รีเซต

สธ.ยังไม่ลดเตือนภัยโควิดระดับ 4 หลังพบแนวโน้มกทม.-ปริมณฑล ยอดติดเชื้อพุ่ง

สธ.ยังไม่ลดเตือนภัยโควิดระดับ 4 หลังพบแนวโน้มกทม.-ปริมณฑล ยอดติดเชื้อพุ่ง
TNN ช่อง16
21 มกราคม 2565 ( 13:21 )
124
สธ.ยังไม่ลดเตือนภัยโควิดระดับ 4 หลังพบแนวโน้มกทม.-ปริมณฑล ยอดติดเชื้อพุ่ง

ข่าววันนี้ (21 ม.ค.65) นพ.เกียรติภูมิ วงษ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยถึงสถานการณ์การระบาดของเชื้อโควิด-19 ในไทยว่า สัดส่วนสายพันธุ์ที่ระบาดในไทยขณะนี้ ร้อยละ 87 เป็นสายพันธุ์โอมิครอน 

 

ส่วนผู้ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ พบผู้ติดเชื้อทั้งหมดเป็นสายพันธุ์โอมิครอน โดยการระบาดในระลอก มกราคม 2565 ยังไม่ถึงจุดพีคของการระบาดตามแบบจำลองสถานการณ์ เนื่องจากกระทรวงสาธารณสุขมีมาตรการควบคุมโรค เพื่อชะลอการแพร่ระบาดจึงทำให้กดตัวเลขผู้ติดเชื้อลงมาได้ 

 

แต่สถานการณ์ติดเชื้อล่าสุด ห่วงพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล หลังพบผู้ติดเชื้อสูงขึ้น ซึ่งมาจากหลายปัจจัยเพราะเป็นพื้นที่สีฟ้านำร่องการท่องเที่ยว และมาตรการต่างๆ ที่ผ่อนคลายกว่าจังหวัดอื่น รวมถึงเป็นจังหวัดที่มีการเคลื่อนที่ของประชากรมากที่สุด 

 

ส่วนสถานการณ์ติดเชื้อในจังหวัดอื่นๆ พบแนวโน้มการติดเชื้อลดลง เช่น ชลบุรี สมุทรปราการ ภูเก็ต สถานการณ์การติดเชื้อทรงตัว

 

ขณะที่ สัดส่วนผู้ที่เคยติดเชื้อมาแล้วและติดเชื้อซ้ำ พบ เป็นสายพันธุ์โอมิครอน หมายความว่า ภูมิจากการติดเชื้อก่อนหน้านี้ ไม่สามารถกันเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนได้ส่วนผู้ติดเชื้อแล้วฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์ พบว่าอาการไม่รุนแรง 

 

 

ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข ยังคงเตือนภัยโควิด-19 ทั่วประเทศ เป็นระดับที่ 4 ยังไม่ลดการเตือนภัยโควิด โดยเน้นพื้นที่กรุงเทพฯปริมณฑล และจังหวัดสีฟ้า ที่เป็นพื้นที่นำร่องการท่องเที่ยว ที่ยังคงขอความร่วมมือให้เคร่งครัดมาตรการด้านสาธารณสุข เพราะพบสัญญาณการแพร่ระบาดเพิ่มมากขึ้น 

 

ขณะที่ ภาพรวมการฉีดวัคซีนไทยฉีดวัคซีนสะสม 112 ล้านโดส ถือว่าเป็นการฉีดวัคซีนเยอะที่สุดของประเทศไทย แบ่งเป็นเข็ม 1 ร้อยละ 72 เข็ม 2 ร้อยะล 67 และเข็ม 3 ร้อยละ 15.8

 

โดยการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเป็นไปตามเป้าที่วางไว้ และมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการเร่งฉีดวัคซีน และร่นระยะเวลาฉีดวัคซีนเข็ม 3 ให้เร็วขึ้น ซึ่งวัคซีนที่นำมาใช้ฉีดเข็ม 3 มากที่สุด คือ ไฟเซอร์ ส่วนการฉีดวัคซีนเข็ม 4 ตอนนี้เน้นในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเสี่ยงก่อน 

 

"ตามสูตรการฉีดวัคซีนหากได้รับวัคซีนสุดไขว้ ซิโนแวคเข็มที่ 1 และตามด้วย แอสตร้าฯ เข็มที่ 3 ควรจะเป็น แอสตร้าฯ แต่หากฉีดวัคซีนแอสตร้าฯ ครบ 2 เข็มเข็มที่ 3 ก็จะเป็นวัคซีนไฟเซอร์ ซึ่งปีนี้ได้มีการเตรียมวัคซีนเข็มกระตุ้น แบ่งเป็น วัคซีนแอสตร้าฯ 60 ล้านโดส และไฟเซอร์ 30 ล้านโดส" นพ.เกียรติภูมิ ระบุ

 

ขณะเดียวกัน ยังพบในในกลุ่มผู้สูงอายุ รับวัคซีนเข็ม 1 เพียงร้อยละ 70  หมายความว่า ในผู้สูงอายุ 100 คน ก็อาจจะมีผู้สูงอายุอีก 20-30 คน ไม่ได้รับวัคซีน เนื่องจากเข้าไม่ถึง ไม่มั่นใจ กังวลถึงผลข้างเคียง จึงขอเชิญชวนให้เข้ารับวัคซีน โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไปและป่วยเรื้อรัง และนอนติดเตียง บุตรหลานควรที่จะพามาฉีดวัคซีนโควิดหรือประสานงานให้สาธารณสุขใกล้บ้านไปฉีดวัคซีนให้ถึงที่ 

 

 

นพ.เกียรติภูมิ กล่าวต่อว่า แม้เชื้อโอมิครอน ถึงแม้จะไม่มีอาการรุนแรง แต่ก็อยากให้ผู้สูงอายุที่ยังไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น มาเข้ารับวัคซีนให้มากที่สุด เนื่องจากเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงหากติดเชื้อแล้วอาจมีอาการรุนแรงได้ ยืนยันว่าวัคซีนที่จัดหามาให้ปลอดภัย มีคุณภาพ ผลข้างเคียงน้อย 

 

ขณะที่ ศบค.มีมาตรการผ่อนคลายให้ดื่มได้ถึง 5 ทุ่ม เบื้องต้นกระทรวงสาธารณสุข จะมีการประเมินและติดตามสถานการณ์ทุกวัน หากพบการระบาดเป็นกลุ่มก้อน หรือนัยยะสำคัญ หรือพบการฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตามมาตรการก็จะพิจารณาสั่งปิด 

 

ส่วนการผ่อนปรนสถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ ก็จะมีการผ่อนปรนหลังจากนี้ เพราะที่ผ่านมาก็พบว่า พื้นที่นี้เป็นจุดเสี่ยงของการระบาด เช่น เมื่อครั้งระบาดของเชื้อโอมิครอนช่วงหลังปีใหม่ 

 

ด้าน มาตรการเข้าประเทศแบบ Test and Go ที่จะเริ่มเปิดลงทะเบียนในวันที่ 1 ก.พ. ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ยืนยันไทยมีมาตรการคัดกรองผู้เข้าประเทศที่เข้มงวด แต่ยอมรับว่ามีผู้ติดเชื้อหลุดออกมาได้ แต่ก็มีระบบเฝ้าติดตาม 

 

 

ขณะที่ สถานการณ์เตียงโควิดขณะนี้ อัตราการครองเตียงอยู่ร้อยละ 30 ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอาการสีเขียว ส่วนเตียงเหลือง และแดง อัตราครองเตียงอยู่ที่ร้อยละ 5 ย้ำว่า แนวทางการรักษาหลักในขณะนี้ หากไม่มีอาการ อาการน้อย จะให้รักษาผ่านระบบ Home Isolation หรือ Community Isolation หากเริ่มมีอาการจะส่งต่อไปรักษาในโรงพยาบาล 

 

ส่วนแนวโน้มของเชื้อโควิดให้เป็นโรคประจำถิ่นในปีนี้ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ตั้งใจให้เป็นแบบนั้น และหากผู้ติดเชื้อไม่มีอาการรุนแรง เสียชีวิตต่ำ เหมือนเช่น โรคไข้หวัดใหญ่ และโรคมาลาเลีย ซึ่งสามารถรักษาที่บ้านได้ ก็จะเข้าเกณฑ์การเป็นโรคประจำถิ่น แต่ย้ำว่าจะต้องมีการฉีดวัคซีนทุกปีเหมือนวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 

 

ขณะที่การรักษาผู้ป่วย โควิด-19 ในกลุ่มแรงงานต่างด้าว พบว่า ที่ผ่านมามีการใช้งบประมาณการรักษาไปแล้วกว่า 4,000 ล้านบาท ซึ่งประเทศไทย รักษาผู้ติดเชื้อทุกคน.

 

ภาพจาก ทีมข่าว TNN ช่อง 16 , AFP

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

กดเลย >> community แห่งความบันเทิง

ทั้งข่าว หนัง ซีรีส์ ละคร ดนตรี และศิลปินไอดอล ที่คุณชื่นชอบ บนแอปทรูไอดี

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง