รีเซต

ผู้สืบเชื้อสายจากเหยื่อความโหดร้ายฝีมือชาวเยอรมันในนามิเบีย ต้องการการชดใช้ที่เหมาะสม

ผู้สืบเชื้อสายจากเหยื่อความโหดร้ายฝีมือชาวเยอรมันในนามิเบีย ต้องการการชดใช้ที่เหมาะสม
ข่าวสด
8 สิงหาคม 2564 ( 16:53 )
54
ผู้สืบเชื้อสายจากเหยื่อความโหดร้ายฝีมือชาวเยอรมันในนามิเบีย ต้องการการชดใช้ที่เหมาะสม

 

ระหว่างน้ำทะเลสีฟ้าในมหาสมุทรแอตแลนติกและเนินทรายสีทองอันงดงามของชายฝั่งนามิเบีย คือที่ตั้งของอดีตค่ายกักกันของเยอรมนี

 

 

ค่ายกักกันแห่งนี้เริ่มตั้งขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 เป็นที่ที่ชาวนามาและชาวโอวาเฮอแรโรเผชิญกับความรุนแรงทางเพศ การบังคับใช้แรงงานและการทดลองทางการแพทย์ที่น่าสยดสยอง หลายคนเสียชีวิตจากการเจ็บป่วยและความเหนื่อยล้า

 

 

อัวฮิมิซา กาเปฮิ กล่าวว่า หัวใจของเขายังคงตั้งมั่นอยู่กับบรรพบุรุษของเขา

B

เขาเป็นผู้ที่สืบทอดเชื้อสายมาจากชาวโอวาเฮอแรโร ซึ่งตอนนี้เขาเป็นสมาชิกสภาประจำเมืองสวาคอปมันด์ สถานที่ที่เกิดเหตุโหดร้ายทารุณหลายอย่างในอดีต

 

 

นายคาเปฮิ อธิบายว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อหลายชั่วอายุคนก่อนยังคงส่งผลกระทบต่อชีวิตของเขาจนถึงทุกวันนี้

 

 

"ความมั่งคั่งของเราถูกยึดไป ฟาร์ม วัว ทุกอย่าง ผมไม่ควรที่จะต้องมารู้สึกทุกข์ใจกับเรื่องนี้ในขณะที่ผมกำลังพูดอยู่นี้" เขากล่าว

 

 

"แล้วเรา ในฐานะชาวโอวาเฮอแรโร และชาวนามา ก็ไม่ควรที่จะต้องมาเผชิญกับความทุกข์ระทมนี้ด้วย"

B

นักประวัติศาสตร์หลายคนเรียกสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างปี 1904-1908 ในดินแดนที่เป็นประเทศนามิเบียในปัจจุบันว่า การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ครั้งแรกในศตวรรษที่ 20

 

 

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อกองกำลังอาณานิคมเยอรมนีได้บุกเข้ามาสังหารและทำให้ชาวโอวาเฮอแรโรและชาวนามาต้องเสียชีวิตและพลัดถิ่นฐานหลายหมื่นคน หลังจากที่พวกเขาลุกฮือประท้วงต่อต้านผู้ปกครองในสมัยอาณานิคม

 

 

คาดว่ามีชาวโอวาเฮอแรโรราว 60,000 คน คิดเป็นมากกว่า 80% ของประชากรชาวโอวาเฮอแรโรทั้งหมดในภูมิภาค และชาวนามา 10,000 คน คิดเป็น 50% ของประชากรชาวนามาทั้งหมด ถูกสังหารในช่วงนี้

 

 

ในเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา รัฐบาลเยอรมนีได้ยอมรับการกระทำอันโหดร้ายทารุณในสมัยอาณานิคมอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก

 

 

เยอรมนียังยอมรับการสังหารหมู่ที่เกิดขึ้นว่าเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ด้วย และรับปากว่าจะมอบเงินช่วยเหลือ "เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการยอมรับความทุกข์ทรมานอันใหญ่หลวงที่เกิดขึ้นกับเหยื่อ" แต่เยอรมนีไม่ได้เรียกมันว่าเป็น การชดใช้

 

 

"เราต้องการที่ดิน"

เงินที่เยอรมนีรับปากจะมอบให้คือ 1.1 พันล้านยูโร (ประมาณ 4.3 หมื่นล้านบาท) โดยเข้าใจว่าจะมีการทยอยมอบให้ในช่วงเวลา 30 ปี และผู้สืบเชื้อสายจากชาวโอวาเฮอแรโรและชาวนามาจะต้องได้รับผลประโยชน์เป็นหลัก

H

แต่บรรดาผู้สืบเชื้อสายเหล่านี้รวมถึง นายคาเปฮิ ไม่เชื่อว่าข้อตกลงนี้คือการขอโทษอย่างจริงใจต่อสิ่งที่เกิดขึ้น

 

 

"นั่นคือเรื่องตลกแห่งศตวรรษ" เขากล่าว

 

 

"เราต้องการที่ดิน เงินไม่มีความหมาย"

 

 

"เราต้องการให้พวกเขา [รัฐบาลเยอรมนี] มาและกล่าวคำขอโทษ เงินเป็นเพียงการบอกว่าสิ่งที่พวกเขาทำผิดต่อเรา"

 

 

"และเราไม่ต้องการเศษเงิน เราต้องการล้านล้าน เราต้องการล้านล้านที่สามารถเยียวยาบาดแผลของเราได้"

 

 

นายคาเปฮิ กล่าวว่า กลุ่มชาติพันธุ์ของเขาสูญเสียประเพณี วัฒนธรรมและชีวิตความเป็นอยู่ไปนานร่วมร้อยปี และเป็นไปไม่ได้ที่จะประเมินราคาความเสียหายที่เกิดขึ้น

 

 

ที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกยึดไป ทำให้ครอบครัวของเขาต้องเผชิญกับความยากจนร่วมชั่วอายุคน

 

 

นักเคลื่อนไหวเชื่อว่า จะมีความเป็นธรรมเกิดขึ้น ถ้ารัฐบาลเยอรมนีซื้อที่ดินของบรรพบุรุษพวกเขาที่ตกอยู่ในมือของชุมชนที่พูดภาษาเยอรมนีกลับคืนมา และส่งมอบคืนให้กับผู้สืบเชื้อสายของชาวโอวาเฮอแรโรและชาวนามา

 

 

 

"ดึงมีดออก"

ขอบเขตของการชดใช้นี้เกินกว่าที่เยอรมนีและนามิเบียจะทำได้ และอาจเป็นต้นแบบให้กับประเทศอื่น ๆ ที่อดีตเคยเป็นอาณานิคมของชาติอื่นเรียกร้อง

 

G

เคียร์สเตน มัลเลน และแซนดี ดาริที นักวิชาการชาวอเมริกัน ซึ่งสนับสนุนให้มีการชดใช้แก่ผู้สืบทอดเชื้อสายจากผู้ที่ถูกค้าไปเป็นทาส โต้แย้งว่า การทำเช่นนี้จะทำให้การตกลงยินยอมใด ๆ ที่เกิดขึ้นจะมีมูลค่าน้อยและจะเกิดขึ้นเมื่อหาทางออกอื่นไม่ได้เท่านั้น

 

 

ในหนังสือ From Here to Equality (อาจแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า จากที่นี่ถึงความเท่าเทียม) พวกเขาได้อ้างอิงคำกล่าวอันโด่งดังของ มัลคอล์ม เอ็กซ์ นักสิทธิมนุษยชนของสหรัฐฯ ที่กล่าวไว้ว่า "คุณไม่ปักมีดคาไว้บนหลังคนลึก 9 นิ้ว แต่ดึงออกมา 6 นิ้ว แล้วก็บอกว่า คุณกำลังช่วยเขาแล้ว"

 

 

ในกรณีของเยอรมนีและนามิเบีย นางมัลเลนและนายดาริที เห็นตรงกันว่า "ความช่วยเหลือด้านการพัฒนา" ไม่ถือว่าเป็นการเยียวยาบาดแผลจากการถูกมีดเสียบ มันเป็นเพียงขั้นตอนแรกเท่านั้น

 

 

"การดึงมีดออก ไม่ใช่การชดใช้ แต่เป็นเรื่องจำเป็นต้องทำ แต่ไม่ใช่การชดใช้ การกระทำที่เป็นการชดใช้คือการรักษาบาดแผล" นายดาริที กล่าว

 

 

"ดังนั้น ถ้าคุณเห็นว่าเงินเพื่อการพัฒนาเหล่านี้เป็นรูปแบบหนึ่งของการดึงมีดออก เช่นนั้นแล้ว มันก็ไม่ใช่การชดใช้" นายดาริที กล่าว

 

 

นอกจากนี้ยังมีการเหน็บแนมการอภิปรายถึงเรื่องการชดใช้ในนามิเบียด้วย เมื่อพิจารณาเรื่องราวในอดีตที่เยอรมนีเคยทำเป็นแบบอย่างไว้ในช่วงทศวรรษ 1890

...........................

โฮร์สต์ เดร็กส์เลอร์ นักประวัติศาสตร์ชาวเยอรมันให้ข้อสังเกตว่า ก่อนที่เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เยอรมนีได้เรียกร้องค่าชดใช้จากชุมชนชาวโอวาเฮอแรโรและชาวนามา หลังจากพวกเขาลุกฮือต่อต้านเจ้าอาณานิคม

 

 

โดยพวกเขาจะต้องให้วัวแก่เยอรมนีราว 12,000 ตัว ซึ่งโทมัส เครเมอร์ นักประวัติศาสตร์ชาวอเมริกันเชื้อสายเยอรมันประเมินว่าเทียบเท่ากับเงิน 1.2-8.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 40-294 ล้านบาท) ในปัจจุบัน ซึ่งเขาบอกว่า ควรจะมีการเพิ่มเงินส่วนในลงในการชดใช้ความเสียหายด้วย

 

 

สำหรับนายเครเมอร์ ซึ่งเชี่ยวชาญด้านการชดใช้ค่าเสียหาย เห็นว่า ความวุ่นวายเกิดขึ้นแล้ว และเขาบอกว่า ชาติมหาอำนาจที่เป็นอดีตเจ้าอาณานิคมจะมีการจ่ายค่าชดใช้ความเสียหายเป็นวงกว้างมากขึ้น ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้เวลานานแค่ไหนเท่านั้น

 

 

เรื่องนี้ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากสถิติประชากรที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปของชาวผิวขาวซึ่งเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ของประเทศต่าง ๆ ในตะวันตก ซึ่งประชากรที่หลากหลายมากขึ้นในประเทศเหล่านี้จะบีบให้รัฐบาลเผชิญกับความไม่พอใจในอดีต

 

 

"ผู้คนไม่ได้ [เพียงแค่] ถูกกำหนดโดยกลุ่มที่พวกเขาอยู่ มีความเป็นไปได้ว่า ผู้คนรู้สึกถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับคนที่ได้รับผลกระทบจากความอยุติธรรมทางประวัติศาสตร์" นายเครเมอร์ กล่าว

 

 

"แม้ว่าตัวพวกเขาเองไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของคนกลุ่มนั้นที่เป็นผู้กระทำความอยุติธรรม"

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง