รีเซต

รัสเซียทุบสถิติร้อน เมืองแถบอาร์กติก อุณหภูมิสูง 38 องศาเซลเซียส

รัสเซียทุบสถิติร้อน เมืองแถบอาร์กติก อุณหภูมิสูง 38 องศาเซลเซียส
ข่าวสด
1 กรกฎาคม 2563 ( 00:00 )
250
รัสเซียทุบสถิติร้อน เมืองแถบอาร์กติก อุณหภูมิสูง 38 องศาเซลเซียส

 

รัสเซียทุบสถิติร้อน - วันที่ 30 มิ.ย. เอเอฟพี รายงานว่า มหาสมุทรอาร์กติกในส่วนของรัสเซียมีอุณหภูมิสูงเป็นประวัติการณ์ในเดือนนี้ที่ก่อเกิดไฟป่าทรุนดาผิดปกติ เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศผิดปกติแปลกประหลาด

ดินแดนทางเหนือของรัสเซีย รวมถึงบางส่วนของสาธารณรัฐซาฮา หรือยาคูเทีย ซึ่งติดกับมหาสมุทรอาร์กติก เผชิญคลื่นความร้อนเมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา และหมู่บ้านในป่าทรุนดาห่างไกลกำลังต่อสู้กับไฟป่าโดยมีบางพื้นที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน

 

นายโรมัน วิลฟันด์ หัวหน้าสำนักงานพยากรณ์อากาศรัสเซีย แถลงข่าวว่า อุณหภูมิโดยเฉพาะที่เมืองเวียร์โฮยันสค์แตะ 38 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 17 มิ.ย. เมื่อเปรียบเทียบกับอุณหภูมิต่ำสุดของเมืองที่มีการบันทึกคือ -67.8 องศาเซลเซียส

 

นายวิลฟันด์กล่าวว่า แนวโน้มอุณหภูมิที่ร้อนขึ้น และอากาศที่แจ่มใสขึ้น เกิดจากความเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และความเปลี่ยนแปลงในการหมุนเวียนอากาศ ด้วย แอนไทไซโคลนขั้วโลก (polar anticyclones) ลมสัญจรเป็นวงกว้างบริเวณกลางความกดอากาศสูง ปรากฏการณ์ที่ทำให้ท้องฟ้าแจ่มใส ที่เกิดขึ้นบ่อยขึ้น ในทางกลับกัน ผืนดินมหาสมุทรอาร์กติกในช่วงฤดูร้อนมีความร้อนขึ้น เนื่องจากไม่มีเมฆ

นายวิลฟันด์กล่าวอีกว่า ก่อนหน้านี้ นักอุตุนิยมวิทยาไม่ได้สังเกตสถานการณ์อันตรายจากไฟป่าในบริเวณขั้วโลกบ่อยครั้ง ทว่าตอนนี้ท่าทีกำลังเปลี่ยนไป เนื่องจากแอนไทไซโคลนเกิดขึ้นบ่อย และคาดไม่ได้ว่าจะเกิดขึ้นที่ไหนด้วย และไฟป่าที่เกิดขึ้นส่งผลเกิดวงจรอากาศอุ่นเนื่องจากขี้เถ้าจะทำให้พื้นผิวน้ำแข็งดำลง ซึ่งก่อนหน้านี้จะช่วยสะท้อนแสงอาทิตย์ที่ตกมากระทบ แต่กลับกลายเป็นตัวทำให้น้ำแข็งละลายแทน

Taken from 40,000ft, this image shows a good cross section of the Verkhoyansk Mountain Range in Russia.

ทั้งนี้ รัสเซียมีอุณหภูมิอุ่นเร็วกว่าที่อื่นของโลก 2.5 เท่า เนื่องจากดินแดนมหาสมุทรอาร์กติกกว้างใหญ่ แม้ว่าประธานาธิบดีวลาดีมีร์ ปูติน ระบุว่า ประโยชน์ของอุณหภูมิที่อุ่นขึ้นจะเปิดเส้นทางการขนส่งและแหล่งทรัพยากรพลังงาน ความเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอันตรายอย่างยิ่งต่อโครงการพื้นฐานของประเทศที่สร้างบน ชั้นดินเยือกแข็ง (permafrost)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง