รีเซต

บสย. ชู 3 ดี ช่วยขับเคลื่อนเอสเอ็มอี ตกค้าง 80% เข้าถึงเงินทุน ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล นำทาง

บสย. ชู 3 ดี ช่วยขับเคลื่อนเอสเอ็มอี ตกค้าง 80% เข้าถึงเงินทุน ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล นำทาง
มติชน
31 มกราคม 2565 ( 10:41 )
39
บสย. ชู 3 ดี ช่วยขับเคลื่อนเอสเอ็มอี ตกค้าง 80% เข้าถึงเงินทุน ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล นำทาง

เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 31 มกราคม 2565 นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไปบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) บรรยายพิเศษในงานสัมมนา “สู่ศักยภาพใหม่: Thailand 2022” รูปแบบไลฟ์สตรีมมิ่งผ่านเฟซบุ๊ก หัวข้อ “ศักยภาพใหม่ เพื่อธุรกิจใหม่” จัดขึ้นโดยหนังสือพิมพ์มติชน ว่า ศักยภาพใหม่ มี 4 มิติ มิติที่ 1 จำนวนผู้ประกอบการเอสเอ็มอี บสย.มีการประมาณการ ในฐานข้อมูลประมาณ 6 ล้านราย แบ่ง 3 ล้านรายแรกนั้นอยู่ในบัญชี และอีก 3 ล้านรายอยู่นอกบัญชี ซึ่งปีที่ผ่านมา บสย.ร่วมกับสถาบันการเงิน ได้เข้าไปช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในระบบ 3 ล้านรายแรกให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน ได้ 22.35% ส่วนอีกเกือบ 80% ยังเข้าไม่ถึง

 

ดังนั้นศักยภาพแรกเป็นการทำให้ผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งทุนจากสถานบันการเงิน ด้วย ดิจิทัล เครดิต accelcer แต่อีก 3 ล้านรายที่อยู่นอกบัญชี ก็ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงินได้ มีปัญหาคล้ายในทุกกลุ่ม โดยเรียกว่า กลุ่มคือรายย่อย (ไมโคร) อาทิ กลุ่มอาชีพอิสระ กลุ่มที่มีรายได้น้อย กลุ่มเปราะบาง พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ซึ่งไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุน เนื่องจากมีปัญหาเรื่องของหลักประกันในการขอสินเชื่อกับสถาบันการเงิน

 

“บสย.จึงคิดว่าควรสร้างศักยภาพใหม่ ให้กับประเทศไทย โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นตัวขับเคลื่อน เพื่อให้ทุกภาคส่วน เข้าถึงกลุ่มเหล่านี้ได้มากขึ้น และลึกขึ้นในเรื่องของจำนวนราย”

 

“ผมจึงเห็นว่า มีตัวขับเคลื่อนที่เรียกว่า 3ดี (D) คือ 1.ดิจิทัล วอลเล็ต (Digital Wallet) ในวันนี้มีอยู่ในมือของประชาชนทุกคนแล้ว ทุกธนาคารมีแอพพลิเคชั่นทางการเงิน และธุรกิจในระบบเศรษฐกิจมี ดิจิทัล วอลเล็ตหมด 2.ดิจิทัล เลนดิ้ง (Digital Lending) ทุกแพลตฟอร์มนั้นให้บริการสินเชื่อผ่านทางออนไลน์แต่ทำในอีโค่ ซิสเต็มของตนเอง ทั้งนี้ความสมบูรณ์ จะต้องประกอบด้วย 3.ดิจิทัล เครดิต การันตี (Digital Guarantee) จะเป็นส่วนเติมเต็ม ทำให้กลุ่มที่ไม่สามารถเข้าถึงสถาบันการเงินได้ ด้วยปัญหาเดิม คือ เรื่องหลักประกัน เพราะกลุ่มเหล่านี้มีปัญหาคล้ายกัน คือ บ้านติดจำนอง รถยนต์ยังผ่อนไม่หมด ธนาคารก็จะมองว่าเป็นอุปสรรคในการให้สินเชื่อ ดังนั้น 3ดี จะเป็นตัวขับเคลื่อนศักยภาพใหม่ ให้กับผู้ประกอบเอสเอ็มอี”

 

“ลองดูที่งบประมาณของรัฐบาลที่นำไปช่วยประชาชนในช่วยที่มีโควิด ไทยใช้ไปเยอะมาก ประมาณ 9.18 แสนล้านบาท มีประเภทของสวัสดิการเกิดขึ้นมากมาย และมีวอลเล็ตเกินขึ้นจำนวนมาก ซึ่งตัวขับเคลื่อน 3ดี ที่กล่าวไปข้างต้น จะเติบเต็มในเรื่องสวัสดิการของรัฐ และแก้ไขปัญหาเดิมๆ คือ เรื่อง หนี้นอกระบบ ในขณะนี้ไม่ใช้เพียงว่าพวกเราแก้ไขปัญหาเหล่านี้ แต่มีกลุ่มคอลเซ็นเตอร์เถื่อนมาช่วยอีกแรง ขอย้ำว่า ตัวขับเคลื่อน 3ดี จะเข้ามาช่องปิดช่องว่าง ให้กับกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอี ได้เข้าถึงแหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงินมากขึ้น” นายสิทธิกรกล่าว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง