รีเซต

ทางสะดวก! ประมูลรถไฟฟ้าส้ม ศาลปกครอง ยกฟ้อง คดีบีทีเอส ร้อง รฟม. เรียกค่าเสียหาย กรณี แก้ทีโออาร์-ล้มประมูล

ทางสะดวก! ประมูลรถไฟฟ้าส้ม ศาลปกครอง ยกฟ้อง คดีบีทีเอส ร้อง รฟม. เรียกค่าเสียหาย กรณี แก้ทีโออาร์-ล้มประมูล
ข่าวสด
9 กุมภาพันธ์ 2565 ( 13:19 )
88
ทางสะดวก! ประมูลรถไฟฟ้าส้ม ศาลปกครอง ยกฟ้อง คดีบีทีเอส ร้อง รฟม. เรียกค่าเสียหาย กรณี แก้ทีโออาร์-ล้มประมูล

ทางสะดวก! รถไฟฟ้าส้มตะวันตก ศาลปกครอง ยกฟ้อง บีทีเอส ร้อง รฟม.เรียกค่าเสียหาย 5 แสน กรณี ยกเลิกทีโออาร์-ล้ม ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอสซี เปิดเผยภายหลังศาลปกครองกลางได้นัดอ่านคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ 2280/2563 ระหว่าง บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (ผู้ฟ้องคดี) กับ คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่ 1 กับพวกรวม 2 คน (ผู้ถูกฟ้องคดี) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายว่า ศาลฯได้พิจารณาในกรณีที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แก้ไขหลักเกณฑ์การประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เบื้องต้นศาลได้พิจารณาเรื่องการเปลี่ยนเกณฑ์การประมูลและพิจารณาคัดเลือกผู้รับเหมาของ รฟม. ว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่เนื่องจากปัจจุบัน รมฟ.ได้ดำเนินการยกเลิกประมูลไปแล้วจึงไม่มีผลทางคดี

 

ส่วนประเด็นการห้องร้องค่าเสียหาย 5 แสนบาท จาก รฟม.กรณีจากการทำละเมิดทำให้ บริษัทต้องมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากการจัดจ้างที่ปรึกษาทางเทคนิคและที่ปรึกษาทางกฎหมาย เพื่อศึกษาหลักเกณฑ์และจัดทำข้อเสนอในตการประมูลใหม่ ภายหลังจาก รฟม.มีการ ปรับแก้เกณฑ์การประมูลนั้น ศาลเห็นว่า บริษัทจะต้องใช้เงินงบประมาณในการดำเนินการจัดทำข้อเสนอประมูลการอยู่แล้ว ทำให้การเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การประมูลของรฟม.และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 ไม่ได้ทำให้เกิดความเสียหาย ดังนั้นศาลจึงมีคำสั่งยกฟ้อง ให้ รฟม. ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหาย

 

“หลังจากนี้ จะต้องกลับไปหารือ ว่าบริษัทจะอุทธรณ์กรณีฟ้องร้องค่าเสียหายหรือไม่ โดยจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน หลังจากที่ศาลมีคำพิพากษา”

 

ปัจจุบันโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีบุรี (สุวินทวงศ์) ยังอยู่ในกระบวนการของศาลทั้งหมด 3 คดี ประกอบด้วย ศาลปกครอง จำนวน 2 คดี 1.การพิจารณาคดีกรณีที่ศาลปกครองกลางยกคำฟ้องเรียกค่าเสียหาย 2.คดีรฟม.และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 ยกเลิกการคัดเลือกประกวดราคาไม่ชอบด้วยกฎหมาย และศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง จำนวน 1 คดี 3.คดีการแก้ไขหลักเกณฑ์และยกเลิกการประมูลของรฟม.และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง