รีเซต

ยานสำรวจ 'จู้หรง' ของจีน พบหลักฐาน 'น้ำ' บนดาวอังคาร

ยานสำรวจ 'จู้หรง' ของจีน พบหลักฐาน 'น้ำ' บนดาวอังคาร
Xinhua
13 พฤษภาคม 2565 ( 22:21 )
128

ปักกิ่ง, 13 พ.ค. (ซินหัว) -- คณะนักวิทยาศาสตร์จีนได้ค้นพบหลักฐานใหม่ ซึ่งระบุว่าดาวอังคารในอดีตเคยมีน้ำอยู่ และมีแร่ธาตุที่มีโมเลกุลของน้ำบนดาวอังคาร ซึ่งอาจนำไปใช้ประโยชน์ระหว่างการปฏิบัติภารกิจบนดาวอังคารในอนาคตผลการศึกษาจากวารสารไซเอนซ์ แอดวานซ์ (Science Advances)

เมื่อวันพฤหัสบดี (12 พ.ค.) เผยว่าแอ่งขนาดใหญ่บนดาวอังคารเคยมีน้ำสถานะของเหลวในยุคแอมะซอน (Amazonian epoch) ซึ่งเป็นยุคทางธรณีวิทยาล่าสุดของดาวอังคารการค้นพบนี้ได้เพิ่มสัญญาณบ่งชี้ว่าดาวอังคารมีน้ำอยู่จริง ซึ่งบอกเป็นนัยว่ากิจกรรมเกี่ยวกับน้ำในสถานะของเหลวอาจคงอยู่บนดาวอังคารนานกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้มากการศึกษาเสริมว่าปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าวมีแหล่งกักเก็บน้ำในรูปแบบแร่ธาตุที่มีโมเลกุลของน้ำเป็นส่วนประกอบและน้ำแข็งบนพื้นผิวจำนวนมากคณะนักวิจัยที่นำโดยนักวิจัยจากศูนย์วิทยาศาสตร์อวกาศแห่งชาติจีน สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน ใช้ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะตะกอนและแร่ธาตุทางตอนใต้ของยูโทเปีย พลานิเทีย (Utopia Planitia) ที่ราบขนาดมหึมาทางซีกเหนือของดาวอังคาร ซึ่งรวบรวมโดยจู้หรง (Zhurong) ยานสำรวจพื้นผิวดาวอังคารของจีนคณะนักวิจัยฯ อธิบายว่าหินสีสดใสที่กล้องของจู้หรงบันทึกภาพได้เป็น "ชั้นแข็ง" (duricrust) ซึ่งอาจถูกปั้นขึ้นโดยน้ำในสถานะของเหลวปริมาณมาก และบางทีอาจเป็นน้ำบาดาลที่พุ่งขึ้นหรือน้ำแข็งใต้ผิวดินที่ละลายผลการศึกษาระบุว่าเปลือกแร่ซัลเฟตที่เป็นของแข็งนั้นแตกต่างจากชั้นแข็งที่บางและอ่อนกว่า ซึ่งสำรวจพบโดยยานสำรวจดาวอังคารลำอื่นๆ และอาจก่อตัวขึ้นจากการปฏิกิริยาของไอน้ำอนึ่ง ผลการศึกษาของจีนอีกฉบับหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสารเนเจอร์ จีโอไซแอนซ์ (Nature Geoscience) เมื่อเดือนมีนาคม เปิดเผยว่าบริเวณที่จู้หรงลงจอดนั้นอาจเคยประสบภาวะถูกกัดเซาะจากลมและน้ำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง