รีเซต

เช็กที่นี่! จังหวัดเสี่ยงน้ำท่วม ดินถล่ม น้ำล้นตลิ่ง จาก “ฝนตกหนัก” ช่วง 8-11 ก.ย. 64

เช็กที่นี่! จังหวัดเสี่ยงน้ำท่วม ดินถล่ม น้ำล้นตลิ่ง จาก “ฝนตกหนัก” ช่วง 8-11 ก.ย. 64
Ingonn
8 กันยายน 2564 ( 10:38 )
317

หลังจากกรมอุตินิยมวิทยาประกาศเตือน จังหวัดในภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรืออีสาน มีฝนตกหนักมากในช่วงระหว่างวันที่  7-10 ก.ย. 64 ทางกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ หรือกอนช. จึงได้แจ้งเตือนประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง ระวังน้ำหลาก ดินถล่ม น้ำล้นตลิ่ง และอ่างเก็บน้ำมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ช่วง 8-12 ก.ย. นี้ ถ้าใครกลัวบ้านตัวเองจะน้ำท่วม รีบเช็กกันเลยว่ามีจังหวัดไหน อยู่ในพื้นที่เสี่ยงบ้าง

 

 


กอนช. ประกาศเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก ดินถล่ม น้ำล้นตลิ่ง และอ่างเก็บน้ำมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ช่วง 8-12 ก.ย. นี้ จากอิทธิพลของร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ในบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ในช่วงวันที่ 8–11 กันยายน 2564

 

 

 

กอนช. ได้คาดการณ์ปริมาณฝนตก (ONE MAP) ร่วมกับกรมอุตุนิยมวิทยา และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก ของกรมทรัพยากรน้ำ และกรมทรัพยากรธรณี พบว่าในช่วงวันที่ 8 – 12 กันยายน 2564 มีพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังอุทกภัย ดังนี้

 

 


จังหวัดที่ต้องระวังน้ำหลาก ดินถล่ม

 

บริเวณภาคเหนือ

ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำปาง ตาก พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก และอุทัยธานี

 

 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ได้แก่ จังหวัดเลย ชัยภูมิ ขอนแก่น ร้อยเอ็ด มหาสารคาม นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี

 

 

ภาคตะวันตก

จังหวัดกาญจนบุรี

 

 

ภาคตะวันออก

จังหวัดฉะเชิงเทรา สระแก้ว นครนายก ปราจีนบุรี ชลบุรี จันทบุรี และตราด 

 

 

 


จังหวัดที่ต้องระวังระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น กระทบพื้นที่บริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำ 


ประกอบด้วย อ่างเก็บน้ำมูลบน จังหวัดนครราชสีมา และอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา จังหวัดปราจีนบุรี และอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง จำนวน 30 แห่ง ประกอบด้วย 

 


ภาคเหนือ

จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำสันหนอง อ่างเก็บน้ำห้วยแม่งอน และอ่างเก็บน้ำน้ำแหง 

 

 


ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

จำนวน 17 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำสวย อ่างเก็บน้ำน้ำเลย อ่างเก็บน้ำห้วยทรายขมิ้น อ่างเก็บน้ำห้วยส้มป่อย อ่างเก็บน้ำน้ำพรม อ่างเก็บน้ำห้วยส้มโฮง อ่างเก็บน้ำห้วยหินลับ อ่างเก็บน้ำห้วยไร่ อ่างเก็บน้ำห้วยทา อ่างเก็บน้ำห้วยขาหน้า อ่างเก็บน้ำห้วยเดือนห้า อ่างเก็บน้ำห้วยโดน อ่างเก็บน้ำลำเชียงสา อ่างเก็บน้ำบ้านสันกำแพง อ่างเก็บน้ำลำเชียงไกรตอนบน อ่างเก็บน้ำลำเชียงไกรตอนล่าง และอ่างเก็บน้ำหนองกก 

 

 


ภาคตะวันออก

จำนวน 10 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำศาลทราย อ่างเก็บน้ำห้วยตู้ 1 อ่างเก็บน้ำทับลาน อ่างเก็บน้ำคลองระโอก อ่างเก็บน้ำบ้านมะนาว อ่างเก็บน้ำด่านชุมพล อ่างเก็บน้ำคลองสะพานหิน อ่างเก็บน้ำช่องกล่ำล่าง อ่างเก็บน้ำคลองสีเสียด และอ่างเก็บน้ำคลองวังบอน

 

 

 


ระวังระดับน้ำในลำน้ำมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นล้นตลิ่ง และท่วมขังบริเวณที่ลุ่มต่ำ


ภาคเหนือ

บริเวณแม่น้ำน่าน จังหวัดน่าน และจังหวัดอุตรดิตถ์ แม่น้ำเข็ก และแม่น้ำแควน้อย จังหวัดพิษณุโลก แม่น้ำสะแกกรัง จังหวัดอุทัยธานี แม่น้ำปิง คลองวังเจ้า และคลองสวนหมาก จังหวัดกำแพงเพชร

 

 

 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

บริเวณแม่น้ำชี ช่วงอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ และแม่น้ำมูล ช่วงอำเภอพิมาย และลำเชียงไกร อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา 

 

 

 

ภาคกลาง

บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย และคลองโผงเผง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

 

 

 

ภาคตะวันออก

บริเวณแม่น้ำปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี

 

 

 

แม่น้ำโขง

บริเวณจังหวัดเลย จนถึงจังหวัดอุบลราชธานี มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง 

 

 

 

การเตรียมความพร้อมรับน้ำท่วม ดินถล่ม


เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ ดังนี้

 


1. ติดตามสภาพอากาศและสภาพน้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำ

 


2. ปรับแผนบริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 90 หรือเกณฑ์ควบคุมสูงสุด (Upper Rule Curve) ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์น้ำ พร้อมพิจารณาบริหารจัดการเขื่อนระบายน้ำและประตูระบายน้ำ เพื่อพร่องน้ำและเร่งระบายน้ำในลำน้ำ แม่น้ำ รวมทั้งใช้พื้นที่ลุ่มต่ำเป็นแก้มลิงหน่วงน้ำและรองรับน้ำหลาก

 


3. ตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงและความสามารถใช้งานของอ่างเก็บน้ำ อาคารบังคับน้ำ และติดตาม ตรวจสอบ ซ่อมแซม แนวคันบริเวณริมแม่น้ำและกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ เพื่อเตรียมความพร้อมรับน้ำหลากป้องกันน้ำท่วม ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 


4. เตรียมแผนเผชิญเหตุรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ รวมถึงความพร้อมของระบบสื่อสารสำรอง เพื่อบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนได้ทันที

 


5. ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ และแจ้งเตือนล่วงหน้า ให้ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ เตรียมพร้อมในการอพยพได้ทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์

 

 

 

ข้อมูลจาก กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง