รีเซต

อาคม เปิด 3 ภูมิคุ้มด้านกันเศรษฐกิจ สู้วิกฤตโควิด-19

อาคม เปิด 3 ภูมิคุ้มด้านกันเศรษฐกิจ สู้วิกฤตโควิด-19
มติชน
4 กุมภาพันธ์ 2564 ( 13:21 )
69

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ ที่อาคารสำนักงาน บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวปฐกถาพิเศษ “แนวทางพลิกฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด” ในงานสัมมนา พลิกสูตรวัคซีนสู้โควิด พลิกวิกฤตเศรษฐกิจไทย ที่จัดผ่านทางไลฟ์สตรีมมิ่ง ว่า นอกจากวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ทางสาธารณสุขดำเนินการแล้ว ยังต้องมีวัคซีนทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะเป็นภูมิคุ้มกันของประเทศที่สำคัญอีกหนึ่งด้าน ที่ช่วยให้ประเทศสามารถเดินต่อไปได้ ภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจ แบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ ภูมิคุ้มกันระดับประเทศ ภูมิคุ้มกันกลุ่มด้านภาคอุตสาหกรรม และภูมิคุ้มกันภาคประชาชนและแรงงาน

 

นายอาคม กล่าวว่า ภูมิคุ้มกันตัวแรกคือ ภูมิคุ้มกันระดับประเทศ มี 3-4 เรื่อง ได้แก่ 1.ดูแลการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (จีดีพี) ต้องให้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยไม่ดูตัวเลขว่าจะสูงขึ้นหรือต่ำเท่าไหร่ แต่ต้องเติบโต 2.ทุนสำรองระหว่างประเทศ ยังมีเพียงพอ ขณะนี้ มี 2-3 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เท่ากับสามารถใช้ชำระหนี้ระยะสั้นได้ 3 เท่า และ 3.เงินสำรองภายในประเทศ การเงินการคลังของประเทศ ยืนยันว่ามีความมั่นคงและมีเพียงพอ ไม่ได้ล้มละลายอย่างที่มีกระแสข่าวออกมา โดยหนี้สาธารณะ ณ ปัจจุบันอยู่ที่ 50% ต่อจีดีพี ซึ่งไม่เกินกรอบที่กำหนดไว้ที่ 60% เนื่องจากต้องใช้เงินในการดูแลโควิด-19 ซึ่งรัฐบาลต้องเตรียมงบประมาณ ใช้ในการแก้ไขปัญหทางการแพทย์ จัดหาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้เพียงพอ การเยียวยา รวมทั้งการฟื้นฟู ซึ่งงบประมาณปกติไม่เพียงพอ จึงต้องมีการกู้เงิน ตามพระราชกำหนด พ.ร.ก. 1 ล้านล้านบาท พร้อมกันนี้ ในช่วงโควิด-19 ก็ต้องมีการผ่อนคลายในหลายเรื่อง ทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องดูแลเรื่องลดดอกเบี้ย ส่วนด้านหนี้ครัวเรือน ทั้งที่เกิดจาการว่างงานและจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ประชาชนมีรายได้ลดลง ซึ่งรัฐบาลก้พยายามดูแลในส่วนนี้

 

ประการต่อมา ภูมคุ้มกันกลุ่ม ดูแลในภาคการผลิต ภาคอุตสาหากรรม ภาคเกษตรกรรม ภาคบริการ โดยเฉพาะการท่องเที่ยว ซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 อีกส่วน คือ ภูมคุ้มกันภาคประชาชนและแรงงาน ซึ่งมีหลายส่วนที่กำลังดำเนินการ ผ่านการเยียวยา กระตุ้น และ ฟื้นฟู ที่สำคัญต้องสนับสนุนการออมเงินเพื่อใช้ในอนาคต ภาคบังคมและภาคสมัครใจ อาทิ การทำประกันชีวิต

 

ในปี 2564 แตกต่างจากปี 2563 การระบาดของโควิด-19 รอบแรกในไทยนั้น ต้องทำการล็อกดาวน์ทั่วประเทศ รวมทั้งด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากความจำเป็น เพื่อลดความเสี่ยงของการแพร่ระบาดของโควิด-19 เพราะในเวลานั้นยังไม่เห็นการพัฒนาของวัคซีน แต่เมื่อเกิดการแพร่ระบาด ระลอกใหม่ จึงมีบทเรียน ที่จะรักษาสมดุล ระหว่างด้านเศรษฐกิจกับการควบคุมแพร่ระบาดโควิด-19 โดยควบคุมหยุดเพื่อในพื้นที่เสี่ยง อาทิ สถานบันเทิง ส่วนการการค้ายังดำเนินการได้ เพื่อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจไม่หยุดชะงัก รวมทั้งยอดการใช้จ่ายในโครงการคนละครึ่ง ในช่วงเดือนธันวายังมีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แสดงให้เห็นว่าประชาชนยังใช้ชีวิตได้ตามปกติ

