ตลาดหลักทรัพย์ฯ เล็งเพิ่มกระดานการซื้อขายหุ้น News Economy

ศาสตราจารย์พิเศษกิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ ประธานกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวในงาน “Meet the Press” บ่ายวันนี้ (19 พ.ค.) ว่า ในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจมีความไม่แน่นอนในการเติบโต จากปัจจัยในต่างประเทศโดยเฉพาะปัญหาสงครามการค้าจากการกำหนดนโยบายภาษีของสหรัฐ ซึ่งมีแนวคิดอยากจะส่งเสริมการลดจำนวนบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในกลุ่มธุรกิจหลักทรัพย์ หรือบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ลงสักประมาณครึ่งหนึ่งของปัจจุบันที่มีจำนวนราว 39 แห่ง เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งของธุกิจบล.ให้มีความแข็งแกร่ง รับมือกับปริมาณการซื้อขายที่ต่ำลงในช่วง 2-3 ปีหลังนี้ ให้สามารถเติบโตได้จากปัจจุบันที่หลายแห่งประสบปัญหาขาดทุน โดยอาจเพิ่มสิทธิประโยชน์เพื่อจูงในให้เกิดการควบรวมธูรกิจเพื่อความอยู่รอด ส่วนบทวิเคราะห์ที่อาจวิเคราะห์หุ้นจำนวนมากได้ไม่ครอบคลุมจากจำนวนบล.ที่ลดลงนั้น อาจปรับใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เข้ามาช่วยได้
นอกจากนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังต้องการที่จะเพิ่มจำนวนบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (บจ.) จากปัจจุบันที่ประมาณ 800 บริษัท ให้เพิ่มเป็น 1,000-1,500 บริษัท โดยอาจจะดึงบริษัทในธุรกิจไทย ที่ปัจจุบันเสียภาษีอยู่ประมาณ 1-2 แสนบริษัท เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ มากขึ้น และพร้อมกันนี้ก็จะไปดึงบริษัทที่เป็นธุรกิจจากต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ก็พร้อมให้การสนับสนุนในการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพิ่มเติม ซึ่งคงจะได้มีการหาอกันรายละเอียดต่อไป รวมถึงเพิ่มจำนวนบริษัทจากบริษัทแม่ที่เป็นบริษัทใหญ่แยกบริษัทย่อยหรือบริษัทในเครือออกมาตั้งบริษัทใหม่ (Spin-off) โดยเฉพาะธูกิจที่อยู่ในกลุ่มเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อจะได้เป็นทางเลือกของผู้ลงทุนที่มากขึ้น
ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีแผนที่ตั้งกระดานการซื้อขายใหม่ (กระดานเทรด) เพื่อรองรับหุ้นในกลุ่มเศรษฐกิจกระแสใหม่ (News Economy) เพิ่มเติม เพื่อบริษัทที่เป็นธุรกิจใหม่ๆ เข้ามามากขึ้น ทั้งจากบริษัทในธุรกิจต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในไทย และบรษัทที่ Spin-off ออกมาจากบริษัทใหญ่ และธุรกิจใหม่ๆ ที่เข้ามาจดทะเบียนเพิ่มเติม จากปัจจุบันที่มีกระดานตลาดหลักทรัพย์ฯ (SET) , ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ,ตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ ( LiVe Exchange : LiVEx)
นอกจากนี้ ประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์ญ ยังกล่าวว่า ในส่วนโครงการซื้อหุ้นคืนเพื่อบริหารทางการเงิน (Treasury Stock) ของ บจ. คาดว่าเกณฑ์ใหม่จะเริ่มใช้ในเดือน พ.ค.2568 นี้ โดยเงื่อนไขใหม่ที่จะปลดล็อก ได้แก่ 1. สามารถทำโครงการซื้อหุ้นคืนต่อได้ทันที โดยไม่ต้องรอเว้นระยะเวลา 6 เดือน จากการทำโครงการซื้อคืนรอบแรก และ 2.ขยายระยะเวลาการขายหุ้นคืนเพิ่มเป็น 5 ปี (ต่อได้ 1 ปี จำนวน 2 ครั้ง) จากเดิมที่กำหนดต้องขายให้หมดใน 3 ปี
โดยยอดซื้อหุ้นคืน 4 เดือนแรกปีนี้ที่ผ่านมา (ม.ค.-เม.ย. 2568) พบว่ามีบจ.ที่ซื้อหุ้นคืนรวม 37 บริษัท มูลค่ารวมกว่า 6,000 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเท่ากับมูลค่าทั้งปี 67 ไปแล้ว มีส่วนทำให้อัตราส่วนราคาต่อกำไร (P/E) ดีขึ้น และอัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าตามบัญชี ( Price to Book Value ) ซึ่งการซื้อหุ้นคืนมีส่วนช่วยเพิ่มเม็ดเงินลงทุนในตลาดหุ้น