ปตท. ชี้ โลกดิจิทัลโลกเทคโนโลยี เบ่งบาน 5-10 เท่าตัว
เวลาประมาณ 10.30 น. วันที่ 31 มกราคม นายบุรณิน รัตนสมบัติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่นวัตกรรมและธุรกิจใหม่บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) กล่าวในงานสัมมนา “สู่ศักยภาพใหม่:Thailand 2022” รูปแบบไลฟ์สตรีมมิ่งผ่านเฟซบุ๊ก ในหัวข้อ ”ศักยภาพใหม่ประเทศไทย” จัดโดยหนังสือพิมพ์มติชน ว่า การขับเคลื่อนประเทศไทยปี 2565 ยังเอื้อในการที่จะขับเคลื่อนศักยภาพใหม่ของประเทศ แม้ว่าจะอยู่กับการระบาดโควิด-19 มากว่า 2 ปี และปีนี้แม้จะมีการระบาดสายพันธุ์โอมิครอน ตัวเลขการติดเชื้อรุนแรง แต่การเสียชิวิตน้อยลง น่าจะถึงปลายทางของโควิด-19 ต้องใช้โอกาสนี้ในการปรับตัว ขณะเดียวกันถ้าเห็นตัวเลขการส่งออกในปี 2564 เติบโตสูงถึง 271,173 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นตัวเลขสอดคล้องให้เห็นว่าภาคอุตสาหกรรมเริ่มมีการปรับตัว ซึ่งเมื่อ 30 ปีที่ผ่านมาเคยเติบโตแบบก้าวกระโดดและใน 10 ปีที่ผ่านมาทรงๆ แต่ว่าปีที่แล้วเป็นปีที่แม้ว่าประสบปัญหาโควิด และซัพพลายแต่ตัวเลขส่งออกกลับเติบโตขึ้น 17-18% ถือว่าเป็นโอกาสดีที่จะมาช่วยกันขับเคลื่อนและช่วยกันพัฒนาศักยภาพ อีกขาเริ่มเห็นเทคโนโลยีหลายอย่างพัฒนาก้าวกระโดด มีความชัดเจน ปรับตัวด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ ด้านดิจิทัล เป็นส่วนสำคัญที่ต้องปรับตัว เพื่อหาศักยภาพใหม่ๆของประเทศ
“ในโลกดิจิทัลและโลกเทคโนโลยีเบ่งบาน การเติบโตไม่ได้พูดถึง 5% 10% แต่พูดถึงการกระโดดเป็น 3 เท่า 5 เท่า 10 เท่า เลยรู้สึกว่าประเทศไทยโตปีละ 3% 5% เราอาจจะตามไม่ทันโลก เป็นที่มาของการที่ประเทศไทยต้องปรับตัว นำเทคโนโลยี นวัตกรรมมาใช้ ประกอบกับต้องเผชิญ 2 เรื่องในโลกคือ การไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เห็นการลงทุนใหม่ๆ ในการลดก๊าซเรือนกระจก ฟอสซิล อีกเรื่องคือการเข้าสู่สังคมสูงวัยที่ไทยมีโอกาสจะเข้าสู่สังคมสูงวัยเร็วขึ้น ถ้าไม่ปรับตัวใช้นวัตกรรมจะมีปัญหาเช่นกัน ดังนั้นต้องพยายามเฟ้นศักยภาพ สร้างคนรุ่นใหม่ ธุรกิจใหม่ๆ ให้มีประสิทธิภาพในการแข่งขันและเติบโตอย่างยั่งยืน”
นายบุรณินกล่าวอีกว่า การที่รัฐบาลมีนโยบายผลักดัน 12 อุตสหกรรมเป้าหมาย (New S-Curve) ถือกว่าเป็นยุทธศาสตร์ชาติ สอดคล้องกับแนวทางการดำเนินธุรกิจของปตท. และเป็นสิ่งที่พูดกันมา 3-4 ปีแล้ว แต่ยังไปไม่ถึงไหน นับจากนี้ต้องเร่งผลักดันให้เกิด ซึ่งใน 12 อุตสาหกรรม ในส่วนของบีซีจีจะเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการขับเคลื่อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของไบโออีโคโนมี กรีนอีโคโนมี อย่างปตท.เริ่มเปลี่ยนจากที่เป็นฟอสซิลไปสู่พลังงานหมุนเวียนและขยับขยายสู่ธุรกิจใหม่ เช่น ธุรกิจด้านสุขภาพ ปรับจากการขายน้ำมัน ไปขายไฟฟ้าเป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์
“ตอนนี้คนเริ่มมีคววามเข้าใจเห็นความสำคัญเทคโนโลยี ดิจิทัล และเรื่องคน ในช่วงโควิดมีความโชคดีที่ทำให้แต่ละประเทศหยุดรอประเทศไทย ในช่วง 2-3 ปีเกิดโควิดแต่เรายังดีในภาคอุตสาหกรรม เพราะมีการปรับตัวระดับหนึ่ง แต่ถ้าจะขับไปข้างหน้าต้องเปลี่ยนวิธีการจาก 3.0 เป็น 4.0 ผมเชื่อว่าคนที่อยู่ 3.0 ไม่ใช่ทุกคนกระโดดไป 4.0 ได้ ก็ต้องปรับตัว โปรดักส์ อยู่ในธุรกิจเดิม ถ้าฐานใหญ่อยู่แล้ว ถ้า Include มาอย่างน้อยผลประกอบการจะดีขึ้น 10-20% ขณะเดียวกันต้องไม่ลืมว่าโลกเปลี่ยนไปแล้ว การขับเคลื่อนไปสู่ในอุตสาหกรรมใหม่ๆ ก็จำเป็นมาก เป็นที่มาของปตท.เมื่อปีที่แล้ว กำหนดธุรกิจเป็นธุรกิจดั้งเดิม(OLD) ธุรกิจปัจจุบัน(NOW) และธุรกิจใหม่(NEW) ที่ต้องหาใหม่“
นายบุรณิน กล่าวอีกว่า ในปีนี้ปตท.ปรับจากเดิม OLD-NOE-NEW เป็น NOW-NEW-BETTER โดยNOW ต้องทำทันที เรื่องใหม่ๆ และต้องมีศักยภาพสอดคล้องกับเทรนด์โลก เช่น รีคาร์บอไนเซชัน เทคโนโลยี ดิจิทัล และเข้าไปสู่ไบโอเทคโนโลยี และเป็นิส่งที่ต้องBETTER ดีต่อโลกและทุกคน เนื่องจากเทคโนโลยีเปลี่ยนรวดเร็วไม่ใช่ว่าทุกคนจะตามทัน แต่จะทำยังไงให้มีคนที่เป็นแชมป์เปี้ยน มีคนระดับกลางที่มูฟตามขึ้นมา มีคนระดับท้ายๆที่สามารถอยู่ดีกินดีได้ จากการใช้เทคโนโลยีที่ทำให้เข้าถึงโอกาส ไม่ว่าจะเป็นอีคอมเมิร์ช ดีจิทัล ถ้ารวมทุกองค์ประกอบ จะทำให้ประสบความสำเร็จ เพราะประเทศไทยวันนี้มีหลากหลายเจนเนอเรชั่น หลากหลายสกิล(ทักษะ) แต่ต้องทำอย่างไรให้ทุกคนอยู่ด้วยกันได้และไปสู่โลกใหม่ด้วยการมีความสามารถในการแข่งขัน ไม่ใช่แค่ประเทศไทย ต้องมีความสามารถในอาเซียนและในเวทีโลก
“ปตท.เพิ่งเปลี่ยนวิสัยทัศน์ จากที่ใช้มา 14 ปี เป็นบริษัทพลังงานไทยชั้นนำ เปลี่ยนเป็น Powering Life with Future Energy and Beyond ขับเคลื่อนทุกชีวิตด้วยพลังแห่งอนาคต จะไม่ใช่ธุรกิจแบบเดิมใช้ฟอสซิล ต้องพูดถึงพลังงานสะอาด รีนิวเอเบอร์ รถยนต์ไฟฟ้า และไม่หยุดแค่พลังงาน จะมีธุรกิจใหม่ที่เป็นบียอร์น ไม่ว่าจะเป็นโลจิสติกส์ โครงสร้างพื้นฐานที่ไปลงทุนท่าเรือแหลมฉบังเฟส3 รวมถึงเอไอโรบอติก และที่เป็นหัวหอกคือธุรกิจLife Science ตั้งบริษัท อินโนบิก (เอเซีย) ทำเกี่ยวกับยา วัสดุอุปกรณ์การแพทย์ อาหารทางการแพทย์และอนาคต ต่อยอดไปถึงไบโอเทคโนโลยีที่อนาคตมาแน่”
นายบุรณิน กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ ปตท.จะไม่ทำคนเดียว เนื่องจากการทำคนเดียวประเทศไม่ได้ประโยชน์ ใช้พลังงาน เวลามาก ที่สำคัญกว่าจะไปถึงตรงนั้นอาจจะไม่ทันกาล ปตท.จะทำตัวให้เป็นแพลตฟอร์มและสร้างอีโคซิสเต็ม สร้างคนเก่งๆ เป็นพลังให้คนรุ่นใหม่ขับเคลื่อน ต้องเกื้อกูลซึ่งกันและกัน สุดท้ายจะทำให้ทุกคนมีขนาดธุรกิจที่ใหญ่ขึ้น ประเทศไทยมีจีดีพีที่โตขึ้น และมีรายได้ต่อหัวที่สูงขึ้น