 

 

นายอาคม กล่าวว่า แนวทางพลิกพื้นด้านเศรษฐกิจ ในด้านอุตสาหกรรมมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีปัญหาว่าประเทศที่มีปัญหาในเรื่องการควบคุมการระบาดของโควิด-19 และทำให้การผลิตของหยุดชะงักจนส่งผลต่อซับพลายเชนบ้าง แต่ไทยนั้นยั้งสามารถเดินหน้าการผลิตต่อไปได้ ส่วนด้านการเยียวยา ในปี 2563 เน้น ที่ประกอบอาชีพอิสระ ที่ไม่มีระบบดูแลทั้งหมด 41 ล้านคน ซึ่งส่วนของข้าราชการ มาตรา 33 ของประกันสังคม ที่มีระบบดูแลอยู่แล้ว ทำให้มีส่วนที่หายไป ประมาณ 10 ล้านคน ซึ่งต่อไปจะพัฒนาฐานข้อมูลในการดูแลและเพื่อเป็นฐานในการวางแผนใช้เงิน ซึ่งส่วนนี้ก็ต้องแยกเงินแยกระหว่างในส่วนเยียวยาในการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน

 

ด้านการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยการลดหย่อย มาตรการการขยายระยะเวลาการชำระภาษี ที่ในครั้งนี้ทำตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อเป็นการเสริมสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการและภาคธุรกิจ ส่วนด้านการลงทุนของภาครัฐ ที่ค่อนข้างต่ำ ขณะนี้กำลังดูแล ไฮสปีส ท่าเรือน้ำลึก โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษอีอีซี ผลักดันการลงทุนในอุตสาหากรรมใหม่ 12 อุตสาหรรมเป้าหมาย โดยเพิ่มเรื่องธุริจพลังงานสีเขียวและพลังงานชีวภาพเข้ามา

 

ด้านการสร้างความยั่งยืน ในประชาชนและเศรษฐกิจ โดย การสร้างอาชีพและรายได้ในประชาชน จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ประชาน โดยเฉพาะในภาคการบรอิการและการท่องเที่ยว ว่างงานและกลับไปภูมิลำเนา รัฐบาลจึงได้ผลักดันและสร้างเสริมอาชีพสำคัญ เกษตรกรรม เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ส่วนภาคการท่องเที่ยว ก็ต้องมีปรับตัว เป็นการท่องเที่ยวภายในประเทศ การทำสถานที่ท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ รวมทั้งการสร้างมูลค่าให้กับสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวในอนาคต

 

นายอาคม กล่าวว่า หลักการในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจหลังจากนี้ 3 เรื่องสำคัญคือ 1. ด้านดิจิทัลเทคโนโลยี นำมาใช้ในการทำงานและพัฒนาระบบและการทำงานษี 2.ด้านธุรกิจสีเขียว โดยอุตสาหกรรมและธุรกิจต้องพัฒนา ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พลังงานสะอาด ด้านตลาดทุน ก็ได้ออกพันธบัตรสีเขียว เพื่อสนับสนุนด้านนี้ด้วย 3.เรื่องของสุขภาพและความเป็นอยู่ ที่เป็ภารกิจหลัก 3 ประการที่รัฐต้องดูแล

 

“ในแง่แนวทางการพื้นเศรษฐกิจ ต้องยึดหลักการเดียวกันกับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ทางการแพทย์ ในเรื่องของภูมิคุมกัน และแนวนโยบายของรัฐไม่หยุดนิ่ง ในเรื่องการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน จำเป็นสำหรับประเทศ และเพื่อความสะดวกสบายของพี่น้องประชาชน รวมทั้งเรื่องของการติดต่อกับต่างประเทศ การเชื่อมโยงทั้งด้านกายภาพ และทางออนไลน์ เราต้องตามให้ทันโลกยุคดิจิทัล” นายอาคม กล่าว

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง