รีเซต

เจาะนโยบายเทคฯ ปราบทุจริตภาครัฐ สู้ศึกเลือกตั้ง EP.3 | TNN Tech Reports

เจาะนโยบายเทคฯ ปราบทุจริตภาครัฐ สู้ศึกเลือกตั้ง EP.3  | TNN Tech Reports
TNN ช่อง16
11 พฤษภาคม 2566 ( 16:17 )
38
เจาะนโยบายเทคฯ ปราบทุจริตภาครัฐ สู้ศึกเลือกตั้ง EP.3  | TNN Tech Reports



จากผลสำรวจของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยระบุชัดเจนว่า ประชาชนมองว่าปัญหาคอร์รัปชันเป็นปัญหาสำคัญอันดับหนึ่งของประเทศ และกว่าร้อยละ 95 มองว่า นโยบายด้านการปราบทุจริตคอร์รัปชันมีผลต่อการตัดสินใจเลือกพรรคการเมือง บทความนี้เราจะพาคุณไปดูการนำเสนอแนวทางการใช้เทคโนโลยีมาแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน  ของ 3 พรรคการเมืองใหญ่ของประเทศไทย ได้แก่ พรรคพลังประชารัฐ, พรรคภูมิใจไทย, และพรรคประชาธิปัตย์




"พรรคพลังประชารัฐ"


ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์

รมว.ดิจิทัลฯ 

รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ


"ทำให้ไม่ต้องมีปัญหาเรื่องการเข้าไปวิ่งเต้นหรือไปจ่ายเงินใต้โต๊ะ อยู่ที่ว่ารัฐบาลต่อไปคงต้องไปบังคับใช้ หรือไปปฏิบัติให้ทุกหน่วยงานปฏิบัติให้ครบถ้วนทั้งหมดตามที่กฎหมายวางไว้ การใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ในการประมูลงาน หรือการประกาศเชิญชวนต่าง ๆ เราทำไปได้สมบูรณ์แล้ว คงต้องลงไปเข้มงวดที่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 


ไม่ให้มีการเอาข้อมูลให้รั่วไหล หรือเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ที่มายื่นประมูล คงเป็นเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย แต่ว่าตัวระบบผมว่าดีมากแล้วนะครับ

ตอนนี้ถ้าเราไปโหลดแอปฯ ชื่อว่าไทยดีก็คือไทยไอดี สามารถยืนยันตัวตน มียูเซอร์เนม พาสเวิร์ด สามารถใช้บัตรประชาชนที่ติดต่อราชการออนไลน์ได้ หรือไปทำธุรกรรมต่าง ๆ ออนไลน์ได้ ก็อยากให้ระบบนี้ส่งต่อไปยังรัฐบาลต่อไป ที่มาผลักดันให้มีการใช้อย่างแพร่หลายและกว้างขวางมากยิ่งขึ้น อยากให้ประชาชนทุกคน มีดิจิทัลไอดีใช้ในการทำธุรกรรมออนไลน์ทั้งหมด"



"พรรคภูมิใจไทย"


อิสราพร บูรณอรรจน์ 

ผู้สมัคร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ

พรรคภูมิใจไทย


"เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในเรื่องของการแก้ไขปัญหาทุจริตมานานแล้ว ถ้าเราเอาเทคโนโลยีอื่น ๆ เอาคลาวน์ เอาเอไอเข้ามา มันดีค่ะ แต่ถามว่ามันเป็นวิธีการศักดิ์สิทธิ์ที่สุดไหมที่จะแก้ไขปัญหา ต้องบอกว่าไม่ เพราะต้องยอมรับว่าอีบิดดิ้งก็แล้ว มีเทคนิคการเงินก็แล้ว แต่ปัญหาเราก็ยังเห็นกันอยู่ว่า การต่อสัมประทานก็ยังไม่เป็นธรรม การจัดซื้อจัดจ้างก็ยังเป็นปัญหาอยู่


การที่เราตั้งคำถามว่า เทคโนโลยีอะไรจะมาแก้ปัญหานี้เป็นคำถามที่ดี เพียงแต่ว่าปัญหาอีกอย่างหนึ่งก็คือว่า ผู้มีอำนาจ คุณเห็นข้อมูลทุกอย่างแล้วที่เทคโนโลยีไปติดตาม ไปรวบรวมมาทุกอย่าง แล้วเห็นความไม่ชอบมาพากล คุณกล้าที่จะกดปุ่ม คุณกล้าที่จะลงดาบเรื่องนี้ไหม 


เรื่องของรถไฟฟ้าสายสีเขียว/พยายามจะต่อสัมปทานละกัน ออกไปเป็นอีก 20 - 30 ปี แล้วเรื่องของค่าโดยสารก็อาจจะพุ่งไปถึง 65 บาท เพราะฉะนั้นมันเกิดภาระกับประชาชนมาก ทุกคนรู้ โลกรู้ เรื่องนี้ ข่าวตีทุกวัน แต่ถามว่ามีใครมาเทคแอ็คชั่นไหม


ถ้าบริบทของสังคมไทยยังเป็นแบบนี้ ถ้าผู้มีอำนาจยังมีช่องในการที่จะละเลยเพิกเฉยต่อข้อมูลที่เขาเห็น การมีเทคโนโลยีคุณจะมีซุปเปอร์คอมพิวเตอร์มาตั้งอยู่ในประเทศไทย ถ้ายังเป็นแบบนี้มันก็ไม่ต่างอะไรกับการมีเครื่องพิมพ์ดีด"



"พรรคประชาธิปัตย์"


เกียรติ สิทธิอมร

ผู้สมัคร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ

พรรคประชาธิปัตย์


"ผมคิดว่าภาคประชาสังคมต้องมีบทบาทในเรื่องนี้ สภาวิศวกรรม สภาสถาปนิกไม่เคยมีส่วนในการออกแบบ TOR ภาคประชาสังคม ภาคเอกชนต้องเข้ามามีส่วนร่วม แต่ที่ผ่านมาไม่เปิด หน่วยงานราชการทำกันเอง เทคโนโลยีมีส่วนบ้าง แต่ใช้เฉพาะโครงการที่เล็ก 


โครงการใหญ่ก็ยื่นเป็นเอกสาร TOR คือตัวที่ทำให้โกง ถ้า TOR แคบ วางสเปคไว้ ราคาก็จะถีบสูงขึ้นถ้าเราเป็นสเปคที่เปิดกว้างแล้วคนเข้ามายื่นได้เยอะมาก แบบนั้นล่ะราคาก็ต่ำลง


การเปิดเผยข้อมูล อันนี้เรื่องใหญ่ที่สุด คุณไม่เปิดเผยข้อมูล คุณจะมีเทคโนโลยีอะไรก็แก้ไม่ได้ ไม่ใช่ย้อนหลังด้วยนะ แต่ก่อนที่จะทำการออกแบบ TOR เราไม่อยากได้ One Stop Service แต่อยากได้ No Stop Service ทุกอย่างออนไลน์แพลตฟอร์ม จะทำ TOR ทำผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์เลยถามความเห็นจากผู้ประกอบการ จากประชาชนเลย ร่าง TOR ผมออกมาแบบนี้ พวกคุณมีความเห็นอย่างไร แบบนี้สิโปร่งใสที่สุด"


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง