รีเซต

บิ๊กตู่ สั่งผ่าน ศบศ. ตั้งทีมปฏิบัติการเชิงรุก ดึงเอกชนไทย-ต่างประเทศ ช่วยฟื้นศก. เพิ่มลงทุน จ้างงาน

บิ๊กตู่ สั่งผ่าน ศบศ. ตั้งทีมปฏิบัติการเชิงรุก ดึงเอกชนไทย-ต่างประเทศ ช่วยฟื้นศก. เพิ่มลงทุน จ้างงาน
มติชน
4 มิถุนายน 2564 ( 21:14 )
47
บิ๊กตู่ สั่งผ่าน ศบศ. ตั้งทีมปฏิบัติการเชิงรุก ดึงเอกชนไทย-ต่างประเทศ ช่วยฟื้นศก. เพิ่มลงทุน จ้างงาน

 

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รายงานผลการประชุมศูนยบ์ ริหารสถานการณเ์ศรษฐกิจ จากผลกระทบของการระบาดของโรคตดิ เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ครั้งที่ 2/2564 นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบการระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ) ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2564 เวลา 13.30 น. ผ่านระบบ VDO Conference โดยที่ประชุมได้รับทราบและพิจารณาเห็นชอบวาระที่สาคัญ สรุปได้ดังนี้

 

 

1. ที่ประชุมรับทราบเรื่องสาคัญ ดังต่อไปนี้

 

 

1.1 รับทราบสถานการณ์เศรษฐกิจล่าสุด เสนอโดยสานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เครื่องชี้ทางเศรษฐกิจไทยในเดือนเมษายน 2564 เมื่อพิจารณาเครื่องชี้เทียบกับเดือนก่อนหน้าภายหลังจาก ปรับปัจจัยฤดูกาลแล้วพบว่า มูลค่าการส่งออกขยายตัวดีขึ้นตามแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้ดัชนี ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า เช่นเดียวกับดัชนีผลผลิตการเกษตรและดัชนีราคาสินค้า เกษตรขยายตัวส่งผลให้รายได้เกษตรกรยังคงขยายตัวต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี เครื่องชี้ด้านการบริโภคและการลงทุน ภาคเอกชนลดลงจากเดือนก่อน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดในระลอกใหม่ในเดือนเมษายน สอดคล้อง กับการลดลงของดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่ลดลง เช่นเดียวกับภาคการท่องเที่ยวที่ยังคง ได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมการเดินทางระหว่างประเทศ ขณะเดียวกัน ข้อมูลความถี่สูงในเดือนพฤษภาคม 2564 ชี้ให้เห็นถึงการลดลงของการเดินทางภายในประเทศเพื่อออกไปทากิจกรรมต่าง ๆ มาอยู่ในระดับต่าใกล้เคียงกับ การระบาดระลอกแรกในเดือนมีนาคม 2563 แต่เริ่มเห็นสัญญาณการกลับมาฟื้นตัวอย่างช้า ๆ ของการเดินทาง ภายในประเทศนับตั้งแต่ช่วงกลางเดือนพฤษภาคม 2564 ส่วนหนึ่งเป็นผลเนื่องจากการไม่พบผู้ติดเชื้อในในพื้นที่หลาย จังหวัดส่งผลให้เริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมในจังหวัดดังกล่าวมากขึ้น

 

 

1.2 รับทราบความคืบหน้ามาตรการเศรษฐกิจที่สาคัญ ดังนี้

 

 

1.2.1 โครงการเราชนะ ความคืบหน้าล่าสุด จากข้อมูล ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2564 มีรายละเอียดดังนี้ กลุ่มประชาชน มีจานวนผู้ได้รับสิทธิ์ทั้งสิ้น 33.1 ล้านคน มีมูลค่าการใช้จ่ายหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไทยแล้ว รวมทั้งสิ้น 257,997 ล้านบาท แบ่งเป็น (1) กลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 13.7 ล้านคน ซึ่งได้มีการใช้จ่ายตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นมา คิดเป็นมูลค่าการใช้จ่าย 97,367 ล้านบาท

 

(2) กลุ่มผู้ใช้จ่ายวงเงินสิทธิ์ผ่านแอปพลิเคชัน เป๋าตัง จานวน 17.0 ล้านคน แบ่งเป็น กลุ่มผู้มีแอปพลิเคชันเป๋าตัง 8.4 ล้านคน และกลุ่มผู้ไม่ได้อยู่ในระบบฐานข้อมูลของ แอปพลิเคชันเป๋าตัง 8.6 ล้านคน ซึ่งได้มีการใช้จ่ายวงเงินสิทธิ์สะสมตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นมา คิดเป็นมูลค่าการใช้จ่าย 141,254 ล้านบาท และ (3) กลุ่มผู้ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ อาทิ ผู้ที่เข้าไม่ถึงอินเตอร์เน็ต ผู้ที่ไม่มีโทรศัพท์มือถือ ผู้ป่วยติดเตียง และผู้พิการ จานวน 2.4 ล้านคน ซึ่งได้มีการใช้จ่ายวงเงินสิทธิ์สะสม ตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2564 เป็นต้นมา จานวน 19,376 ล้านบาท และกลุ่มผู้ประกอบการ มีจานวนรวม 1.3 ล้านกิจการ แบ่งตามยอดมูลค่าการใช้จ่ายได้ดังนี้ (1) ร้านค้าทั่วไปและอื่น ๆ มูลค่าการใช้จ่าย 104,156 ล้านบาท (2) ร้านธงฟ้า มูลค่าการใช้จ่าย 88,850 ล้านบาท (3) ร้านอาหารและเครื่องดื่ม มูลค่าการใช้จ่าย 49,194 ล้านบาท (4) ร้าน OTOP มูลค่าการใช้จ่าย 10,685 ล้านบาท (5) ร้านค้าบริการ มูลค่าการใช้จ่าย 4,944 ล้านบาท และ (6) ขนส่งสาธารณะ มูลค่าการใช้จ่าย 168 ล้านบาท

1.2.2 มาตรการด้านแรงงาน ความคืบหน้าล่าสุด จากข้อมูล ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2564 มาตรการ ม33 เรารักกัน มีผู้ได้รับสิทธิ์โครงการรวมทั้งสิ้น 8,138,627 คน คิดเป็นวงเงิน 48,831.8 ล้านบาท สาหรับข้อมูลการใช้ จ่ายสะสมของโครงการฯ มีผู้ประกันตนใช้จ่ายไปแล้วทั้งสิ้น 8,040,416 ราย มีร้านค้าที่เข้าร่วมให้บริการจานวน 1,069,838 ราย และมีมูลค่ารวมยอดการใช้จ่ายทั้งหมด 39,317.2 ล้านบาท นอกจากนี้ โครงการฯ ส่งผลให้ผู้ประกันตน ที่ว่างงานกลายเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ผ่านแอปพลิเคชันถุงเงินจานวน 96,830 ราย ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มปริญญาตรี และประกาศนียบัตรขั้นสูง

 

 

1.2.3 มาตรการสนับสนุนการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบธุรกิจและมาตรการสนับสนุนการรับโอน ทรัพย์สินหลักประกันเพื่อชาระหนี้ จากข้อมูล ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2564 ประกอบด้วย (1) โครงการสินเชื่อฟื้นฟู มีสินเชื่อฟื้นฟูที่อนุมัติแล้วทั้งสิ้น 20,839.3 ล้านบาท มีจานวนผู้ได้รับความช่วยเหลือ 8,218 ราย คิดเป็นวงเงินอนุมัติ เฉลี่ยจานวน 2.54 ล้านบาทต่อราย และ (2) โครงการพักทรัพย์พักหนี้ (Asset Warehousing) มีจานวนผู้ได้รับความ ช่วยเหลือแล้วทั้งสิ้น 4 ราย คิดเป็นมูลค่าสินทรัพย์ที่รับโอน 909.68 ล้านบาท

 

 

2. ที่ประชุมเห็นชอบเรื่องสาคัญ ดังต่อไปนี้

 

 

2.1 เห็นชอบในหลักการแนวทางการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้วจากประเทศที่มี ความเสี่ยงต่าและปานกลางของจังหวัดภูเก็ต (Phuket Sandbox) ตามข้อเสนอของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ที่จะมีกาหนดดาเนินการในวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 โดยมีกาหนดแผนการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยไม่ ต้องกักตัว ดังนี้ (1) เปิดรับเฉพาะนักท่องเที่ยวที่ได้รับวัคซีนครบโดสตามเกณฑ์ของวัคซีนแต่ละชนิด มีระยะเวลาการฉีด มากกว่า 14 วัน แต่ไม่เกิน 1 ปี และเป็นผู้เดินทางจากกลุ่มประเทศต้นทางที่มีความเสี่ยงต่า – ปานกลาง ตามหลักเกณฑ์ ของกระทรวงสาธารณสุข (2) กาหนดให้เด็กอายุต่ากว่า 6 ปี ที่เดินทางมาพร้อมกับผู้ปกครองที่ฉีดวัคซีนแล้วเดินทางเข้าได้ ในขณะที่เด็กอายุระหว่าง 6 – 18 ปี จะต้องได้รับการตรวจเชื้อเมื่อเดินทางมาถึงสนามบินภูเก็ต (3) มีเอกสารรับรองการ ฉีดจากประเทศต้นทาง โดยวัคซีนจะต้องขึ้นทะเบียนตามกฎหมายของประเทศไทย หรือได้รับการรับรองโดย WHO (4) มีการติดตั้งแอบพลิเคชันแจ้งเตือน (5) พานักในโรงแรมที่พักที่ผ่านมาตรฐาน SHA+ ในเวลา 14 คืน และภายหลังการ พานักตามระยะเวลาที่กาหนดสามารถเดินทางไปยังพื้นที่อื่นในประเทศไทยได้ และ (6) รายงานตัวและรับการตรวจเชื้อโค วิด-19 ตามมาตรการควบคุมโรคของกระทรวงสาธารณสุข และสามารถทากิจกรรมท่องเที่ยวได้ภายใต้มาตรการป้องกันตาม มาตรฐาน DMHTTA ขณะเดียวกัน มีการดาเนินการเตรียมพื้นที่รองรับการเข้ามาของนักท่องเที่ยวภายใต้แผนการพัฒนา เมืองภูเก็ต (Better Phuket Initiatives) อาทิ (1) การปรับปรุงภูมิทัศน์ (2) โครงการสร้างคุณค่าและประสบการณ์โดย การท่องเที่ยววิธีชุมชนเพื่อให้ชาวบ้านได้รับผลประโยชน์ (3) การพัฒนาทักษะให้กับบุคลากรทางการท่องเที่ยว และ (4) การดูแลรักษาความปลอดภัยบริเวณพื้นที่ท่องเที่ยว ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มอบหมายให้ ททท. นาเสนอรายละเอียดของ 2 แผนการดาเนินงานต่อศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) และคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาต่อไป

 

 

 

2.2 เห็นด้วยกับข้อเสนอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูง เข้าสู่ประเทศไทย ตามข้อเสนอของทีมปฏิบัติการเชิงรุกทาบทามทั้งบริษัทเอกชนไทยและต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยกระตุ้น เศรษฐกิจผ่านการสร้างรายได้ การลงทุน และเพิ่มโอกาสการจ้างงานภายในประเทศ โดยมุ่งเน้นใน 4 กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย (1) กลุ่มประชากรโลกที่มีความมั่งคั่งสูง (Wealthy global citizen) ซึ่งรวมถึงนักลงทุนที่มีกาลังซื้อสูง ภายใต้โปรแกรม (Flexible Plus Program) (2) ผู้เกษียณอายุจากต่างประเทศ (Wealthy pensioner) (3) กลุ่มที่ ต้องการทางานจากประเทศไทย (Work-from-Thailand professional) และ (4) กลุ่มผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ (High-skilled professional) อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวมีรายละเอียดที่ต้องหารือร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ หลายประการ ที่ประชุมจึงได้มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์) เป็นประธานในการประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทารายละเอียดของแผนการดาเนินงาน ด้านต่าง ๆ และนาเสนอ ศบศ. พิจารณาต่อไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง