รีเซต

รายงานชี้ 'ส่วนบน' ของจรวดรุ่นใหม่จีน 'อาจนำกลับมาใช้งานใหม่ได้'

รายงานชี้ 'ส่วนบน' ของจรวดรุ่นใหม่จีน 'อาจนำกลับมาใช้งานใหม่ได้'
Xinhua
25 กุมภาพันธ์ 2565 ( 20:38 )
35
รายงานชี้ 'ส่วนบน' ของจรวดรุ่นใหม่จีน 'อาจนำกลับมาใช้งานใหม่ได้'

ปักกิ่ง, 25 ก.พ. (ซินหัว) -- วันศุกร์ (25 ก.พ.) หนังสือพิมพ์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรายวันของจีน (Science and Technology Daily) รายงานว่า จรวดขนส่งยานอวกาศแบบมีมนุษย์ควบคุมรุ่นใหม่ของจีนอาจมีส่วนบนของจรวด (First Stage) ที่สามารถนำกลับมาใช้งานใหม่ได้ และสามารถลงจอดในแนวตั้งได้อย่างนุ่มนวล

หวังเสี่ยวจวิน ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีจรวดขนส่งแห่งชาติจีน (CALT) สังกัดบริษัทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอวกาศแห่งประเทศจีน กล่าวว่าส่วนบนของจรวดที่สามารถนำมาใช้งานใหม่นั้นสามารถลดความเร็วของเครื่องยนต์ขณะกลับสู่ชั้นบรรยากาศ รวมถึงควบคุมตัวเอง และชะลอตัวลงด้วยหางเสือระบบอัดอากาศ (pneumatic rudders)

เมื่อไม่นานนี้หวังกล่าวในการประชุมสัมมนาระดับนานาชาติด้านการพัฒนาการบินอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุมว่า ระหว่างการลงจอด จรวดส่วนบนจะชะลอความเร็วเพิ่มเติม และมีระบบกู้คืนที่มีลักษณะคล้ายตาข่ายคอยรับรองความปลอดภัยบนภาคพื้นดิน ซึ่งจะช่วยนำส่วนประกอบส่งกลับต่างๆ จากจรวดกลับมาสู่พื้นดินเพิ่มเติม เพื่อลดปริมาณสัมภาระของจรวดขนส่ง

จรวดขนส่งรุ่นใหม่ข้างต้นจะมีลักษณะเป็นจรวดแบบโมดูล (Modular Rocket) ที่ออกแบบตามแบบสากล โดยมีความสามารถทั้งในการขนส่งยานที่มีมนุษย์ควบคุมและขนส่งสัมภาระ

จรวดขนส่งรุ่นใหม่ข้างต้นจะใช้โครงภายนอกแบบสองตอน ซึ่งบรรทุกน้ำหนักได้ราว 14 ตันในวงโคจรระดับต่ำของโลก (low-Earth-orbit) เพื่อใช้ในภารกิจสถานีอวกาศที่อยู่ใกล้โลก และใช้โครงภายนอกแบบสามตอนเพิ่มบูสเตอร์ ซึ่งสามารถบรรทุกน้ำหนักได้ราว 27 ตัน ในวงโคจรขนย้าย (Lunar-transfer-orbit) ของดวงจันทร์ เพื่อใช้สำหรับการสำรวจที่ไกลออกไปจากดวงจันทร์

ทั้งนี้  โครงการอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุมในปัจจุบันของจีนใช้จรวดขนส่งลองมาร์ช-2เอฟ (Long March-2F) ลองมาร์ช-7 (Long March-7) และลองมาร์ช-5บี (Long March-5B) เป็นหลัก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง