รีเซต

ยานสำรวจดาวอังคารของอินเดียขาดการติดต่อกับโลกอาจสิ้นสุดภารกิจ Mars Orbiter

ยานสำรวจดาวอังคารของอินเดียขาดการติดต่อกับโลกอาจสิ้นสุดภารกิจ Mars Orbiter
TNN ช่อง16
4 ตุลาคม 2565 ( 16:03 )
104

ภารกิจมาร์ส ออร์บิเตอร์ (Mars Orbiter Mission) ของประเทศอินเดีย อาจกำลังมาถึงทางตัน หลังใช้เวลานานกว่า 8 ปี ในการโคจรรอบดาวอังคาร


ล่าสุดสถานีภาคพื้นดินที่ดำเนินการโดยองค์การวิจัยอวกาศแห่งอินเดีย (ISRO) ได้สูญเสียการสื่อสารกับยานอวกาศของภารกิจมาร์ส ออร์บิเตอร์ (Mars Orbiter Mission) หรืออีกชื่อหนึ่งคือยานมางกลียาน (Mangalyaan) ซึ่งสาเหตุของการสูญเสียการสื่อสารยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด อาจมาจากเชื้อเพลิงหมด, แบตเตอรี่หมด หรืออื่น ๆ


โดยยานมางกลียาน (Mangalyaan) ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศ เมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2013 และเข้าสู่วงโคจรดาวอังคารเมื่อเดือนกันยายน ปี 2014 มีลักษณะเป็นยานสำรวจที่โคจรรอบดาวอังคารติดตั้งอุปกรณ์สำรวจเพื่อเก็บข้อมูลด้านต่าง ๆ ของดาวอังคาร รวมไปถึงติดตั้งเป็นยานอวกาศที่ถูกติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ที่มีความกว้าง 1.4 เมตร และมีความยาว 1.8 เมตร ซึ่งประกอบด้วยแผง 3 แผงติดตั้งอยู่ที่ด้านหนึ่งของยานอวกาศ 


โดยแผงโซลาร์เซลล์ของยานมางกลียาน (Mangalyaan) สามารถสร้างพลังงานได้ 800 วัตต์ ที่ดาวอังคาร และเพียงพอสำหรับการชาร์จแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนได้ แต่อย่างไรก็ตาม การเกิดสุริยุปราคาระหว่างดวงอาทิตย์, ดาวอังคาร และยานอวกาศ เป็นอุปสรรคต่อการทำงานของแผงโซลาร์เซลล์ ซึ่งมันถูกออกแบบมาให้รับมือกับสุริยุปราคาที่ยาวนานไม่เกิน 40 นาที เท่านั้น 


แต่ล่าสุดในเดือนเมษายนมันประสบกับสุริยุปราคาที่ยาวนานถึง 7 ชั่วโมง 30 นาที และรอดพ้นออกมาได้ แล้วในระหว่างที่ยานอวกาศกำลังฟื้นตัว มันอาจใช้เชื้อเพลิงที่บรรจุไป 825 กิโลกรัม จนหมด เพื่อจ่ายพลังงานให้กับเครื่องขับดันหลักและเครื่องขับดันขนาดเล็กแปดตัวที่ใช้สำหรับการควบคุมระดับความสูง


อย่างไรก็ตาม การขาดการสื่อสารนี้อาจมีสาเหตุมาจากอย่างอื่นอีก เช่น ระบบอัตโนมัติของยานอวกาศทำการปิดตัวเอง ซึ่งเป็นวิธีการเอาตัวรอดแบบที่มันเคยทำมาแล้วขณะติดอยู่ในเงาสุริยุปราคาอันยาวนาน


ข้อมูลจาก www.space.com

ภาพจาก indiatvnews.com

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง