รีเซต

เทคโนโลยีทหารจีน...แซงหน้า? ญี่ปุ่น-สหรัฐฯ อาจกำลังตกที่นั่งลำบาก ผู้เชี่ยวชาญชี้ ควรผนึกกำลังกันต้านจีน

เทคโนโลยีทหารจีน...แซงหน้า? ญี่ปุ่น-สหรัฐฯ อาจกำลังตกที่นั่งลำบาก ผู้เชี่ยวชาญชี้ ควรผนึกกำลังกันต้านจีน
TNN ช่อง16
30 กันยายน 2564 ( 20:04 )
77
เทคโนโลยีทหารจีน...แซงหน้า? ญี่ปุ่น-สหรัฐฯ อาจกำลังตกที่นั่งลำบาก ผู้เชี่ยวชาญชี้ ควรผนึกกำลังกันต้านจีน

จีนกำลังเป็นต่อในสงครามเทคโนโลยี 


การที่จีนก้าวขึ้นเป็นยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยี หมายความว่าประเทศในระบอบประชาธิปไตย เช่น ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ กำลังจะสูญเสียความเหนือกว่าทางเทคโนโลยี” ซูซูกิ กล่าว


ซูซูกิ อัตสึโอะ เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งดูแลการวิจัยและพัฒนาทางทหาร แสดงความคิดเห็นดังกล่าว ระหว่างการปราศรัยต่อศูนย์การศึกษายุทธศาสตร์และการศึกษานานาชาติในกรุงวอชิงตัน ดีซี ของสหรัฐฯ หลังญี่ปุ่นเข้าร่วมในการประชุมแบบพบหน้าเป็นครั้งแรก ระหว่างผู้นำ Quad ที่ประกอบด้วยสหรัฐฯ ญี่ปุ่น อินเดีย และออสเตรเลีย


ซูซูกิ เรียกความสามารถทางการทหารที่เพิ่มขึ้นของจีนว่า "การปฏิวัติเทคโนโลยี


พร้อมให้เครดิตกับความก้าวหน้าในการป้องกันประเทศ จากการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีพลเรือน การสรรหานักวิทยาศาสตร์ และวิศวกรจากต่างประเทศ ผ่านแผน Thousand Talents และการต่อยอดเทคโนโลยีจากนานาประเทศ


เสริมทัพความแกร่งสหรัฐฯ-ญี่ปุ่น


เมื่อญี่ปุ่นเผชิญกับ "สภาพแวดล้อมด้านความปลอดภัยที่เสื่อมโทรมซูซูกิเรียกร้องให้สหรัฐฯ และญี่ปุ่น เพิ่มการลงทุนในการวิจัยและพัฒนาร่วมกัน เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับห่วงโซ่อุปทานด้านการป้องกันประเทศ รวมถึงความร่วมมือด้านอื่น  เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีทางทหารใหม่ร่วมกัน


ก่อนหน้านี้ ผู้รับเหมาทางทหารของญี่ปุ่นและสหรัฐฯ เคยร่วมมือด้านอาวุธล้ำสมัยกันมาก่อน หนึ่งในนั้นคือ RIM-161 Standard Missile-3 รุ่นล่าสุด ซึ่งใช้สกัดกั้นขีปนาวุธพิสัยสั้นและกลาง ที่ร่วมพัฒนาโดย Raytheon Industries และ Mitsubishi Heavy Industries


เราหวังว่าโครงงานนี้จะสำเร็จได้ด้วยดี และสานต่อโครงการพัฒนาความร่วมมืออื่น  ต่อไป” ซูซูกิ กล่าว พร้อมเสริมว่า ทั้งสองฝ่ายยังอยู่ระหว่างการเจรจา และ “ยังไม่ได้ตัดสินใจ


สหรัฐ-ญี่ปุ่น ผนึกกำลังต้านจีน


ซูซูกิยังได้เสนอโครงการร่วมกัน ระหว่างสหรัฐฯ และญี่ปุ่น เพื่อระบุจุดอ่อนในห่วงโซ่อุปทานด้านการป้องกัน ซึ่งจะเป็นการแบ่งปันข้อมูลกับอีกฝ่าย เพื่อ “อุดช่องโหว่ของกันและกัน


เขากล่าวต่อไปว่า หากริเริ่มสำเร็จ ทั้งสองฝ่ายอาจพิจารณาขยายสนธิสัญญา เพื่อรวมประเทศอื่น  ที่มีแนวคิด ”คล้ายคลึงกันมาผนึกกำลังกัน


ด้านกระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ ไม่ได้ตอบสนองต่อข้อเสนอดังกล่าวในทันที ขณะที่หลายฝ่ายคาดการณ์ว่า ความร่วมมือทางทหารระหว่างสหรัฐฯ และญี่ปุ่น อาจสร้างความไม่พอใจให้รัฐบาลจีน 


เอกสารด้านกลาโหมที่เผยแพร่โดยญี่ปุ่น เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ได้เพิ่มความเสี่ยงด้านความปลอดภัยที่ญี่ปุ่นต้องเผชิญ รวมถึงการซ้อมรบทางทหารของจีน ซึ่งมุ่งเป้าไปที่ไต้หวัน 


แน่นอนว่า การกระทำดังกล่าว จุดประกายความโกรธเคืองของจีน พร้อมกล่าวหาญี่ปุ่นว่า “แทรกแซงกิจการภายในอย่างร้ายแรง


ญี่ปุ่นทุ่มงบพัฒนารอบด้าน


ญี่ปุ่นผสานความร่วมมือทางทหารที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นกับสหรัฐฯ และกำลังจัดหาแหล่งทรัพยากรในอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศของตัวเองไปพร้อม  กัน


ข้อมูลจากกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุว่า ญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในผู้ซื้ออาวุธรายใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ 


เมื่อปีที่แล้ว ญี่ปุ่นสั่งซื้อเครื่องบินขับไล่จู่โจม ร่วม 105 ลำจากสหรัฐฯ มูลค่ากว่า 23,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 780,218 ล้านบาทนับเป็นการขายทางทหารจากต่างประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับสอง เท่าที่กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ เคยอนุมัติ


ซูซูกิ ยังระบุว่า งบประมาณในปีหน้า สำหรับการวิจัยและพัฒนาในกระทรวงกลาโหม รัฐบาลญี่ปุ่นพิจารณาการเพิ่มงบ 320,000 ล้านเยน (ราว 97,033 ล้านบาทเพิ่มขึ้นราว 50% จากการจัดสรรงบประมาณปัจจุบัน ซึ่งอยู่ที่ 210,000 ล้านเยน (ราว 63,689 ล้านบาท)


ทั้งนี้ งบประมาณที่เพิ่มขึ้นจะนำไปสู่การพัฒนาในด้านต่าง  เช่น อวกาศไซเบอร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับแม่เหล็กไฟฟ้าปัญญาประดิษฐ์ระบบไมโครเวฟพลังสูง และอาวุธเลเซอร์ 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง