รีเซต

เปิดเกณฑ์ "รักษาโควิดฟรี" ตามสิทธิ หากมีอาการวิกฤตยังรักษาฟรีทุกที่ตาม "สิทธิ UCEP" ได้

เปิดเกณฑ์ "รักษาโควิดฟรี" ตามสิทธิ หากมีอาการวิกฤตยังรักษาฟรีทุกที่ตาม "สิทธิ UCEP" ได้
Ingonn
17 กุมภาพันธ์ 2565 ( 09:36 )
6.7K

หลังจากที่เป็นกระแสอย่างต่อเนื่องกับการให้ “รักษาโควิดฟรี” ไม่ขอให้ถอดออกจากโรคเจ็บป่วยฉุกเฉิน หรือ “ยกเลิกสิทธิ UCEP” หลังจากมีแนวโน้มจะปลดออก เริ่ม 1 มี.ค. 65 ซึ่งทำให้ประชาชนเกิดความกังวลว่า ถ้าติดโควิดต้องเสียเงินค่ารักษาเองหรือไม่ แต่ล่าสุดทางกระทรวงสาธารณสุข ได้ออกมาระบุเพิ่มเติมใหม่ว่า หากป่วยโควิดอาการไม่รุนแรงรักษา HI และ CI ตามสิทธิรักษาฟรีของแต่ละคน ส่วนหากอาการฉุกเฉินวิกฤตรักษาได้ทุกที่ 72 ชม.ตามโครงการยูเซป 


การปรับโควิด 19 มาสู่การรักษาตามสิทธิ ไม่กระทบในช่วงนี้ที่มีการติดเชื้อสูงขึ้น เนื่องจากเป็นการกระจายผู้ป่วยไปตามจุดต่าง ๆ ที่ขึ้นทะเบียนตามสิทธิ และหากผู้ติดเชื้อโควิดมีอาการเข้าข่ายฉุกเฉินวิกฤต ยังเข้ารักษาทุกที่ได้ตามแนวทางของสิทธิ UCEP 

 

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ได้เสนอคณะกรรมการสถานพยาบาลใช้กลไก UCEP โควิด เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2563 ทำให้สถานพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนได้ร่วมกันดูแลผู้ป่วย แต่ปัจจุบันสายพันธุ์โอมิครอนมีความรุนแรงน้อยลง ประชาชนเข้าใจวิธีป้องกันควบคุมโรคมากขึ้น คณะอนุกรรมการการรักษาในพื้นที่ กทม. รวมถึงศูนย์ปฏิบัติฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข มีความเห็นตรงกันว่าควรปรับให้มีการรักษาโรคโควิด 19 ตามสิทธิการรักษาซึ่งคนไทยทุกคนมีอยู่เดิม ทั้งหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรทอง สวัสดิการข้าราชการ และประกันสังคม 

 

ยูเซป (UCEP) คืออะไร

ยูเซป (Universal Coverage for Emergency Patients ; UCEP) ยูเซป คือ ฉุกเฉินวิกฤตที่สามารถเข้ารับการรักษาโรงพยาบาลที่ไหนก็ได้ใกล้บ้าน มีเจตนารมณ์ เพื่อดูแลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉินวิกฤตจริงๆ เช่น หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ช็อก หายใจเร็ว หอบเหนื่อยมาก เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน อ่อนแรงแขนขา เส้นเลือดออกในสมอง ถ้าเข้าอาการวิกฤตฉุกเฉินสามารถรักษาได้ใน 72 ชม. โดยเกณฑ์ฉุกเฉินวิกฤตจะเป็นไปตามเกณฑ์ของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ(สบส.)

 

อาการที่เข้าข่ายยูเซป (UCEP) รักษาฟรี

อาการที่เข้าข่ายภาวะฉุกเฉินวิกฤต ตามประกาศกระทรวงเรื่องหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการมี 6 อาการ คือ 

  1. หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ 
  2. หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรงหายใจติดขัดมีเสียงดัง
  3. ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น 
  4. เจ็บหน้าอกเฉียบพลันรุนแรง 
  5. แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีกพูดไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วน หรือชักต่อเนื่องไม่หยุด
  6. อาการอื่นที่มีผลต่อการหายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิต และระบบสมองที่เป็นอันตรายต่อชีวิต 

หากพบอาการที่เข้าข่ายเจ็บป่วยฉุกเฉิน โทร.1669 เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่ โดยไม่ต้องสำรองจ่าย

 

ทำไมถึงปรับให้รักษาโควิดตามสิทธิ

การระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนที่รุนแรงน้อยกว่าสายพันธุ์เดลตา 7 เท่า และการเสียชีวิตน้อยกว่า 10 เท่า โดยผู้ติดเชื้อกว่า 90% ไม่มีอาการหรืออาการน้อยมาก ไม่จำเป็นต้องนอนรักษาในโรงพยาบาล จึงเน้นให้รับการดูแลในระบบ Home Isolation (HI) และ Community Isolation (CI) รวมถึงเตรียมปรับให้ผู้ติดเชื้อโควิด 19 เข้าสู่ระบบการรักษาตามสิทธิ ซึ่งไม่เสียค่าใช้จ่าย ยกเว้นไปโรงพยาบาลเอกชนนอกระบบโดยไม่มีอาการจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง 

 

เกณฑ์รักษาโควิดฟรี ตามสิทธิ

  1. กองทุนสวัสดิการข้าราชการ สามารถเข้ารับการรักษาได้ในรพ.ของรัฐทุกแห่งทั่วประเทศฟรี กองทุนบัตรทองสามารถเข้ารับการรักษาในรพ.รัฐ และสถานพยาบาลเครือข่ายทุกแห่งฟรี ส่วนผู้ประกันตน ทางสำนักงานประกันสังคมจะมีการประชุมคณะกรรมการการแพทย์ในวันที่ 15 ก.พ.นี้ เพื่อหารือถึงการดูแลผู้ป่วย เนื่องจากว่ามีสถานพยาบาลเครือข่ายทั้งรัฐ และเอกชน ส่วนผู้ป่วยต่างด้าวจะมีรพ.ตามสิทธิผ่านการซื้อประกันสุขภาพอยู่แล้ว กรณีแรงงานต่างด้าวไร้สิทธิก็สามารถเข้ารับการรักษาได้ที่รพ. หรือสถานพยาบาลของรัฐได้


  2. กรณีรักษาตัวใน Home Isolation สามารถโทรสายด่วน 1330 ได้  บัตรทองโทร 1330 , ประกันสังคมโทร 1506 , เบิกจ่ายตรงข้าราชการโทร 02-2706400 และสิทธิต่าวด้าวโทร 02-5901578 ต่างจังหวัดให้ประสาน 1669

    กรณีโทรสายด่วน 1330 ไม่ติด เนื่องจากมีประชาชน โทร.เข้ามามาก ไม่ต้องกังวล สปสช.จัดเจ้าหน้าที่โทรกลับสายที่โทรไม่ติดเพื่อรับข้อมูลเข้าระบบ หรือใช้ช่องทางลงทะเบียนด้วยตนเองตาม  https://crmsup.nhso.go.th/#TicketHI  หรือผ่านช่องทางไลน์ สปสช. พิมพ์ @nhso


  3. กรณีที่ไม่ได้ไปรักษาพยาบาลตามสิทธิ เช่น มีหลักประกันอยู่ในรพ.รัฐ แต่ประสงค์เข้ารับการรักษารพ.นอกสิทธิ อย่างเช่นรพ.เอกชน ในส่วนนี้ผู้ป่วยก็ต้องจ่ายเงินเอง หรือใช้ประกันสุขภาพเอกชนที่ซื้อไว้มาเคลมได้

    ผู้ป่วยโควิดที่ดูแลตัวเองที่บ้าน ที่ชุมชน ว่าจัดอยู่ในระบบการดูแลผู้ป่วยใน ของรพ.ตามระบบที่กระทรวงสาธารณสุขวางเอาไว้ ยืนยันว่า HI /CI เป็นหนึ่งในสถานพยาบาล จะอ้างเป็นเหตุไม่จ่ายค่าสินไหมไม่ได้


  4. รักษาโควิดฟรีตามสิทธิ หากป่วยโควิดอาการไม่รุนแรงสามารถรักษาตามระบบ Home Isolation และ  Community Isolation ตามสิทธิรักษาฟรีของแต่ละคน ส่วนหากอาการฉุกเฉินวิกฤตสามารถรักษาฟรีได้ทุกที่ 72 ชม.ตามโครงการยูเซป


  5. ระบบ  Home Isolation เป็นการติดตามและดูแลผู้ป่วยโควิด-19 เฉพาะกลุ่มผู้ป่วยสีเขียว เพื่อแยกผู้ป่วยสีเหลืองและแดงเข้ารักษาที่โรงพยาบาล ช่วยลดความแออัดและให้มีเตียงเพียงพอรองรับผู้ป่วยอาการหนักและจำเป็น ซึ่งในระหว่างการดูแลในระบบ  Home Isolation หากผู้ป่วยมีอาการแย่ลงก็จะมีการส่งต่อผู้ป่วยเข้ารักษาในโรงพยาบาล ไม่ได้เสียสิทธิการเข้ารักษาในโรงพยาบาลแต่อย่างใด


  6. กรณีการขอใบรับรองแพทย์ช่วงรักษาตัวในระบบ  Home Isolation นั้น ให้ประสานกับหน่วยบริการที่ดูแลซึ่งจะออกใบรับรองแพทย์ให้ตามการให้บริการจริง  



อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยมีอาการเข้าข่ายฉุกเฉินวิกฤต ยังใช้สิทธิ UCEP ได้ตามปกติเหมือนโรคอื่นๆ ซึ่งการเตรียมปรับโควิดมาสู่การรักษาตามสิทธิ จะช่วยให้ระบบสาธารณสุขมีเตียงสำหรับดูแลผู้ป่วยโรคอื่นได้ หากผู้ติดเชื้อโควิดมีอาการเข้าข่ายฉุกเฉินวิกฤต ยังเข้ารักษาทุกที่ได้ตามแนวทางของสิทธิ UCEP 

 

 

 

 

 

ข้อมูล กระทรวงสาธารณสุข , สปสช

 

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง