รีเซต

วิจัย พบโควิด-19 วิวัฒนาการในลำไส้สุนัข คาดสุนัขจรกินค้างคาวก่อนติดสู่คน

วิจัย พบโควิด-19 วิวัฒนาการในลำไส้สุนัข คาดสุนัขจรกินค้างคาวก่อนติดสู่คน
มติชน
17 เมษายน 2563 ( 14:39 )
131

 

เว็บไซต์อินดิเพนเดนซ์ รายงานเมื่อวันที่ 15 เมษายนที่ผ่านมา อ้างงานวิจัยของนักชีววิทยาชาวแคนาดา ที่พบว่าเชื้อไวรัสซาร์ส โคฟ-2 ที่ก่อให้เกิดโรคโควิด-19 นั้นอาจติดจากสุนัขจรจัดมาสู่มนุษย์ หลังจากพบหลักฐานการวิวัฒนาการในระบบลำไส้ของสุนัขที่กินเนื้อค้างคาวที่ติดเชื้อโคโรนาไวรัส

 

ศาสตราจารย์เจีย ผู้เชี่ยวชาญในการใช้ข้อมูลศึกษาวิวัฒนาการของยีนในระดับโมเลกุลระบุว่า โคโรนาไวรัสที่พบในงู และตัวนิ่ม ที่เคยคาดกันว่าเป็นตัวส่งต่อเชื้อจากค้างคาว สู่มนุษย์นั้นยังห่างไกจาก ซาร์ส โคฟ-2 แต่บรรพบุรุษของซาร์ส โคฟ-2 และญาติใกล้ชิดอย่าง โคโรนาไวรัส ในค้างคาวนั้นสามารถติดเชื้อในระบบลำไส้ของสุนัข และมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการวิวัฒนาการอย่างรวดเร็วของไวรัสในสุนัขและกระโดนมาติดมนุษย์ได้

 

ผลสรุปของงานวิจัยดังกล่าวตีพิมพ์ลงในวารสารโมเลกุลาร์ ไบโอโลยีแอนด์ อีโวลูชั่น พบว่าไวรัสสามารถหลบเลี่ยงโปรตีนต่อต้านไวรัสอย่าง ZAP ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมได้ทำให้มันมีความอันตรายกับมนุษย์ โดยนักชีววิทยาได้ทำการศึกษาข้อมูลจีโนม 1,252 จีโนมจากไวรัสซาร์ส โคฟ-2 ในฐานข้อมูลของ GenBank และพบว่ามีเพียงจีโนมของโรโรนาไวรัสในสุนัข ซึ่งเป็นโรคติดต่อในสุนัขทั่วโลก ที่มีค่าทางเคมีคล้ายกับที่พบในซาร์ส โคฟ-2

 

อย่างไรก็ตามมีนักวิทยาศาสตร์ที่ไม่เห็นด้วยกับข้อสรุปในงานวิจัยดังกล่าว โดยศาสตราจารย์ เจมส์ วู้ด จากคณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ระบุว่า งานวิจัยดังกล่าวเป็นการอนุมานเป็นส่วนใหญ่และมีข้อมูลที่ชี้ให้เห็นโดยตรงน้อยมาก ตนพบว่ามันยากที่จะเข้าใจว่าผู้เขียนงานวิจัยดังกล่าวจะสรุปอะไร หรือสร้างสมมติฐานอะไรได้มากนัก ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องน่ากังวลของคนเลี้ยงสุนัขเกี่ยวกับงานวิจัยชิ้นนี้

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง