีการประกาศห้ามคนมากกว่า 50 คนขึ้นไปชุมนุมแล้ว แต่โรงเรียนสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 16 ปี ยังเปิดอยู่

ผับและร้านอาหารก็ยังเปิดให้ลูกค้าเข้าไปกินดื่มได้อยู่ ประชาชนก็ยังสังสรรค์ไปมาหาสู่ตามปกติ

มีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับวิธีรับมือนี้ คงต้องรอดูกันว่ามาตรการแบบนี้จะส่งผลดีหรือเสียกันแน่

6. มาเลเซีย

รัฐบาลมาเลเซียต้องออกมาขอโทษหลังจากที่กระทรวงการพัฒนาสตรีและครอบครัวโพสต์รูปการ์ตูนในโลกออนไลน์ แนะนำให้ผู้หญิงแต่งตัวสวย ๆ แต่งหน้าทาปาก และหยุดบ่นสามีในช่วงที่ต้องปิดประเทศบางส่วน

สุดท้ายทางการต้องลบโพสต์นี้หลังจากโดนคนในโซเชียลมีเดียวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก

7. เติร์กเมนิสถาน

มาตรการรับมือไวรัสโคโรนาในเติร์กเมนิสถานไปคนละทิศละทางกับทั่วโลกถึงขั้นสั่งห้ามใช้คำว่า "ไวรัสโคโรนา"

Getty Images

เว็บไซต์ข่าวอิสระ เดอะเติร์กเมนิสถาน ครอนนิเคิล (Turkmenistan Chronicle) ซึ่งถูกบล็อกในประเทศ บอกว่ารัฐบาลได้ลบคำว่าไวรัสโคโรนาออกจากแผ่นพับให้ความรู้ด้านสาธารณสุข นักข่าวที่ทำงานให้กับช่องรายการวิทยุอาซาตลิค (Radio Azatlyk) บอกว่า คนที่พูดถึงไวรัสโคโรนา หรือใส่หน้ากากอนามัย อาจโดนจับกุมตัวได้

ทางการเติร์กเมนิสถานบอกว่าไม่มีผู้ติดเชื้อในประเทศแม้ว่าจะอยู่ติดกับอิหร่านซึ่งเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนาหนักที่สุดประเทศหนึ่ง

8. ออสเตรีย

ออสเตรียออกกฎบังคับให้คนใส่หน้ากากอนามัยในซูเปอร์มาร์เก็ต แม้ว่าองค์การอนามัยโลกจะบอกว่าคนที่สุขภาพแข็งแรงดีไม่จำเป็นต้องใส่ นอกเสียจากว่าจะเป็นผู้ดูแลคนป่วย

ข้อบังคับนี้เสนอโดยนายกรัฐมนตรีเซบาสเตียน คูร์ซ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. และมีการแจกจ่ายหน้ากากอนามัยให้ประชาชนหลายล้านชิ้น

แม้ว่าการใส่หน้ากากเป็นสิ่งที่เห็นได้ทั่วไปในเอเชีย แต่ออสเตรียเป็นประเทศที่ 4 ในยุโรปเท่านั้นที่ออกกฎบังคับใส่หน้ากากในที่สาธารณะ ก่อนหน้านี้คือ สาธารณรัฐเช็ก สโลวาเกีย และบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา

Getty Images

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง