รู้จัก แอมโมเนียไนเตรท และ สารสีแดงในระเบิด
จากเหตุการณ์ระเบิดในกรุงเบรุต ประเทศเลบานอน เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตแล้วมากกว่า 78 ราย บาดเจ็บมากกว่า 4,000 ราย และสูญหายอีกจำนวนมาก ซึ่งทางการได้ออกมาแถลงข่าวว่าต้นเหตุเกิดจากสารเคมีที่มีชื่อว่า "แอมโมเนียไนเตรท" ที่มีน้ำหนักรวมประมาณ 2,750 ตัน และ "ได้รับการเก็บรักษาอย่างไม่ปลอดภัย" ภายในอาคารหลังหนึ่ง "เป็นเวลานานถึง 6 ปี trueID news จึงไม่พลาดที่จะพาทุกท่านไปรู้จักกับสารเคมีชนิดนี้ว่า ทำไมจึงเป็นต้นตอของการระเบิดครั้งใหญ่นี้ได้
ภาพประกอบจาก : AFP
แอมโมเนียมไนเตรท (Ammonium Nitrate) เป็นส่วนประกอบสําหรับทำ ANFO(แอนโฟ) ซึ่งเป็นระเบิดที่นิยมใช้กันมากที่ สุดในการทำเหมือง โรงโม่หิน และการก่อสร้างต่างๆ การนาปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรทมาใช้เป็นวัตถุดิบในการทาระเบิดมีมานานแล้วโดยนำไปผสมกับเชื้อเพลิง เนื่องจากเป็นระเบิดใช้งานได้ง่าย และมีราคาถูก จึงนิยมใช้กันมากในเหมืองถ่านหิน เหมืองหิน เหมืองแร่โลหะ โรงโม่หิน และอื่นๆ แอมโมเนียไนเตรทจะชื้นเมื่อถูกอากาศ ดังนั้นจึงต้องบรรจุให้ดี เพื่อป้องกันมิให้อากาศเข้าได้ ฉะนั้นวัตถุระเบิดชนิดนี้จึงไม่เหมาะสมที่จะใช้ใต้น้ำ นอกจากได้มีการป้องกันมิให้ถูกน้ำซึมเท่านั้น
แอมโมเนียมไนเตรทหากเก็บในพื้นที่จำกัดมีความชื้น และอุณหภูมิสูง (เกินกว่า 200 องศาเซลเซียส) จะเกิดไอของแอมโมเนียทำให้เกิดการระเบิดได้ แอมโมเนียมไนเตรทจัดเป็นสารระเบิดทางทหารที่มีความไวน้อยที่สุดทั้งต่อการเสียดสีและแรงกระทบกระเทือน จึงต้องมีดินขยายระเบิด(Booster charge) หรือเพิ่มความไวโดยการเติมน้ำมันเชื้อเพลิง (ประมาณ 6%) เรียกระเบิดชนิดนี้ว่า เอ็นโฟร์ (ANFO: Ammonium Nitrate Fuel Oil explosives)
การนำปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรตมาใช้เป็นวัตถุดิบในการทำระเบิดมีมานานแล้วโดยนำไปผสมกับเชื้อเพลิง เนื่องจากระเบิดที่ได้ใช้งานง่าย และมีราคาถูก จึงนิยมใช้มากในเหมืองถ่านหิน เหมืองหิน เหมืองแร่โลหะ และอื่นๆ สำหรับการนำปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรตไปใช้ทำระเบิดเพื่อก่อการร้ายเริ่มครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1970 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งปัจจุบันประเทศในแถบตะวันออกกลาง เช่น อัฟกานิสถาน เป็นต้น ก็ยังนิยมทำและใช้อยู่ เนื่องจากระเบิดแบบนี้ใช้ปุ๋ยเคมีเป็นส่วนประกอบ จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า ระเบิดปุ๋ย (fertilizer bomb)
สารสีแดงที่เกิดขึ้นในการระเบิด
จิมมี ออกซ์ลีย์ ศาสตราจารย์ภาควิชาเคมี มหาวิทยาลัยโรดไอแลนด์ในสหรัฐ เผยว่า การเก็บภายใต้สภาวะปกติและไม่มีความร้อนสูงมาก ยากที่จะทำให้แอมโมเนียมไนเตรทติดไฟได้
“ถ้าคุณดูวิดีโอการระเบิดที่กรุงเบรุต คุณจะเห็นควันดำ ควันแดง นั่นคือปฏิกิริยาไม่สมบูรณ์ สันนิษฐานว่า มีการระเบิดเล็ก ๆ แล้วกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาของแอมโมเนียมไนเตรท แต่ยังไม่ได้ยินว่าการระเบิดเล็ก ๆ นั้นเป็นอุบัติเหตุหรือเจตนา”
และเนื่องจากแอมโมเนียมไนเตรทเป็นออกซิไดเซอร์ ทำให้กระบวนการสันดาปเข้มข้นขึ้น และทำให้สารอื่นติดไฟง่ายขึ้น แต่ตัวมันเองไม่ติดไฟ.
=====
ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก : mtec