รีเซต

เช็กวิธีเลือก "คาร์ซีท" แบบไหนดี ให้เหมาะกับเด็ก หลังกฏหมายบังคับใช้ ให้เด็กอายุไม่เกิน 6 ปี ฝ่าฝืนปรับ 2,000 บาท

เช็กวิธีเลือก "คาร์ซีท" แบบไหนดี ให้เหมาะกับเด็ก หลังกฏหมายบังคับใช้ ให้เด็กอายุไม่เกิน 6 ปี ฝ่าฝืนปรับ 2,000 บาท
Ingonn
10 พฤษภาคม 2565 ( 14:12 )
1.8K

กฏหมายบังคับใช้ "คาร์ซีท" ให้เด็กอายุไม่เกิน 6 ปีต้องนั่ง "คาร์ทซีท" โดยพรบ.จราจรทางบก พ.ศ.2565 ประกาศใช้มีสาระสำคัญ เกี่ยวกับความปลอดภัยของเด็กในมาตรา 123 กล่าวว่า เด็กอายุไม่เกิน 6 ปี หรือผู้โดยสารที่สูงไม่เกิน 135 ซม.ต้องนั่งคาร์ซีท บูสเตอร์ซีท หรือคาดเข็มขัดนิรภัย หากไม่ปฏิบัติ มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท และจะมีผลในอีก 120 วันข้างหน้า หรือวันที่ 5 กันยายน 2565

 

เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2565 มีรายงานว่า เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2565 เมื่อวันที่ 7 พ.ค. 2565 บัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 120 วันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

 

โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 14/2560 เรื่อง มาตรการ เพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก ลงวันที่ 21 มีนาคม พุทธศักราช 2560

 

และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "มาตรา 123 ภายใต้บังคับมาตรา 123/1 ในขณะขับรถยนต์ ผู้ที่อยู่ในรถยนต์ต้องปฏิบัติ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้

 

(1) ผู้ขับขี่ ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่งตลอดเวลาในขณะขับรถยนต์

 

(2) คนโดยสาร

(ก) คนโดยสารที่นั่งแถวตอนหน้าและที่นั่งแถวตอนอื่น ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัย ไว้กับที่นั่งตลอดเวลาในขณะโดยสารรถยนต์

(ข) คนโดยสารที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 6 ปี ต้องจัดให้นั่งในที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก หรือนั่งในที่นั่งพิเศษสำหรับเด็กเพื่อป้องกันอันตราย หรือมีวิธีการป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ

(ค) คนโดยสารที่มีความสูงไม่เกิน 135 เซนติเมตร ต้องรัดร่างกายด้วย เข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่ง หรือมีวิธีการป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะนั่งแถวตอนใด

 

ในกรณีที่ผู้ขับขี่หรือคนโดยสารมีเหตุผลทางสุขภาพอันไม่สามารถรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัย ไว้กับที่นั่งได้ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง แต่บุคคลนั้นต้องมีวิธีการป้องกันอันตราย ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ

 

ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กและที่นั่งพิเศษสำหรับเด็กเพื่อป้องกันอันตรายตาม (2) (ข) และวิธีการ ป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุตามที่บัญญัติไว้ในมาตรานี้ ให้เป็นไปตามที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติประกาศกำหนด

 

พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2565” มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

 

ทั้งนี้มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท โดยพ.ร.บ.นี้มีผลใช้บังคับในอีก 120 วันนับแต่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

 

 

อ่านฉบับเต็มที่นี่

 

วิธีเลือก "คาร์ซีท" ให้เหมาะกับเด็ก

คาร์ซีทสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทตามช่วงอายุและส่วนสูง

แบบที่ 1 คาร์ซีทเด็กแรกเกิด (Baby Car Seat)

คาร์ซีทกลุ่มนี้เหมาะสำหรับเด็กแรกเกิดถึง 2 ปี เป็นคาร์ซีทแบบหันหน้าเข้าหาเบาะ มักมีด้ามจับอยู่ด้านบนและต้องติดตั้งโดยหันหน้าเข้าหาเบาะหลังเท่านั้น แต่คาร์ซีทแต่ละยี่ห้อและแต่ละรุ่นอาจมีข้อกำหนดที่แตกต่างกัน

 

แบบที่ 2 คาร์ซีทสำหรับเด็กเล็ก (Car Seat for toddlers)

เป็นคาร์ซีทสำหรับเด็กเล็ก อายุ 2-5 ปี หรือเด็กที่มีน้ำหนักและส่วนสูงตามที่ระบุไว้ คาร์ซีทจะหันไปข้างหน้ารถ ติดตั้งโดยยึดติดกับเบาะหลัง และหันไปข้างหน้ารถเหมือนเบาะรถปกติ 

 

แบบที่ 3 บูสเตอร์ซีท (Booster Seat)

คาร์ซีทสำหรับเด็กโต โดยคาร์ซีทแบบที่นั่งเสริม ติดตั้งโดยยึดกับเบาะหลัง และหันไปข้างหน้ารถเหมือนเบาะรถปกติ อาจใช้ได้ตั้งแต่ 4-12 ปี หรือตามคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญคือ ควรนั่งจนถึงลูกส่วนสูงถึง 140 ซม. จึงเปลี่ยนมานั่งเบาะธรรมดาและคาด Seat Belt แบบผู้ใหญ่

 

วิธีเลือกซื้อ "คาร์ซีท" 

  1. เข็มขัดนิรภัย เข็มขัดนิรภัยของคาร์ซีทควรผ่านเกณฑ์มาตรฐาน และควรเป็นเข็มขัดนิรภัยแบบ 5 จุด  เพราะจะปลอดภัยกว่าแบบ 3 จุด

  2. มาตรฐานความปลอดภัย เนื่องจากยังไม่มีหน่วยงานภาครัฐใด ๆ ที่รับรองมาตรฐานของคาร์ซีทซึ่งถูกผลิตและนำเข้ามาในประเทศไทยโดยเฉพาะ ดังนั้น ผู้ใช้ควรเลือกคาร์ซีทที่ผ่านมาตรฐานจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ เช่น Federal Motor Vehicle Safety Standard 213 ของประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

  3. ความใหม่ของผลิตภัณฑ์ การซื้อคาร์ซีทมือหนึ่งซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ย่อมดีกว่า เพราะเพิ่งถูกผลิตและยังไม่ผ่านการใช้งาน
  4. เสี่ยงต่อการชำรุดเสียหายน้อยกว่า แต่หากจำเป็นต้องซื้อสินค้ามือสอง ควรสังเกตว่าผลิตภัณฑ์นั้นไม่มีชิ้นส่วนใดขาดหายไป
    ไม่มีรอยแตก หรือรอยร้าว และไม่เคยผ่านอุบัติเหตุทางรถยนต์มาก่อน เพราะอาจส่งผลต่อการทำงานของระบบนิรภัยได้

  5. ราคา อย่าตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จากราคาเพียงอย่างเดียว เพราะคาร์ซีทที่มีราคาสูง ไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ว่าจะใช้งานได้ดีกว่า หรือปลอดภัยกว่าเสมอไป

 

 

 

ข้อมูล www.ratchakitcha.soc.go.th , pobpad , babyhillsthailand

 

 

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง