ร่วมสร้างสรรค์และออกแบบพื้นที่ทำงานในอนาคต
กรุงเทพฯ17กันยายน2563 – “พื้นที่ทำงาน” ในแต่ละยุคแต่ละสมัยเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพเศรษฐกิจ สังคม และความก้าวหน้าของเทคโนโลยี หากถามถึง “พื้นที่ทำงานในอนาคต” จะเป็นรูปแบบใด โดยเฉพาะเมื่อโควิด-19 เป็นตัวเร่งการเปลี่ยนแปลงวิถีการทำงานของผู้คน ทรูดิจิทัลพาร์ค ศูนย์กลางเทคและสตาร์ทอัพที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน โดย ดร.ธาริต นิมมานวุฒิพงษ์ ผู้จัดการทั่วไป ชวนคิดสร้างสรรค์และออกแบบพื้นที่ทำงานในอนาคต หรือ 'The Future Workspace' ผ่านเวที ‘STARTUP THAILAND 2020 x INNOVATION THAILAND EXPO 2020’พาย้อนอดีตไปศึกษาวิวัฒนาการ และแนวคิดการออกแบบพื้นที่ทำงานในยุคต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบพื้นที่ทำงานในอนาคต ที่จะตอบโจทย์การทำงานยุคดิจิทัล
รู้จัก Workspace
Workspace หรือพื้นที่ทำงานโดยทั่วไปประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่ People คนที่ทำงาน ซึ่งในยุคนี้อาจมีการใช้หุ่นยนต์ด้วยในบางธุรกิจ,Process แบบแผนในการประกอบธุรกิจไม่ว่าจะเป็นออฟฟิศ ใช้คอมพิวเตอร์หรือถ้าเป็นโรงงานอาจเป็นการประกอบชิ้นส่วน สุดท้ายคือPlatform เป็นพื้นที่ที่เอื้ออำนวยให้คนทำกิจกรรมทางธุรกิจ ทั้ง Offline Platform เช่น อาคารสำนักงาน โรงงาน และปัจจุบันมี Platform แบบ Online ทำงานหรือประชุมกันผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งองค์กรต้องคำนึงถึงในการออกแบบพื้นที่ทำงาน
จากออฟฟิศแบบฉากกั้น สู่พื้นที่ทำงานแบบเปิดโล่ง
พื้นที่ทำงานเปลี่ยนไปตามกาลเวลาจากยุค2.0 มีทั้งโรงงานและส่วนออฟฟิศรวมอยู่ด้วยกัน ต่อมามีการจัดแบ่งที่นั่งทำงานในพื้นที่ค่อนข้างใหญ่ จากนั้นปรับลดพื้นที่ลงและมี partition กั้นเพื่อความเป็นส่วนตัว ซึ่งพัฒนามาเป็นออฟฟิศแบบคอก หรือ CUBICLE FARMในยุค 3.0 เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของพื้นที่ทำงานพร้อมการมาของ Wi-Fi ทำให้เกิด Open Space Office เป็นบรรทัดฐานออฟฟิศสมัยใหม่ นอกจากนี้ยังมี Casual Office อย่างบริษัทยักษ์ใหญ่ในซิลิคอน วัลเลย์ที่ผสานชีวิตทำงานกับชีวิตส่วนตัวไว้ด้วยกัน ในปีค.ศ.1995 Co-working space ได้เกิดขึ้นจากเหล่าโปรแกรมเมอร์ที่มานั่งทำงานแบบเป็นกันเอง จนช่วงวิกฤตเศรษฐกิจในปีค.ศ. 2008 Co-working space เป็นทางเลือกของหลายบริษัทที่ต้องการลดต้นทุน เนื่องจากไม่ต้องเสียค่าตกแต่งและค่าเช่าพื้นที่ระยะยาว ทั้งยังทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์ในการทำงานได้เป็นอย่างดี
Co-working spaceจะเป็นพื้นที่ทำงานในอนาคตหรือไม่
แม้ว่า Co-working space จะตอบโจทย์เรื่องProductivityและ Cost Efficiencyหรือความคุ้มค่าในการใช้เงิน ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของธุรกิจทุกยุคทุกสมัย แต่เทรนด์วิถีการทำงานก็เปลี่ยนแปลงจากผลกระทบของโควิด-19ซึ่งองค์กรธุรกิจควรพิจารณาแนวทาง 3 เรื่องด้วย ได้แก่ Financial Sustainability การลดค่าใช้จ่ายให้น้อยลงเท่าที่เป็นไปได้Flexibilityความยืดหยุ่นในด้านพื้นที่ทำงาน การทำงานที่ออฟฟิศ, Work from Home หรือใช้เทคโนโลยีมาช่วย และ Individual Realizationเมื่อคนทำงานจากที่บ้าน มีเวลาอยู่กับตัวเอง และเข้าใจตัวเองมากขึ้น ชีวิตส่วนตัวกับชีวิตการทำงานจะควบรวมกันไป ทำให้พนักงานรู้จักตัวเองมากขึ้นมี Self-Realization ส่งผลต่อพื้นที่ทำงานโดยตรง องค์กรจึงต้องทำความเข้าใจเพื่อให้สามารถออกแบบพื้นที่ทำงานได้ตรงใจพนักงานและตอบโจทย์เป้าหมายของธุรกิจ
พื้นที่ทำงานในอนาคตไม่มีสูตรตายตัว การออกแบบพื้นที่ทำงานในอนาคตย่อมแตกต่างกันไปในแต่ละธุรกิจ จึงไม่มีสูตรตายตัว แต่บิ๊กดาต้าจะช่วยให้ธุรกิจสามารถออกแบบพื้นที่ทำงานได้อย่างเหมาะสมตรงใจพนักงานและตรงโจทย์ธุรกิจ ดังนั้น องค์กรจึงควรเก็บข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ปริมาณงานของพนักงานแต่ละคน, ข้อมูลสุขภาพร่างกายและจิตใจ, Self-Realization ตัวตนและความต้องการที่แท้จริงของพนักงาน, บุคลิกภาพ, ข้อมูลการใช้จ่ายในด้านต่างๆ ของบริษัท รวมถึงผลประกอบการของธุรกิจ เพื่อข้อมูลนำมาใช้ในการออกแบบและปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในที่ทำงานอย่างต่อเนื่อง สร้างความสมดุลที่ลงตัว ซึ่งจะนำไปสู่การออกแบบพื้นที่ทำงานแห่งอนาคตที่ยั่งยืนของธุรกิจ
เมื่อโควิด-19 ทำให้จังหวะการใช้ชีวิตและการทำงานเปลี่ยนไป องค์กรธุรกิจจะออกแบบพื้นที่ทำงานในอนาคตอย่างไร รับชม 'The Future Workspace' ย้อนหลังแบบเต็มๆ ได้ที่ https://stxite2020.nia.or.th/sessions/115