รีเซต

พัทยาเหงา-เตียงชายหาดเศร้ารายได้หด เหลือเพียงภาพจำ"วันไหล"

พัทยาเหงา-เตียงชายหาดเศร้ารายได้หด เหลือเพียงภาพจำ"วันไหล"
ข่าวสด
19 เมษายน 2564 ( 17:22 )
174

รายได้เหลือแค่ 10 เปอร์เซ็นต์ ผู้ประกอบการร่มเตียง ชายหาดพัทยาทำใจเจอพิษโควิด โดนกฎเหล็กห้ามมั่วสุม รวมกลุ่มดื่มแอลกอฮอล์ ปกติ 19 เม.ย.ทุกปีเป็นวันไหล เหลือเพียงความทรงจำนักท่องเที่ยวเคยแห่เที่ยวล้น

 

วันที่ 19 เม.ย.2564 ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศ บริเวณชายหาดพัทยา จ.ชลบุรี หลังมีคำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดชลบุรี โดย นายภัครธรณ์ เทียนไชย ผวจ.ชลบุรี ออกคำสั่งพื้นที่บริเวณชายหาด ชายทะเล อ่างเก็บน้ำในพื้นที่จ.ชลบุรี ห้ามจัดให้มีการมั่วสุม รวมกลุ่มดื่มแอลกอฮอล์ อันเป็นเหตุให้เกิดการแพร่ระบาดของโรค หรือเป็นเหตุให้เกิดความเดือดร้อน วุ่นวาย แก่ประชาชนบริเวณใกล้เคียงในทุกรูปแบบ เว้นแต่เป็นการออกกำลังกาย การเล่น หรือแข่งขันกีฬา หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดชลบุรีเห็นชอบ

 

โดยวันนี้ ชายหาดพัทยาค่อนข้างเงียบเหงา นักท่องเที่ยวบางตา ผู้ประกอบการชายหาด เผยยอดรายได้เหลือเพียงแค่ 10 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งปกติหากไม่มีโรคโควิดระบาดแล้ววันที่ 19 เม.ย.ของทุกปีจะเป็นช่วงเทศกาลวันไหลพัทยา จะมีนักท่องเที่ยวจากพื้นที่ต่างๆทั้งชาวไทยและชาวต่าลชาติเดินทางมาท่องเที่ยวจำนวนมาก แต่ปีนี้แทบจะไม่มีนักท่องเที่ยวมาท่องเที่ยวมาเดินบริเวณชายหาดเลย ทำให้ผู้ประกอบการร่มเตียงพัทยาได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก

 

https://youtu.be/Tt45GgQyuS4

 

น.ส.ประภัสสร อายุ 51 ปี ผู้ประกอบการร่มเตียงชายหาดพัทยา กล่าวว่า จากรอบที่ 1 ว่าแย่แล้ว มาในรอบที่ 3 ทำให้เศรษฐกิจแย่ลงกว่าเดิมไปอีก เพราะในรอบที่ 3 มีคนไทยติดเชื้อโควิด 19 จำนวนมาก ทำให้นักท่องเที่ยวประหยัดมากยิ่งขึ้น จากปกติขายได้กลุ่มละ1-2 พันบาท แต่ตอนนี้เหลือเพียง 200-300 บาท เพราะนักท่องเที่ยวต้องประหยัดค่าใช้จ่ายลงอย่างเห็นได้ชัด จึงอยากให้รัฐบาลช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบในทุกๆอาชีพ

 

 

" ตอนนี้ทุกอาชีพแย่พอๆกัน ถ้าเทียบกับก่อนจะมีการแพร่ระบาดของโควิด 19 เราเคยมีรายได้ 6-7 พันบาทต่อวัน แต่ตอนนี้เหลือเพียง 600-700 ต่อวัน ลดลงมาเป็น 10 เท่า ช่วงนี้นักท่องเที่ยวคนไทยมาเที่ยวน้อย เวลามาเที่ยวก็ต้องใช้จ่ายอย่างประหยัด ลูกค้าบางรายก็ขอลดราคาเราต้องยอมเพราะถือว่าช่วยเหลือกันไปในยามที่เศรษฐกิจแย่ และขอแค่ประคับประคองให้พออยู่ได้ จากนี้ก็ต้องปรับตัวในเรื่องการลดค่าใช้จ่ายลง จากที่เคยซื้อของวันละ 2 พัน ก็ซื้อเพียง 500-800 บาทเพื่อนำมาขายที่ร้านเพื่อ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง