รีเซต

หมวยเล็ก: “ทำร้ายสุนัข อย่ามองข้าม” เมื่อทารุณกรรมสัตว์เลี้ยง อาจเชื่อมโยงทำร้ายมนุษย์

หมวยเล็ก: “ทำร้ายสุนัข อย่ามองข้าม” เมื่อทารุณกรรมสัตว์เลี้ยง อาจเชื่อมโยงทำร้ายมนุษย์
TNN ช่อง16
6 มิถุนายน 2567 ( 10:51 )
34
หมวยเล็ก: “ทำร้ายสุนัข อย่ามองข้าม” เมื่อทารุณกรรมสัตว์เลี้ยง อาจเชื่อมโยงทำร้ายมนุษย์

ข่าวการตี ทำร้าย ถึงขั้นทารุณสัตว์เลี้ยง ถือว่าไม่แปลกอะไรในไทย แม้จะเป็นภาพที่สลดใจทุกครั้งที่พบเห็น แต่ในต่างประเทศ โดยเฉพาะชาติตะวันตก เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายจะให้ความสนใจกับกรณีเช่นนี้มาก เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงสิ่งที่เลวร้ายยิ่งกว่า


เหยื่อต่อไปคือมนุษย์?---


เว็บไซต์ของกรมสอบสวนกลางของสหรัฐฯ หรือเอฟบีไอ อธิบายว่า การทารุณกรรมสัตว์ในอดีต มักถูกมองว่าเป็นกรณีแยก จากคดีการทำร้ายมนุษย์ แต่ผลการศึกษาในช่วงไม่นานมานี้ ชี้ว่า การทำร้ายสัตว์ เป็นสัญญาณถึงความรุนแรงที่เกิดกับมนุษย์ได้ ไม่ว่าจะเป็นคู่ครองของผู้กระทำ บุตรหลาน และคนชราในครัวเรือน 


ดังนั้น เวลาเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ได้รับการแจ้งเหตุลักษณะนี้ พวกเขาจะเข้าตรวจสอบสภาพครอบครัว บุคคลใกล้ชิดของผู้ก่อเหตุ โดยเฉพาะหากครอบครัวนั้นมีเด็กอาศัยอยู่ด้วย 


เอฟบีไออธิบายว่า สำหรับเหยื่อความรุนแรงในครอบครัว สัตว์เลี้ยงเป็นที่พึ่งสำคัญทางใจ แต่ก็มักตกเป็นเหยื่อทางอ้อม ของผู้ใช้ความรุนแรงในการทำร้ายสัตว์เลี้ยง เพื่อสร้างความบอบช้ำจิตใจให้เหยื่อ ใช้ความกลัวควบคุม ผ่านการข่มขู่และทำร้ายสัตว์เลี้ยงแสนรัก บางครั้งก็สั่งสอนเป็นตัวอย่าง เพื่อไม่ให้เหยื่อกล้าต่อต้าน


สถิติน่าสนใจชี้ว่า ผู้หญิงที่ถูกกระทำ 75% ที่มีสัตว์เลี้ยง รายงานว่าสัตว์เลี้ยงของตนเคยถูกคู่ครองข่มขู่และทำร้าย ไม่เพียงเท่านั้น ผู้กระทำยังทำร้ายสัตว์ต่อหน้าเด็ก คิดเป็น 90% อีกด้วย แต่ในกรณี “หมวยเล็ก” ผู้กระทำเป็นผู้หญิง จึงอาจไม่ตรงตามข้อมูลเชิงสถิตินี้ 


ที่สำคัญ ความรุนแรงต่อสัตว์อาจเป็นสัญญาณบอกถึงความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งการทำร้ายร่างกาย ข่มขืน ฆาตกรรม วางเพลิง ความรุนแรงในครอบครัว การละเมิดเด็ก เป็นต้น 


นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต เคยให้สัมภาษณ์กับไทยรัฐว่า 


“คนเหล่านี้ บางคนอาจจะกลายเป็นคนที่มีบุคลิกภาพต่อต้านสังคม ก่อเหตุอาชญากรรม ปล้น จี้ หรือลักขโมย แก่นของเรื่องนี้มาจากประเด็นเดียวกัน คือ ขาดความรับรู้ผิดชอบชั่วดี และขาดการควบคุมตัวเอง”


วิดีโอโชว์ทารุณ---


งานศึกษาของ ณธัญ วงศ์วานิช (2009) คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ชี้ว่า “การเข้าสู่ยุคแห่งอินเตอร์เน็ตนั้นท าให้การทารุณกรรมสัตว์ทวีความรุนแรงเพื่อ สนองความต้องการของผู้ที่เสพความรุนแรงในเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม หรือบนสื่อโซเชียลและส่งผลเสีย เป็นวงกว้างในสังคมมากขึ้น เนื่องจากมีบุคคลบางกลุ่มน าสัตว์มาทารุณกรรมเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ บนช่องทางดังกล่าว ซึ่งเนื้อหาความรุนแรงนี้อาจถูกเผยแพร่ไปยังคนในสังคมได้”


“ในทางกลับกัน เมื่ออินเตอร์เน็ตเชื่อมต่อโลกถึงกันได้ ท าให้ประชาชนมีโอกาส ช่วยกันเฝ้าระวังเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม หรือใช้สื่อเพื่อท าการช่วยเหลือสัตว์ได้ เป็นการตื่นตัวในศตวรรษ ที่ 21 ที่ส าคัญเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของสัตว์ในสังคมมนุษย์”


สหรัฐฯ ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก ถึงขั้นในปี 2010 ออกกฎหมายห้ามการเผยแพร่ภาพการทรมานและฆ่าสัตว์ วิดีโอลักษณะนี้ เรียกว่า “ครัช” (Crush) มักเป็นวิดีโอผู้หญิงนุ่งน้อยห่มน้อย ทำร้าย ตี กระทืบ หรือใช้วัตถุแหลมแทงใส่สัตว์ แล้วปรากฎว่ามีคนดูชอบด้วย เพราะการเห็นความรุนแรง ทำให้คนบางกลุ่มมีอารมณ์ทางเพศ 


ต่อมา สหรัฐฯ ก็ออกกฎหมายห้ามการทรมานสัตว์ ที่มีบทบังคับเข้มงวดยิ่งกว่า ถือเป็นกฎหมายกลางฉบับแรกของสหรัฐฯ ที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่เพื่อยับยั้งการทารุณกรรมสัตว์ 


ไทยเองก็มีกฎหมายนี้ เรียกว่า กฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่า และกฎหมายคุ้มครองสัตว์ทั่วไป แต่หากมองถึงกรณี “หมวยเล็ก” จะเป็นพ.ร.บ. ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 เป็นกฎหมายที่มุ่งคุ้มครอง “สัตว์” โดยแบ่งเป็น สัตว์บ้าน สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้งาน สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นพาหนะ สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นเพื่อน สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นอาหาร สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้ในการแสดง หรือสัตว์เลี้ยงเพื่อใช้ในการอื่นใด


โทษของการทำร้ายร่างกายสัตว์เลี้ยง มีดังนี้


ต้องระวางโทษไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


แล้วการทารุณกรรมที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย มีอะไรบ้าง อาทิ 


ทำร้ายสัตว์จนได้รับบาดเจ็บ ทุพพลภาพ หรือการทำให้สัตว์ตาย แสวงหาประโยชน์จากสัตว์พิการ สัตว์ที่เจ็บป่วย รวมไปถึงสัตว์ที่กำลังตั้งท้อง ใช้สัตว์ในการประกอบกามกิจ และใช้สัตว์ทำงานเกินเหตุ หรือใช้งานไม่เหมาะสม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง