รีเซต

เริ่มแล้วประชุมเจทีซี ไทย-ภูฏาน"จุรินทร์"เผยช่องทางขยายการค้า-ลงทุน ตลาดใหม่

เริ่มแล้วประชุมเจทีซี ไทย-ภูฏาน"จุรินทร์"เผยช่องทางขยายการค้า-ลงทุน ตลาดใหม่
มติชน
28 เมษายน 2565 ( 15:54 )
53

วันที่ 28 เมษายน เวลาประมาณ 15.00น.  นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พร้อมนายลินโป ล็อกนัท ชาร์มา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ (หัวหน้าคณะผู้แทนภูฏาน) เปิดประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee: JTC) ไทย-ภูฏาน (ระดับรัฐมนตรี) ครั้งที่ 4 ที่โรงแรมดุสิตธานี ลากูน่า ภูเก็ต อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต

 

โดยนายจุรินทร์ กล่าวว่า ในนามของรัฐบาลไทย ตนมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ต้อนรับท่านรัฐมนตรีล็อกนัท ชาร์มา และคณะผู้แทนจากภูฏานในการเดินทางเยือนไทย เพื่อเข้าร่วมการประชุม JTC ไทย-ภูฏาน ครั้งที่ 4 ซึ่งถือเป็นการพบกันครั้งแรกระหว่างท่านรัฐมนตรีกับตนและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านจะได้รับความสะดวกสบายตลอดช่วงการเดินทางเยือนไทยที่จังหวัดภูเก็ต ในครั้งนี้ ตนมีความยินดีที่จะเรียนให้ท่านรัฐมนตรีทราบว่า จังหวัดภูเก็ตถือว่าเป็นจังหวัดเศรษฐกิจสําคัญของไทย โดยได้ชื่อว่าเป็น “ไข่มุกแห่งอันดามัน” เป็นจังหวัดที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะสถาปัตยกรรมชิโนโปรตุกีส จึงได้รับการขนานนามว่าเป็นเมือง East Meets West นอกจากนั้น ภูเก็ตยังมีธรรมชาติ ท้องทะเลที่สวยงาม จึงทําให้ภูเก็ตเป็นจุดหมาย ปลายทางของนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลก และยังเป็นสถานที่ที่ผู้กํากับภาพยนตร์ระดับโลกใช้เป็นสถานที่ในการถ่ายทําภาพยนตร์หลายเรื่อง นอกจากนี้ ภูเก็ตยังมีเอกลักษณ์ทางด้านอาหาร โดยเมื่อปี ค.ศ.2015 ยูเนสโก (UNESCO) ได้ประกาศให้จังหวัดภูเก็ตเป็นเมืองสร้างสรรค์ ด้านวิทยาการอาหาร หรือ City of Gastronomy เนื่องจากภูเก็ตมีอาหารพื้นเมืองที่มีความ หลากหลาย และยังสะท้อนถึงวัฒนธรรมของชาวภูเก็ตด้วย

 

ไทยกับภูฏานมีความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับราชวงศ์จนถึง ระดับประชาชนมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะมีความเชื่อมโยงทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรม นอกจากนั้นตนยังได้รับทราบด้วยความขอบคุณว่า ภูฏานชื่นชมความสําเร็จในการพัฒนาประเทศของไทย โดยเฉพาะทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดในการพัฒนาประเทศของภูฏาน ที่ให้ความสําคัญกับความสุขมวลรวมประชาชาติ หรือ Gross National Happiness

 

นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า ตนยินดีที่ได้ทราบว่า ตั้งแต่การประชุม JTC ไทย-ภูฏาน ครั้งแรก เมื่อปี ค.ศ.2016 ทั้งสองฝ่ายก็ได้มีการดําเนินความร่วมมือทางเศรษฐกิจในหลายมิติ ครอบคลุมความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนการท่องเที่ยว การเกษตร หัตถกรรม และสาธารณสุข ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ภูฏาน ซึ่งมีผลทําให้มูลค่าการค้าของทั้งสองฝ่ายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ และตนเห็นว่า ภูฏานดําเนินนโยบายเพื่อสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมหภาคมาอย่างต่อเนื่อง มีความก้าวหน้าทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยมีนโยบายเชิงรุก อาทิเช่น การปรับนโยบายที่เน้นการเข้าถึงการศึกษาของประชาชน และการพัฒนาขีดความสามารถในด้านอุปทานและสร้างโอกาสการจ้างงานผ่านการพัฒนาภายในประเทศในด้านต่างๆ เช่น การท่องเที่ยว และไฟฟ้าพลังน้ํา เป็นต้น รวมทั้งการดําเนินนโยบายเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างเข้มแข็ง ทําให้เมื่อปี ค.ศ.2018 องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้ภูฏานหลุดพ้นจากการเป็นประเทศกำลังพัฒนา ตนจึงขอถือโอกาสนี้แสดงความยินดีกับภูฏานในการก้าวเข้าสู่ประเทศกําลังพัฒนาในปี พ.ศ.2566 นี้ ตนหวังว่า การประชุม JTC ในวันนี้จะเป็นโอกาสอันดีในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับภูฏานได้อย่างยั่งยืนต่อไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง